++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Fwd: พระเจ้าอยู่หัวผ่านสายตาฝรั่ง อ่านแล้วน้ำตาซึมเลย

เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัวผ่านสายตา ศ. แมนเฟรด คราเมส

ในหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในบรรดาสายตาแห่งความชื่นชมของชาวโลกที่มีต่อพระองค์
สายตาคู่หนึ่งในจำนวนนับล้านนั้นเป็นของศาสตราจารย์แมนเฟรด คราเมส
(Prof.Manfred Krames) ชาวเยอรมัน
ผู้ซึ่งยกย่องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวไทยให้เป็นบรมครูผู้ยิ่งใหญ่

Prof.Manfred Krames

ศาสตราจารย์แมนเฟรด ครา เมส
มีความสนใจในปรัชญาแบบตะวันออกและศาสนาพุทธตั้งแต่มีอายุได้ 15 ปี
ทั้งที่ได้รับการศึกษาที่ดีและมีอาชีพการงานที่มั่นคงแต่เมื่อมีอายุได้
19 ปี เขาก็ออกจากบ้าน โดยละทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง
เพื่อเข้าไปพำนักอยู่ในวัดเซน ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 ปี
ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของราอบครัวศซึ่งเป็นชาวคริสเตียนอนุรักษนิยม
แลกะเกือบถึงขั้นถูกตัดขาดออกจากครอบครัว
แต่เขาก็ยังคงศึกษาปรัชญาตะวันออกรวมถึงศาสนาพุทธอย่างจริงจังมาจนถึง
ปัจจุบัน

เมื่อ ได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นร่วม 10
ปี เพื่อเรียนภาษาญี่ปุ่นและการบำบัดรักษาแบบจีน ณ กรุงโตเกียว
เขาได้กลายเป็นชาวต่างชาติคนแรกเพียงผู้เดียวที่เป็นสมาชิกของสมาคมเพื่อการ
วิจัยด้านอายุรเวชแห่งญี่ปุ่น (Japan Research Society for Ayurveda)
หลังจากนั้นศาสตราจารย์แมนเฟรดได้เดินทางไปพำนักยังประเทศศรีลังกาเป็นเวลา
7 ปี และเปิดคลินิกเพื่อทำการรักษาบำบัดตามแนวทางของอายุรเวท
กระทั่งได้เขียนหนังสือเรื่อง "ความจริงเกี่ยวกับวิชาอายุรเวช"
ซึ่งได้รับการเผยแพร่ความรู้ทางด้านนี้ไปอย่างกว้างขวาง
ทำให้ได้รับการยกย่องเป็น "ศาสตราจารย์กิตติคุณ"
จากมหาวิทยาลัยแห่งโคลอมโบ
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในประเทศศรีลังกา

หลัง
จากเกิดเหตุภัยพิบัติสึนามิได้ไม่นานนักเขาก็อำลาประเทศศรีลังกามาด้วยความ
หวังว่าจะค้นพบประเทศที่มีสันติสุขและมีชาวพุทธที่เป็นมิตรมากกว่า
ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจเดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว

ณ ที่แห่งนี้เอง ที่
ศาสตราจารย์แมนเฟรดได้รู้จักและเรียนรู้คำสอนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากพระมหา
กษัตริย์ผู้ทรงดำรงตนเป็นแบบอย่างอันดีงามของพสกนิกรมาโดยตลอดกระทั่งเขาได้
เขียนหนังสือชื่อ "เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว :
มุมมองของชาวต่างชาติต่อในหลวง" ขึ้นมา ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.
2549 หลังจากที่เขียนหนังสือเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสด็จยุโรปครั้งที่
2 ของ"พระพุทธเจ้าหลวง ณ สปาการแพทย์ของเยอรมัน"
และหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาชื่อ "Photo Meditation"

