++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความกลัว : เหตุให้หมอคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองฯ

โดย สามารถ มังสัง 9 สิงหาคม 2553 14:49 น.
“ทุกข์กายพึ่งหมอ ทุกข์ใจพึ่งพระ” นี่คือวาทะที่ทุกคนฟังแล้วปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นความจริงในชีวิตของปุถุชนคนมี กิเลสยึดติดอัตตา หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องตีความเฉกเช่นภาษาของนักกฎหมายที่พูดและเขียนเรื่องง่ายให้ยากเพื่อ ประโยชน์ของผู้มีวิชาชีพแขนงนี้ ก็คือ เมื่อป่วยก็ต้องไปหาหมอเพื่อรับการรักษาเยียวยา และเมื่อมีความเดือดร้อนใจก็ไปหาพระเพื่อรับฟังคำสอนทางศาสนาเป็นการขจัดปัด เป่าความทุกข์โดยอาศัยธรรมะ

ด้วยเหตุดังกล่าวแล้วข้างต้น ทั้งหมอ และพระจึงเป็นที่พึ่งของทุกคน และทุกคนในสังคมให้ความเคารพนับถือบุคลากรทั้งสองประเภทนี้ตลอดมาตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะหมอและพระที่ทำงานด้วยความเสียสละ เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมที่หมอและพระพึงมี

แต่วันนี้ และเวลานี้ความเคารพนับถือในผู้มีอาชีพหมอของประชาชนที่มีมายาวนานกำลังจะลด น้อยถอยลง จากการที่หมอบางคนบางกลุ่มได้ออกมาคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งได้ผ่านมติ ครม.ไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ

อะไรคือสาเหตุทำให้หมอและผู้ประกอบการสถานพยาบาลแสดงการคัดค้าน และผลจากการคัดค้านจะทำให้ พ.ร.บ.นี้เลิกล้มไปหรือไม่?

เกี่ยวกับประเด็นแห่งปัญหานี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านรวบรวมและศึกษาเหตุอ้างที่ผู้คัดค้านแสดงผ่าน ทางสื่อ และเอกสารเผยแพร่ในรูปแบบของแถลงการณ์ ก็จะพบว่ามีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้

1. ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับความเสียหายฟ้องร้องหมอ และสถานพยาบาลทั้งทางแพ่งและอาญา

2. คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขที่กำหนดให้ ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้ ส่วนหนึ่งและอาจเป็นส่วนใหญ่ด้วยมิได้กำหนดให้มีคุณสมบัติโดยตรงกับกิจการ ทางด้านการแพทย์ จึงทำให้หมอและผู้ประกอบการเกี่ยวกับสถานพยาบาลเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็น ธรรม ซึ่งหมอและสถานประกอบการพยาบาลเป็นจำเลยในการฟ้องร้อง

3. กองทุนที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้จะเรียกเก็บจากสถานพยาบาล และมีเงินอุดหนุนจากภาครัฐด้วยส่วนหนึ่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานที่ จะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยจะจ่ายเท่าที่จำเป็นและไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินโดยรวมในแต่ละปี

ในประเด็นนี้ ผู้คัดค้านมองว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบได้ โดยเฉพาะเมื่อกรรมการส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้งของฝ่ายการเมือง ในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในโครงการอื่นๆ ในกระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว

ถ้ามองจากประเด็น 3 ประการดังกล่าวที่ผู้คัดค้านหยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุอ้างในการคัดค้านเทียบ เคียงกับเนื้อหาสาระของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการบริหารจัดการกองทุนก็พอมีเหตุผลควรแก่การ รับฟัง โดยอาศัยเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้

1. ในประเด็นฟ้องเรียกค่าเสียหาย ตามปกติถึงแม้ไม่มีกฎหมายนี้ออกมา ถ้าผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาได้รับความเสียหายจากการให้บริการทางการแพทย์ไม่ เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ก็สามารถฟ้องร้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ได้อยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีความจำเป็นต้องออกกฎหมายเพิ่มเติม และทั้งยังก่อให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติด้วย

