++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เผย "ภูมิคุ้มใจ" วัยรุ่นลาว กับวิถีพิทักษ์วัฒนธรรม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ตุลาคม 2552 10:58 น.
บรรยากาศการใกล้ชิดกับบวรพุทธศาสนาของคนลาว
รายงานพิเศษโดย : เจิมใจ แย้มผกา

"ใน มิติวัฒนธรรม เราต้องดูประเทศลาวเป็นตัวอย่าง
ทุกวันนี้เหมือนเด็กของเราไปไกลเกินไปแล้ว
ตามตะวันตกจนลืมความเป็นตัวตนของเรา
ในขณะที่ลาวยังคงรักษาประเพณีไว้ได้เป็นอย่างดี
ยังคงไม่ทิ้งตัวตนและรากเหง้าของตนเอง
ผมห่วงว่าเด็กของเราจะลืมความเป็นตัวเอง"

ปากคำข้างต้นมาจากเบอร์หนึ่งแห่งกระทรวงวัฒนธรรม "ธีระ สลักเพชร"
ที่กล่าวภายหลังเดินทางเยือน ส.ป.ป.ลาว
เพื่อหารือกรอบความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างไทย-ลาว...บ้านพี่เมืองน้อง
ที่ห่างกันเพียงแม่โขงกั้น

แต่นัยแห่งประโยคนี้กลับยาวกว่าเนื้อข้อความที่กล่าวออกมามากนัก
เมื่อได้เห็นภาพความเป็นระเบียบของเด็กและเยาวชน
ตลอดจนประชาชนทุกเพศทุกวัย
ที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตตามแนวกรอบประเพณีดั้งเดิมที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน


นายหมุนแก้ว ออละบุน รมว.แถลงข่าวและวัฒนธรรมสปป.ลาว
สตรีลาวยังคงนุ่งซิ่นในเวลาเรียนและเวลาราชการ
น้อยมากที่จะสวมกางเกงให้เห็น ภาพการห่มสไบเข้าวัดเข้าวา
เพื่อทำบุญสุนทาน
ภาพความสัมพันธ์อันสวยงามอบอุ่นระหว่างสมาชิกในครอบครัวและมิตรไมตรีที่
เผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง

... เหล่านี้คือภาพที่เคยสวยงามและเคยแจ่มชัดในประเทศไทย
เมื่อกว่าห้าสิบปีที่แล้ว และค่อยๆ
เลือนจางไปตามกาลเวลาที่ย่างเข้าสู่ปัจจุบันสมัย

"หมุนแก้ว ออละบุน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม
ส.ป.ป.ลาว บอกเล่าถึงเคล็ดไม่ลับการสร้างภูมิคุ้มใจให้แก่เด็กและเยาวชนลาว
ให้รู้รัก รักษา และภาคภูมิใจวัฒนธรรมอันดีของประเทศลาว ว่า
ในลาวไม่มีการออกกฎหมายบังคับให้ "แม่หญิงลาว" ทุกคนสวมใส่ผ้าซิ่น
แต่กระทรวงแถลงข่าวฯ จะทำหน้าที่สร้างความเข้าใจ ปลุกจิตสำนึก
และรณรงค์ให้คนลาวทุกคนทราบว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี
สิ่งใดทำแล้วจะงดงามตามจารีตประเพณี และสิ่งใดเป็นการทำลายวัฒนธรรม

ชุดนักศึกษาลาว

"เราพยายามปลูกจิตสำนึกตั้งแต่ยังน้อยๆ สร้างครอบครัววัฒนธรรมลาว
ให้ความรู้พ่อแม่ ให้ไปสอนลูก เราก็จะได้ครอบครัววัฒนธรรม
มีครอบครัวแบบนี้มากๆ เราก็จะได้บ้านวัฒนธรรม ขยายเป็นชุมชน เป็นเมือง
เป็นประเทศ วัฒนธรรมนี่สำคัญมาก ถ้าไม่มีวัฒนธรรม ก็คือ ไม่มีประเทศชาติ
เพราะวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องบอกตัวตนของคนในชาติ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ
ซึ่งหากเว้นเสียจากการมีวัฒนธรรมแล้ว เราก็จะไม่รู้ว่าเราเป็นใคร"