สำหรับใครที่สบโอกาสได้อ่าน
"เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว : มุมมองของชาวต่างชาติต่อในหลวง" ความ
รู้สึกที่ตามมาโดยแน่แท้ก็คือ
ความชื่นชมและทึ่งในสิ่งที่ชาวต่างชาติคนหนึ่งได้เรียนรู้จากสิ่งที่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเพียรสื่อสารกับพสกนิกรทุกหมู่เล่ามาตลอดพระชนม์
ชีพของพระองค์ โดยสิ่งที่ศาสตราจารย์แมนเฟรดได้น้อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเขานั้น
หาได้เป็นการยกย่องแต่เพียงเพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ใน
สายตาของใครๆ ทว่าเขามีความเข้าใจอันถ่องแท้ไปถึงคุณค่าที่เปล่งประกายออกมาจากภายในของพระองค์ท่าน
อย่างที่คนไทยหลายคนอาจจะมิเคยพิจารณาในด้านนี้มาก่อนเลยในชีวิต


ต่อจากนี้ไปจะเป็นเรื่องราวของชายชาวเยอรมันคนหนึ่ง
ซึ่งไม่ได้มองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เขาเป็น"ฝรั่ง" หาก
แต่มองพระองค์ท่านในฐานะของมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่งที่รักและเทิดทูนในพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประชาชนชาวไทยคนใดในแผ่นดินนี้เลย


"ผมรู้สึกเศร้าใจ"
เมื่อมีคนตั้งคำถามกับผมว่ารู้สึกอย่างไรเวลาที่ได้ยินคนไทยพูดว่า
"เรารักในหลวง" อันหมายความถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผมจะให้คำตอบเช่นนี้ เพราะอะไรน่ะหรือ ลองคิดดูสิว่า
ถ้าหากท่านมีลูกที่ไม่เคยเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่านเลย
ไม่เคยเดินตามแนวทางทางที่ท่านวางไว้ ไม่เคยต้องการที่จะเรียนรู้จากท่าน
สิ่งที่พวกเขาทำนั้นเพียงแค่ก่อปัญหา
แล้วก็เรียกร้องให้ท่านยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออยู่เสมอ
ในขณะเดียวกันก็พร่ำพูดว่า "ลูกรักพ่อ"
ถ้าท่านเป็นพ่อท่านจะรู้สึกอย่างไร

ในหลวง

ผม จึงคิดว่าการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริและน้อมนำคำสอนของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวมาใช้จึงมีความสำคัญมาก
เราจะเห็นว่าพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระองค์ได้รับการตีพิมพ์ใน
นิตยสารต่างประเทศนับไม่ถ้วน
และหลายต่อหลายครั้งที่พระองค์รวมถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถโปรดให้นัก
หนังสือพิมพ์และผู้สื่อข่าวของทั้งต่างประเทศและของไทยเข้าเฝ้า
เพื่อสัมภาษณ์


การบอกเล่าถึงพระราชประวัติของพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จึงเป็นเพียงการตอกย้ำสิ่งที่ทุกคนโดยเฉพาะคนไทยต่างรู้ดีอยู่แล้ว
สิ่งที่เราทั้งหลายควรให้ความสำคัญจึงเป็นสารที่พระองค์ทรงเพียรพยายามจะส่งต่อ
ไปถึงชาวโลก และบทบาทในการสร้างความเข้าใจในระดับนานาชาติรวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติตาม
หลักพระพุทธศาสนาอันงดงามของพระองค์

อย่างไรก็ดี
คำถามมีอยู่ว่าเราในฐานะปัจเจกบุคคลได้ทำอะไรบ้างที่เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อทำให้โลกนี้ดีขึ้น
โดยยึดแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ

การ สรรเสริญและการแสดงความขอบคุณเป็นละเรื่องกัน
ผมยังแปลกใจว่า ในเมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระวิริยอุตสาหะที่จะทำให้พระองค์ทรงเป็นแบบ
อย่างที่ดีงาม ผมไม่ทราบว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจริงๆ
ในสิ่งที่พระองค์ทรงสื่อสารให้ผู้คนได้รับทราบนั้นมากน้อยเพียงใด
และจะมีสักกี่คนที่สามารถรวบรวมปัญญา
และแนวทางที่พระองค์ทรงพระราชทานให้เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริง


เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็น
แนวทางที่เกิดขึ้นจากการที่พระองค์ได้ทรงศึกษาจริงและการที่พระองค์ทรง
กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการมีพระราชดำรัสต่อพสกนิกรในชาติของพระองค์ หรือบุคคลต่างๆ
และแนวทางเพื่อทำให้พสกนิกรเกิดความเข้าใจนั้น
พระองค์ทรงกระทำด้วยความอดทนและด้วยทรงเห็นอกเห็นใจในอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์
ผมเชื่ออย่างมั่นใจว่าหากพระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ในช่วงพระชนม์ชีพนี้พระองค์จะต้องทรงเป็นบรมครูที่มีชื่อเสียงอย่างแนนอน


king

ท่านทราบหรือไม่ว่า ความปรารถนาสูงสุดของครูคืออะไร


ผม ตอบได้ว่า
คือการที่เห็นศิษย์เป็นจำนวนมากเต็มใจศึกษาเล่าเรียนและเห็นคุณค่าคำสอนของ
ครู ไม่มีอะไรอื่นอีกที่จะทำให้ครูมีความสุขมากไปกว่าสิ่งที่กล่าวแล้วนั้น
ดังนั้น ผม จึงมีความรู้สึกว่าเราควรที่จะเน้นบทบาทของพระองค์เพื่อให้ทรงเป็นครูของเรา
แต่โปรดตระหนักไว้เสมอว่า อย่าศึกษาเล่าเรียนเพื่อเอาใจครู
แต่จงศึกษาเล่าเรียนเพื่อประโยชน์และความดีงามให้เกิดแก่ตัวท่านเอง
การศึกษาเล่าเรียนและรู้จักปรับปรุงตนเองเท่านั้นที่จะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องไปคิดเรื่องไม่เป็นสาระอื่นๆ

ผม คิดว่า เป็นการไม่รับผิดชอบที่จะนั่งๆนอนๆ
ใช้ชีวิตอย่างสบาย
และให้คนคนเดียวทำงานอย่างหนักเพื่อดูแลและแก้ปัญหาของชาติ
ท่าทีเช่นนี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความไม่เคารพต่อพระองค์
ซึ่งแย่ยิ่งกว่าการพูดถึงพระองค์ในทางไม่ดีในสาธารณะ

ประเทศ
หลายแห่งในโลกจะดีใจมากที่มีพระมหากษัตริย์เช่นนี้ แต่ท่านเองเป็นคนไทย
มีพระองค์เป็นกษัตริย์แต่ไม่ได้นำประโยชน์จากพระองค์มาใช้ในชีวิตเลย
ผมคิดว่าน่าละอาย
ถ้าหากว่าเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปสู่วาระใหม่และมีกระแสลมแรงมาจากทิศทางอื่น
ประเทศหลายแห่งในโลกจะชี้มายังประเทศไทยและดูแคลนว่า... "ดูสิ
พวกเขามีครูผู้ยิ่งใหญ่ แต่ได้เรียนรู้จากพระองค์น้อยมาก"

ผมรู้สึกสงสารพระองค์อย่างสุดซึ้ง
เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเพียงบุคคลเพียงคนเดียวที่พยายามจะ
พัฒนาประเทศชาติ ในขณะที่คนอื่นๆ
ในชาติได้แต่เฝ้ารอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นโดยที่มิได้ดำเนินตามรอยพระบาท
ของพระองค์ ซึ่งผมคิดว่าการพัฒนาประเทศในรูปแบบนี้ไม่น่าจะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้


