++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ถือศีลกินผัก ประเพณีทรงคุณค่าแห่งภูเก็ต

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 ตุลาคม 2552 16:32 น.
หนึ่งในพิธีกรรมในประเพณีถือศีลกินผัก(ภาพ : ททท.)
เทศกาลกินเจปีนี้
หลายที่จัดงานกันอย่างคึกคักตามกระแสการกินเจที่ยังแรงไม่เคยตก

สำหรับที่จังหวัดภูเก็ตนั้น
ค่อนข้างต่างไปจากที่อื่นเพราะเขาใช้ว่าเทศกาล"ถือศีลกินผัก"
ซึ่งเป็นประเพณีทรงคุณค่าปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างช้านาน

ชาวบ้านและชาวจีนในภูเก็ตเรียกประเพณีนี้ว่า
"เจี๊ยะฉ่าย"หมายถึงการกินผัก ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9
ตามปฏิทินจีน

ประเพณีกินผักกำเนิดขึ้นครั้งแรกในกรุงศรีอยุธยา
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมื่อครั้งที่คนจีนอพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ในภูเก็ต
ที่หมู่บ้านไล่ทูหรือในทู ซึ่งปัจจุบันคือบ้านกะทู้ ต.กะทู้ อ.กะทู้

คนจีนที่อาศัยอยู่ในทูมีความเชื่อและศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าต่างๆ
ครั้นมีเหตุเภทภัยก็ได้ทำการอัญเชิญเทพเจ้าที่นับถือบูชาให้ลงมาคุ้มครองปก
ป้อง

ต่อมาเศรษฐกิจของชาวในทูดีมาก
จึงมีคณะงิ้วจากจีนเดินทางมาเปิดแสดง แต่หลังจากแสดงไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง
คณะงิ้วเกิดเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ
ซึ่งผู้นำคณะงิ้วนึกได้ว่าไม่ได้ประกอบพิธีกินผักที่เคยปฏิบัติมาทุกปีใน
เมืองจีน จึงตกลงกันจัดงานกินผักขึ้นที่โรงงิ้ว

ต่อมาโรคภัยไข้เจ็บชาวคณะงิ้วหายไป
รวมไปถึงโรคภัยที่เคยเบียดเบียนชาวในทูก็พลอยลดลง
สร้างความประหลาดใจให้ชาวในทูเป็นอย่างยิ่ง

นับแต่นั้นมาชาวในทูจึงมีการจัดงานกินผักขึ้นทุกปีที่ศาลเจ้ากะทู้
จนกลายเป็นประเพณีถือศีลกินผักสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

สำหรับปีนี้ ประเพณีถือศีลกินผัก ภูเก็ต
กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-26 ต.ค.โดย ศาลเจ้าหรือ "อ๊าม" 15
แห่งทั่วภูเก็ตร่วมมือกับหลายภาคส่วนพร้อมใจกันเป็นแม่งาน
ซึ่งศาลเจ้าแต่ละแห่งจะเตรียมข้าวและอาหาร(ผักต่างๆ)ไว้ให้ประชาชนร่วมรับ
ประทานฟรีตลอด 9 วัน 9 คืน

ในขณะที่ผู้ร่วมพิธีชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะพากันนุ่งขาวห่มขาว กินผัก
ถือศีล ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ละเว้นอบายมุข พร้อมบูชาพระ เทพเจ้า
ด้วยเครื่องเซ่นต่างๆทั้งที่ศาลเจ้าและที่บ้าน เพื่อให้ผู้นั้นสะอาด
บริสุทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า "เช้ง"

ส่วนในภาคของพิธีกรรมนั้น ตลอดช่วงการจัดงานมีพิธีที่เด่นๆคือ

พิธีซ่งเก้งหรือการสวดมนต์ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในเวลา 17.00 น. วันที่ 19 ต.ค. ณ บริเวณสะพานหิน
โดยในปีนี้ศาลเจ้าจุ๋ยตุ่ยเป็นเจ้าภาพ

พิธีอิ้วเก้งหรือการแห่พระ
เป็นการออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์หรือทำนองออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์
โดยมีขบวนธงธิวและป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นก็เป็นเกี้ยวหามธูปพระ
เรียกว่า "ไท่เปี๋ย" หรือเสลี่ยงเล็ก โดยหามรูปพระบูชาต่างๆ
ออกนั่งเกี้ยวไป จัดตามชั้นยศของพระ

พิธีส่งพระหรือ ส่างอิ้งอ๋อง ทำกันในคืนสุดท้ายของการถือศีลกินผัก
โดยก่อนเที่ยงคืนจะทำการส่งพระกิ้วอ๋องฮุดโจ้วกลับสวรรค์ ณ
บริเวณปลายแหลมสะพานหิน
ระหว่างทางมีการตั้งโต๊ะบูชาและจุดประทัดสนั่นทั่วเมือง

นอกที่กล่าวมาแล้วยังมีพิธีกรรมเด่นๆอีก อาทิ พิธีลุยไฟ
พิธีบูชาดาว(ป้ายชิดแช) พิธีเหลี่ยมเก้ง (สวดมนต์เช้า-เย็น)
พิธีสะเดาะเคราะห์หลังลุยไฟ พิธีการเลี้ยงทหาร(โขกุ้น) เป็นต้น

สำหรับใครที่สนใจก็สามารถเดินทางไปร่วมงานกันได้
ซึ่งนอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาพแล้วยังได้บุญอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น