ฯพณฯ หมุนแก้ว อธิบาย ไม่ใช่ว่าสิ่งใหม่ๆ จากตะวันตกไม่ดี
ถ้าปฏิเสธการรับสิ่งใหม่ๆ จากตะวันตกไปโดยสิ้นเชิงเลย
ก็จะทำให้ลาวก้าวไม่ทันโลก
แต่ถ้ารับมากเกินไปก็จะเสียอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา ดังนั้น
จึงต้องเลือกว่าอะไรเหมาะอะไรดีกับประชาชนก็รับเข้ามา
พร้อมทั้งสร้างความรู้ให้ประชาชนเพื่อรู้เท่าทัน

"เราไม่ห้ามถ้าวัยรุ่นลาวแดนซ์แบบตะวันตก
แต่เราต้องไม่ลืมรูปแบบการฟ้อนของเรา"

รมว.แถลงการณ์ฯ แห่ง ส.ป.ป.ลาว
ได้บอกเล่าถึงมาตรการควบคุมสื่อลามกให้อยู่ห่างเด็กและเยาวชน ว่า
เป็นไปไม่ได้ที่จะปกปิดหรือห้ามปราม สิ่งที่ดีที่สุด คือ
การสอนให้เด็กของรู้จักเลือกเสพ

"อินเทอร์เน็ตสมัยนี้คลิกเดียวแลได้ทั่วโลก
เราจะไปปิดไปกั้นก็ไม่ได้ มันทำยาก สร้างเด็กเราให้เลือกเป็น
ให้มีสำนึกง่ายกว่ามาก"


ชุดนักเรียนประถมของลาว
ฟัง "ท่านหมุนแก้ว" ทิ้งท้ายไว้แบบนี้แล้วรู้สึกจุกในหัวอก
วิธีการสร้างภูมิคุ้มใจให้แก่เด็กๆ
ที่แสนเรียบง่ายทว่าได้ผลมหาศาลและไม่สิ้นเปลือง แถมเป็นการแก้ที่ชะงัด
เพราะในความเป็นจริง สิ่งล่อใจและสิ่งยั่วยุต่างๆ
ถูกระบบทุนนิยมผลิตขึ้นมาทุกวัน
การจะไปออกกฎหมายตามแก้หรือบังคับห้ามดูจะเป็นเรื่องยาก
สิ่งที่ได้ผลที่สุดคือการตัดไฟแต่ต้นลม คือ
การให้ความรู้กับทรัพยากรมมนุษย์ให้รู้จักเลือกอย่างที่ลาวกำลังทำอยู่นั่น
เอง

แต่ เมื่อแลกลับมามองสภาพสังคมในประเทศไทย
โดยเฉพาะในเมืองใหญ่แล้ว ภาพที่พ่อแม่ยุคใหม่ทิ้งลูกไว้ให้พี่เลี้ยง
หรือแม้กระทั่งให้โทรทัศน์เป็นพี่เลี้ยงลูก ภาพเด็กที่คำนำหน้ายังไม่เป็น
"นางสาว" ใส่สายเดี่ยว เอวลอย กางเกงขาสั้นเดินเที่ยวตามศูนย์การค้า
ภาพดาราวัยรุ่นที่ยังอายุแค่สิบแปดปีเดินเข้าไปใช้บริการเธคผับ
แล้วให้สัมภาษณ์เมื่อถูกถามว่า เข้ามาได้อย่างไร
เธอก็ตอบอย่างไร้สำนึกว่าตนเองเป็นบุคคลสาธาณะที่เด็กๆ
อาจมองเป็นแบบอย่างว่า "ใช้สองขาเดินเข้ามา" อย่างนี้แล้ว หนักใจแทน
"รัฐมนตรีธีระ" อยู่ครามครัน แต่ก็ต้องส่งกำลังใจไปให้หอบใหญ่ๆ
ให้ผลักดันและสร้างสำนึกวัฒนธรรมดีๆ ให้แก่เด็กไทยให้ได้
ไม่เช่นนั้นอีกไม่นาน เราอาจจะเห็นเด็กไทยที่เป็นเด็กไทยแต่ชื่อ
หากทว่าตัวตนไร้ซึ่งอัตลักษณ์ไปโดยสิ้นเชิง!

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000129087

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น