ผมมีโอกาสได้อ่านบทความมากมายในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยท่านหนึ่ง
ผู้ที่นำพาประเทศไทยเข้าสู่สนามแห่งธุรกิจ
เราพบเห็นนักการเมืองส่วนมากในเอเชียที่หลังจากครองอำนาจและได้ผลประโยชน์แล้วก็ไม่ช่วยเหลืออะไรประชาชนเลย
นั่นทำให้ผมรู้สึกสงสารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพราะคำสอนของพระองค์ตรงข้ามกับสิ่งที่นักการเมืองเหล่านั้นกำลังเป็นอยู่
พวกเขาจึงทำให้พระองค์ทรงทุกข์ใจ
โดยเสแสร้งว่าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงการสร้างภาพไม่ใช่ความจริง
พวกเขาเพียงแค่ต้องการจะใช้ภาพแห่งความจงรักภักดีนี้เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเท
คะแนนให้ในการเลือกตั้ง และขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมาเท่านั้น

ประชาชน
คนไทยมุ่งหวังว่านักการเมืองจะอุทิศตนเพื่อประเทศชาติเฉกเช่นเดียวกับพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่พวกเขาทั้งหลายก็ทำให้คนไทยทั้งชาติผิดหวัง
พวกเขาไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้
เพราะนักการเมืองไทยได้รับอิทธิพลของแนวคิดแบบตะวันตก
และมีหัวใจที่ถูกครอบงำไว้ด้วยธุรกิจ สำหรับผม
ในหัวใจของพวกเขาจึงไม่ได้มีความเป็นไทยอีกต่อไปแล้ว

นั่น
คือเหตุผลที่ว่าทำไมคนธรรมดาสามัญชนทั้งหลายจึงรู้สึกรับไม่ได้กับการ
คอร์รัปชั่นฉ้อราษฎร์บังหลวง
และนักโกหกที่ทำลายประเทศลงด้วยมือของพวกเขาเอง อย่าง
ไรก็ตามตราบใดที่ไม่มีใครสอนให้นักการเมืองดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวความหวังของคนไทยทั้งปวงย่อมจะไม่มีวันเกิดขึ้นจริง

ก่อน ที่จะตัดสินใจมาพำนักอยู่ในประเทศไทย
ในความคิดของผม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงเป็นที่รู้จักมากนักในต่างประเทศ
ชาวต่างชาติรู้แค่เพียงว่าประเทศไทยก็เป็นเพียงประเทศหนึ่งเท่านั้น
หลังจากที่ผมย้ายมาพำนักอยู่ในประเทศไทยแล้ว
ผมพบว่าประชาชนคนไทยเองก็ไม่ได้สอนอะไรผมมากนักเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ทุกคนเพียงแค่พยายามจะเทิดทูนและยกย่องพระองค์
มีคนไทยเพียงแค่บางคนเท่านั้นที่เข้าใจสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการจะสื่อสาร
และดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์

In his majesty's footsteps


หนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่มแรกที่ผมอ่าน คือ

In his majesty's footsteps
หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นถึงด้านที่เป็นเพียงปุถุชนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รวมถึงความพยายามของพระองค์ด้วย ผม
ไม่เคยขอให้ใครอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระองค์ที่เป็นภาษาไทยให้ผมฟังเลย
เพราะเพื่อนคนไทยของผมบอกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของหนังสือพวกนั้น
ล้วนแล้วแต่มีเนื้อหา รูปภาพ และเรื่องราวที่ไม่แตกต่างกัน
นั่นจึงไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่ผมต้องการ

กระทั่ง วันหนึ่ง
ผมเงยหน้าขึ้นมองพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ชั่วขณะหนึ่ง โดยมองตรงเข้าไปในพระเนตรของพระองค์
แล้วทันใดนั้นพระองค์ก็ทรงเป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนหนังสือ
"เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว" ขึ้น มา
พระองค์ทรงรับสั่งให้ผมเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระองค์ท่านขึ้นมาเล่มหนึ่ง
การรับสั่งครั้งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในทางรูปกาย
หากแต่ผมรับรู้พระประสงค์ของพระองค์ได้ทางจิต
เรื่องนี้อาจจะฟังดูเหมือนผมฟั่นเฟือนไปเสียแล้วแต่ทว่าเป็นเรื่องจริง

