++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

น้ำท่วมขัง : ทุกข์ของคนกรุง

โดย สามารถ มังสัง 19 ตุลาคม 2552 16:45 น.
ในช่วงเย็นของวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา
ผู้เขียนได้ขับรถกลับบ้านผ่านทางถนนศรีนครินทร์
ช่วงหน้าวัดศรีเอี่ยมถึงสี่แยก ก่อนที่จะถึงศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์
เพื่อจะเลี้ยวขวาไปทางลาดกระบัง พบว่ามีน้ำท่วมขังพื้นผิวจราจรสูงประมาณ
40 ซม. ทำให้รถเล็กวิ่งผ่านไปมาด้วยความยากลำบาก และที่ยิ่งกว่านี้
ปรากฏว่ารถเก่ามีอายุการใช้งานมานานหลายคันได้จอดเสียกีดขวางทางจราจรเป็น
ภาระให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่
กทม.ต้องช่วยกันเข็นออกไปให้พ้นทาง
เห็นแล้วทั้งรู้สึกอบอุ่นใจที่เจ้าหน้าที่รัฐมีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน

แต่ในขณะเดียวกัน
ก็รู้สึกหดหู่ใจที่ต้องมาพบกับความเดือดร้อนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นประจำทุกปี
ทั้งๆ ที่ถ้าทางฝ่ายบ้านเมืองมีศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพต่อ
เนื่องมานานติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน
ก็คงจะป้องกันมิให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำซากเหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้

อะไรคือเหตุให้พื้นที่ กทม.ถูกน้ำท่วม?

เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นสภาพปัญหานี้อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา
ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูลักษณะทางกายภาพของ
กทม.ก็จะอนุมานถึงเหตุทางกายภาพได้ดังต่อไปนี้

1. พื้นที่ตั้งของ กทม.มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
เมื่อขึ้นสูงสุด
ทำให้น้ำทะเลที่หนุนขึ้นสูงสามารถท่วมพื้นที่โดยผ่านทางคูคลองซึ่ง
กทม.มีอยู่ทั่วไป

2. ในปัจจุบัน กทม.ได้ขยายตัวเมืองออกไปอย่างรวดเร็ว
จะเห็นได้จากการเกิดขึ้นของหมู่บ้านจัดสรรที่มีอยู่โดยรอบพื้นที่
กทม.และการเกิดขึ้นของหมู่บ้านแต่ละแห่งก็คือการถมที่ลุ่มเพื่อก่อสร้างบ้าน
เรือนทำให้ที่ลุ่มซึ่งเคยเป็นที่เก็บน้ำได้หายไป
ทำให้พื้นที่รองรับน้ำเหลือน้อยลง
เมื่อมีฝนตกมากก็จะท่วมพื้นที่รอบในซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำกว่าพื้นที่ใหม่ซึ่ง
ถมสูงกว่า

3. การขยายตัวของเมือง
และมีการทำถนนหนทางเพื่อรองรับการจราจรทางบก
ทำให้มีการถมคูคลองเพื่อทำเป็นถนน ทำให้ทางเดินของน้ำเหลือน้อยลง
ถึงแม้ว่าจะมีการทำท่อระบายน้ำขึ้นมาแทนคูคลอง
แต่เมื่อเทียบกันก็จะเห็นได้ชัดว่ามีศักยภาพในการระบายน้ำน้อยกว่าคลองดั้ง
เดิม จึงทำให้น้ำไหลไม่ทันและไหลมาท่วมบ้านเรือน

4. การสร้างสนามบินหนองงูเห่า
ทำให้พื้นที่รองรับน้ำและเป็นทางเดินของน้ำจาก
กทม.ไหลลงสู่ทะเลในจังหวัดสมุทรปราการได้น้อยลง
ดังนั้นเมื่อฝนตกหนักก็จะท่วม กทม.ในด้านทิศตะวันตก
ดังที่เกิดขึ้นกับถนนศรีนครินทร์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

อีกประการหนึ่ง ถ้าจะพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วม
กทม.ก็คงจะต้องนำเอาประเภทหรือชนิดของน้ำที่ท่วมกรุงเทพฯ มาพิจารณาด้วย

น้ำที่ท่วมกรุงเทพฯ ถ้าพิจารณากันอย่างรอบคอบแล้วมีอยู่ด้วยกันถึง
4 ชนิด คือ

1. น้ำฝน

2. น้ำเหนือ อันได้แก่น้ำที่ไหลลงมาจากทางภาคเหนือ
โดยไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา และผ่านพื้นที่ กทม.ก่อนลงสู่ทะเล