ส่วนประเด็นที่ว่าใน พ.ร.บ.นี้เปิดกว้างถึงขั้นให้ฟ้องทางอาญาได้ด้วยนั้นน่าจะเป็นเหตุสำคัญที่ ทำให้ผู้คัดค้านเกิดความกลัว และลุกขึ้นมาคัดค้านยิ่งกว่าความกลัวการชดใช้ความเสียหายในทางแพ่ง เพราะนั่นหมายถึงว่า ถ้าแพ้คดีและมีโทษถึงจำคุกก็ถือได้ว่าเป็นจุดจบของผู้มีอาชีพหมอ

2. ในประเด็นของคณะกรรมการฯ ที่จะถูกตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้นั้น ถ้ามองในแง่ของหมอที่ว่าให้คนซึ่งมิได้มีความรู้ ความชำนาญทางด้านการแพทย์เข้ามาแล้ว จะทำให้การวินิจฉัยขาดความรอบคอบ และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่หมอ และสถานประกอบการบริการทางการแพทย์นั้นดูเหมือนจะถูกบางส่วนและผิดบางส่วน ทั้งยังเป็นความกลัวที่ค่อนข้างมีเหตุผลควรค่าแก่การรับฟังน้อยไป ทั้งนี้ดูได้จากการที่แพทยสภาควบคุมดูแลพฤติกรรมและการทำงานของหมออยู่ในขณะ นี้ ก็มิได้แก้ไขและป้องกันความเดือดร้อนและความเสียหายของผู้ป่วยที่ได้รับผล กระทบจากการรับบริการทางด้านการแพทย์เท่าที่ควรจะเป็น ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนอยู่บ่อยๆ

ด้วยเหตุนี้หมอควรเปิดกว้างให้บุคลากรด้านอื่นๆ เข้ามามีส่วนในการควบคุมดูแลกิจการด้านการแพทย์ในส่วนที่มีผลกระทบต่อ ประชาชนทั่วไปบ้าง

ส่วนว่าถ้าเข้ามาแล้วมีผลเสียมากกว่าผลดีก็ค่อยแก้ไขปรับปรุงอีก ครั้ง น่าจะดีกว่าออกมาคัดค้านในลักษณะติเรือทั้งโกลน ติโขนยังไม่ได้ทรงเครื่อง หรือในลักษณะหนาวก่อนฝนตก เป็นต้น

ประเด็นสุดท้าย เกี่ยวกับกองทุนที่ผู้คัดค้านเกรงว่าจะเป็นการเปิดช่องให้มีผู้เข้ามาหา ประโยชน์จากเงินก้อนนี้ ถ้าดูจากกองทุนอื่นๆ หรือโครงการอื่นๆ ที่รัฐตั้งขึ้นและมีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เห็นความเกรงเหตุที่ว่านี้ของผู้คัดค้าน ก็ใช่ว่าจะไร้เหตุผล ไม่ควรค่าแก่การรับฟัง

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลก็ควรจะแถลงให้ชัดเจนว่าเงินที่เรียกเก็บจากสถาน พยาบาลและเงินอุดหนุนจากรัฐนอกเหนือจากนำไปจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ที่ได้รับ ความเสียหายในแต่ละปี โดยรวมกับเงิน 10% เพื่อเป็นค่าบริหารจัดการสำนักงานแล้ว จะนำไปทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นการป้องกันมิให้กรรมการที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น เข้ามาแทรกแซงแล้วนำไปใช้เพื่อกิจกรรมหาเสียงทางการเมืองในลักษณะเอื้อ ประโยชน์ ในทำนองเดียวกับงบไทยเข้มแข็งที่เป็นอยู่ขณะนี้

อีก ทั้งควรระบุให้ชัดเจนว่า เงินเรียกเก็บจะหยุดเก็บเมื่อกองทุนโตพอที่จะดำเนินการได้แล้ว และถ้าเป็นไปได้รัฐไม่ควรเรียกเก็บจากสถานพยาบาลทุกแห่งตามปกติ แต่ควรจะนำเงินจากงบประมาณมาตั้งเป็นกองทุนเริ่มต้น และเรียกเก็บจากสถานพยาบาลที่ตกเป็นจำเลยและแพ้คดีเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นรายๆ ไป จะดีกว่าเก็บมารอไว้ก่อนเพื่อรอให้เกิดความเสียหายแล้วจ่ายไป ถ้าบังเอิญความเสียหายในแต่ละปีมีไม่มากเมื่อเทียบกับเงินที่เรียกเก็บ เงินก้อนนี้จะนำไปทำอะไรบอกให้ชัดเจนจะดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น