สำหรับขั้นตอนในการผลิตหนังสือเล่มนี้
ส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครสนับสนุนการทำงานของผมเท่าใดนัก เพราะพวกเขาคิดว่า
"ฝรั่ง" ไม่ มีทางที่จะเข้าใจในพระมหากษัตริย์ของชาวไทยได้
ไม่มีใครเลยที่กล้าเสี่ยงในการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ดังนั้น
ผมจึงดำเนินการทางการเงินทั้งหมดด้วยตัวผมเอง
กระทั่งทุกวันนี้ที่หนังสือได้รับการตีพิมพ์ถึง 3 ครั้งแล้ว
ผมก็ไม่ได้หากำไรหรือผลประโยชน์ใดๆ จากหนังสือเล่มนี้
เห็นได้จากราคาขายเพียงเล่มละ 99 บาทเท่านั้น


ผมไม่ได้ตีพิมพ์หนังสือของผมในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษทั้งที่มีคนไทยจำนวนมากขอให้ผมทำเช่นนั้น

อันดับ แรก
ชาวไทยควรจะต้องเข้าใจคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างถ่องแท้
และผสมผสานแนวทางแห่งพระพุทธศาสนาของพระองค์ลงไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน
สิ่ง เหล่านี้ควรจะได้รับการสอนในโรงเรียนทุกแห่ง
หากเป็นเช่นนั้นได้ชาวต่างชาติและประเทศอื่นๆ
ในโลกก็จะปฎิบัติตามแนวทางนี้โดยอัตโนมัติ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ
ผมได้เสนอที่จะบรรยายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้นให้กับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ในประเทศ ในหัวข้อ
"เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว" แต่
คนไทยไม่เต็มใจหรือขี้อายเกินกว่าที่จะเชิญผมไปบรรยายพวกเขาไม่เข้าใจด้วย
ว่าฝรั่งจะรู้เรื่องราวทุกอย่างของพระมหากษัตริย์ของคนไทยได้อย่างไรกัน

ผม
เคยเขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยที่
กรุงเทพมหานคร ในจดหมายฉบับนั้นบอกเล่าถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัว และอีกมากมายหลายเรื่อง
รวมไปถึงการขอเข้าพบเพื่ออธิบายถึงสิ่งที่ผมได้เรียนรู้และแนวทางการแก้
ปัญหา แต่พวกเขาไม่แม้แต่จะตอบกลับมาว่าได้รับจดหมายแล้ว
ดังนั้นผมจึงยอมแพ้


นี่คือผลลัพท์ของค่านิยมตะวันตกและการบริโภคนิยมซึ่งถูกกระตุ้นโดยนักการเมืองไทย

กล่าวถึงความรู้สึกต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวต่างชาติที่อยู่รอบตัวผม
สำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน
พวกเขาจะชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระองค์อย่างมาก
โดยพื้นฐานแล้วชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีทัศนคติในด้านบวกกับพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพียงแต่เราไม่ได้เทิดทูนในลักษณะเดียวกับที่คนไทยเป็นอยู่

ในโลกนี้มีราชวงศ์มากกว่า 35 ราชวงศ์
แน่นอนว่าเราไม่สามารถโฟกัสไปที่ราชวงศ์ทั้งหมดอย่างทั่วถึงได้ที่สำคัญคือราชวงศ์
ส่วนใหญ่มีหน้าที่เพียงแสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของราชวงศ์เท่านั้น
แต่อะไรล่ะที่เราจะสามารถเรียนรู้จากบุคคลในราชวงศ์และกษัตริย์แต่ละพระองค์
ได้คำตอบคือไม่มีเลย
เพราะพวกเขาไม่ได้ดำรงตนเป็นครูให้กับประชากรของตนเอง
อย่างเช่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น