3. น้ำทะเลหนุน
อันได้แก่กระแสน้ำจากทะเลที่เอ่อขึ้นมาตามแม่น้ำลำคลอง
และไหลผ่านบ้านเรือน
โดยผ่านทางท่อน้ำทิ้งที่ต่อเชื่อมกับคูคลองที่ต่อเชื่อมกับแม่น้ำ

4. น้ำทิ้ง คือน้ำที่เหลือจากการใช้สอยในครัวเรือน อาคารพาณิชย์
และโรงงานอุตสาหกรรม

ในบรรดาน้ำ 4 ชนิดนี้ 2 ชนิดแรกคือเหตุหลักที่ทำให้กรุงเทพฯ
ถูกน้ำท่วม ส่วน 2 ชนิดหลังเป็นเหตุเสริมให้ท่วมมากขึ้น เช่น น้ำทะเลหนุน
นอกจากเอ่อท่วมแล้วยังทำให้การระบายน้ำออกทำได้ยากด้วย

สำหรับน้ำทิ้ง ถึงไม่มีปริมาณมากพอจะทำให้น้ำท่วม
แต่เมื่อมาผสมกับน้ำ 3 ชนิดแรกก็จะเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้น
ทั้งน้ำทิ้งยังทำให้น้ำสกปรกและเป็นอันตรายแก่สุขภาพมากกว่าน้ำประเภทอื่น
เนื่องจากเป็นน้ำปนเปื้อนสิ่งสกปรกมากกว่าน้ำทุกชนิดด้วย

จะแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้หรือไม่ และถ้าจะแก้ไข
แก้ได้อย่างไร?

เกี่ยวกับประเด็นนี้ จะต้องนำน้ำแต่ละชนิดมาพิจารณา

เริ่มด้วยน้ำฝน เป็นสาเหตุใหญ่และเป็นสาเหตุที่อยู่เหนือการควบคุม
กล่าวคือ จะป้องกันมิให้ฝนตกไม่สามารถกระทำได้
จะกระทำได้ก็เพียงแก้ไขโดยการระบายออกให้รวดเร็วเท่าที่กระทำได้

นอกจากแก้ไขด้วยการระบายออกแล้ว
ก็สามารถป้องกันได้โดยการขุดลอกคูคลองให้มีศักยภาพในการระบายน้ำ
ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้มากพอที่จะระบายออกได้ทันก่อนที่จะท่วมขัง
รวมไปถึงการวางผังเมืองมิให้มีการก่อสร้างในที่ลุ่ม
และมีการถมสูงจนทำให้น้ำฝนไหลลงมาสู่ที่ลุ่มซึ่งป้องกันด้วยการสูบออกได้ยาก
ดังเช่นที่เกิดจากการถมหนองงูเห่าเพื่อสร้างสนามบิน
และทำให้น้ำท่วมเขตประเวศอยู่ในเวลานี้

ส่วนน้ำเหนือ ก็มีทางป้องกันได้โดยการทำเขื่อนกั้นน้ำ
และสร้างประตูน้ำกั้นมิให้ไหลสู่คูคลอง และท่วมบ้านเรือน

แต่ถ้าให้ดียิ่งกว่านี้
ควรอย่างยิ่งที่จะได้มีการสร้างทางเดินของน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงสู่ทะเลก่อน
ที่จะมาถึงพื้นที่
กทม.และได้ถูกขัดขวางโดยพื้นที่ก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่า
หรือที่เคยมีความคิดที่จะสร้างโครงการขุดเจ้าพระยาสองนั่นเอง

สำหรับน้ำทิ้งจากบ้านเรือน และอาคาร รวมถึงโรงงาน
ก็สามารถแก้ไขได้โดยการก่อสร้างระบบกำจัดน้ำเสีย
และทำท่อส่งออกสู่ทะเลโดยตรงเป็นการบำบัดน้ำเสียไปพร้อมๆ กัน
ป้องกันมิให้มารวมกับน้ำประเภทอื่น
แล้วก่อให้เกิดการเน่าเสียเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

อย่าง ไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง
และเป็นรูปธรรม ทาง
กทม.ควรจะแก้ไขโดยการขุดลอกคูคลองและท่อระบายน้ำเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไป
ก่อน ก็คงจะช่วยได้บ้าง

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000124429

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น