ในหลวง พัฒนา

เรื่อง ที่น่าสลดใจก็คือ
คนไทยทั้งหลายไม่ตระหนักและยอมรับในสิ่งนี้
ทุกคนภาคภูมิใจในการมีพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่
แต่แนวคิดอันเป็นรากฐานของสังคม เศรษฐกิจและการเมือง การเป็นแรงบันดาลใจ
ความเป็นตัวอย่างที่ดีและวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของพระองค์
ไม่ได้ถูกรับเอามาใช้ในการทางปฏิบัติอย่างเต็มบ่า

ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นบุคคลที่มีแนวพระราชดำริและกระทำการใดๆ
โดยใช้หัวใจทั้งสิ้น
พระองค์ทรงเข้าใจดีถึงคุณค่าของความรักและความซื่อสัตย์เพราะฉะนั้นคนไทย
ส่วนใหญ่จึงรู้สึกเชื่อมโยงได้ถึงพระองค์

อย่างไรก็ตาม
ผมคิดว่าคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นสากล
เฉกเช่นเดียวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า คน
ทั่วโลกจึงสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากพระองค์ไปปรับใช้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศ
(สวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา)
พระองค์ทรงตระหนักว่าการศึกษาแบบตะวันตกนั้นเป็นสิ่งสำคัญแต่ทว่าไม่ใช่
ทุกอย่าง พระองค์ทรงสามารถถ่ายทอดแก่ชาวตะวันตกรวมถึงคนไทยถึงเหตุผลทั้งหลายทั้งปวง
และการศึกษาอันชาญฉลาด
แต่ความรู้ทั้งหมดทั้งมวลในโลกนี้ย่อมไม่มีประโยชน์อันใดเลยถ้าหากปราศจาก
การเชื่อมโยงถึงความรู้สึกลึกซึ้งข้างในจิตใจ

จึงกล่าวได้ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงเป็นทั้งสัญลักษณ์ของความชาญฉลาดแบบตะวัน
ตกและภูมิพลังปัญญาของชาวตะวันตกออกในบุคคลคนเดียวกัน
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สมบูรณ์พร้อมอย่างมาก


ผมเคยได้ยินเป็นประจำที่ชาวต่างชาติหรือเพื่อนผู้หญิงที่เป็นคนไทยพูดว่า
"เงินเดือนน้อยที่ทำมาจากชาติตะวันตกสามารถทำให้คนนั้นใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างกับพระราชา"
ในส่วนอื่นๆของโลก "การมีชีวิตอย่างพระราชา" เป็นนัยยะของการอธิบายว่า
นั่นคือความสะดวกสะบาย การใช้ชีวิตที่สนุกสนาน
หรืออาศัยในดินแดนวิมานฉิมพลีอะไรทำนองนั้น

ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้ชีวิตเช่นนั้นก็ย่อมทำได้หากพระองค์จะทรงมีพระราชประสงค์เช่นนั้น
เพราะพระองค์ทรงราชสิทธิ์ที่จะสามารถทำได้
แต่พระองค์มิเคยทรงมีพระราชประสงค์เช่นนั้น
หากแต่ทรงอุทิศเวลาทั้งหมดตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์โดยมีเป้าหมายอันสูงสุด
ในการทรงงานหนักเพื่อผู้อื่น เพื่อประชาชนของพระองค์

ในประเทศศรีลังกาซึ่งผมเคยพำนักอยู่
มีสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า "ถ้าท่านไม่สามารถเป็นพระราชาได้ จงเป็นหมอ"
ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายของสุภาษิตบทนี้
พวกเขาจะพูดจนติดตลกว่า "ผม เข้าใจแล้ว
หากคุณไม่สามารถซึ้นรถโรลส์รอยซ์ได้ อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้เป็นรถเบนซ์
และถ้าคุณไม่สามารถมีพระราชวังที่พำนักได้
ก็ขอให้มรคฤหาสน์หลังใหญ่รอบล้อมด้วยนางพยาบาลแสนสวย"


เมื่อเห็นกษัตริย์หรือราชาธิบดีของประเทศตะวันตกบางพระองค์ว่าทรงมีความเป็นอยู่เช่นไร
ผมจึงไม่อาจตำหนิชาวตะวันตกที่เข้าใจผิดในเรื่องนี้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น