++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วินทร์ เลียววาริณ-สุดยอดนักเขียนประเทศไทย

โดย ชัยสิริ สมุทวณิช 28 ตุลาคม 2552 15:06 น.
วันนี้ขอเขียนหนังสือและงานวรรณกรรมสักหน่อยนะครับ
เนื่องจากหนังสือพิมพ์ของเรานั้นไม่มีหน้าวรรณกรรมแล้ว
ผมก็เลยต้องเจียดคอลัมน์ซึ่งมีเนื้อที่ไม่มากนี้ขอมาเขียนถึงบ้าง

เรื่อง มีอยู่ว่าคุณวินทร์ เลียววาริณ
ได้กรุณาส่งหนังสือพร้อมเซ็นชื่อมาให้ 2 เรื่องด้วยกัน
ซึ่งถือว่าเป็นน้ำใจที่ผมได้รับสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง

คุณวินทร์ได้รับรางวัลซีไรต์
(รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน) ถึง 2 ครั้ง คือได้ในปี
2540 และปี 2542 และผมเชื่อว่าคงจะได้เป็นสมัยที่ 3 ด้วยในไม่ช้า
วินทร์เป็นนักเขียนที่ทำให้รางวัลซีไรต์สมชื่อว่า "สร้างสรรค์"
อย่างแท้จริง เพราะเท่าที่ผมเห็นมา ยังไม่มีนักเขียนไทยคนใดที่มีความคิด
"สร้างสรรค์" ในงานวรรณกรรมเท่าวินทร์สักราย

วิ นทร์ยังมีรางวัลจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติอีก 4 สมัย
และได้รับรางวัลศิลปาธรสาขาวรรณศิลป์ในปี 2549 ด้วย
ผลงานของวินทร์ถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษาด้วยกัน

ที่บ้านผมนั้น

เราเป็นแฟนพันธุ์แท้ในห้องสมุดมีหนังสือของเขาครบถ้วน
ส่วนใหญ่วินทร์ส่งให้หลายเล่ม ซ้ำกันเพราะลูกชายผมซื้อไว้ก่อน

พูด ถึงลูกชายเขาเรียนอยู่ฝรั่งเศส
มีเพื่อนเป็นลูกสาวของนักเขียนซีไรต์อีกคนหนึ่ง คือไพฑูรย์ ธัญญา
ดังนั้นหนังสือวินทร์ออกใหม่เมื่อไร เขาจะซื้อทันที 2 เล่ม
คือเอาให้ลูกสาวคุณไพฑูรย์ 1 เล่ม อีกเล่มเขานำไปอ่านที่ฝรั่งเศส

ลูกชายผมก็เป็นนักเขียน เขียนหนังสือดี และเก่งกว่าผมอีก
นามปากกาของเขาคนรู้จักมากกว่าพ่อ มีแฟนประจำเยอะมากจนผมแปลกใจ
เพราะบรรดาคุณป้ายังสาวซึ่งเป็นเพื่อนๆ
ของพ่อล้วนติดนามปากกาลูกชายผมกันงอมแงม

คุณ วินทร์นั้น เกิดมามีพรสวรรค์
เพราะเขาเขียนนวนิยายได้ทุกประเภททุกแนว แล้วเขียนได้สนุก
ผมเห็นว่าเป็นเพราะเขาไม่ได้แค่รู้กว้าง แต่รู้ลึกและรู้จริง
และดูเหมือนก่อนลงมือทำงานเขาวิจัยหาข้อมูลไว้มาก
เห็นจากงานเขามักมีเชิงอรรถ ซึ่งให้ประโยชน์ต่อผู้อ่านไปค้นคว้าต่อ
บางประโยคที่เราได้เห็นได้อ่านจนชินแต่ไม่รู้ที่มากระทั่งวินทร์เขียนถึงคือ
ประโยคที่ว่า

"ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว" ก็มาจาก รุไบยาต ของโอมาร์ คัยยาม

หนังสือที่วินทร์ส่งมาและผมอ่านอยู่คือ "ยามดึกหนาวหนาว
เขนยแนบแอบเอย" เป็นหนึ่งในนวนิยายวิทยาศาสตร์ (จาก 3 ชุด)

ผมอยากให้อ่านเรื่องนี้กันทุกๆ คน โดยเฉพาะเด็กๆ มันน่าสนใจมาก
เพราะจะได้แง่คิด มุมมอง และก็อาจเป็นจริงขึ้นมาได้

บางเรื่องก็แฝงด้วยอารมณ์ชวนขำไว้ เช่น
การเพาะครีบฉลามเพื่อการค้า เอาไปทำหูฉลาม เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้อ่านสนุกให้ความรู้ที่หลากหลาย น่าสนใจมาก
และแน่นอนว่าวินทร์ค้นคว้าหาข้อมูล

เขาทำได้อีกครั้งด้วยนวนิยายวิทยาศาสตร์
และแบบที่ผมเกริ่นไว้ก่อนแล้ว เขาเขียนได้ทุกแนว

อีกเล่มหนึ่งที่เขาส่งมาหนากว่าเล่มแรกเท่าตัว คือ

"มังกรเซน"

ก่อนจะลงมืออ่าน ควรจำเป็นที่ต้องอ่านบทแรก "ตามรอยมังกรเซน"
เพื่อเข้าใจที่ผู้เขียนอธิบายเรื่องเบื้องต้นเสียก่อน

วินทร์กล่าวว่า การที่เขาเขียนเรื่องนี้
เขาค้นคว้าด้วยตำราหลายเล่ม ส่วนใหญ่จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ
(ซึ่งแปลมาจากจีนหรือญี่ปุ่นอีกทอดหนึ่ง)

เขายังเตือนผู้อ่านว่า ตำนานเซนเป็นเรื่องจริงผสมเรื่องแต่ง
บางเรื่องก็ขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับ

ศัพท์ของเซนแม้อาจเป็นคำเดียวกับพุทธเถรวาท แต่ความหมายอาจต่างกัน

"ชีวิตไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากความว่างเปล่า

มองเผินๆ เหมือนมีสาระ

มองดีๆ สาระเหล่านี้ ปรุงแต่งจากมายา"

ถ้าเข้าใจความ "ว่าง" เหล่านี้ เราก็เข้าใจเซน (ดัดแปลงเล็กน้อย)
ในหนังสือช่วงท้ายของคำขึ้นต้นในหนังสือเล่มนี้ของวินทร์

เนื่อง จากผมไม่ได้ศึกษาเซน และไม่ได้เข้าใจเซน แต่รู้จัก
"ความว่างเปล่า" จากสุญญตา จึงไม่แปลกที่บางครั้งก็เข้าใจได้
การนั่งทำสมาธิในสมัยผมอยู่ต่างประเทศ
ทำให้มีประสบการณ์ว่าภาวะไร้ตัวตนเป็นอย่างไร

ผมเห็นว่าหนังสือของวินทร์เล่มนี้ เป็นวิชาแบบ "วิชาการ"
ในรูปของการกล่าวถึงเซน
เพื่อความเข้าใจให้ได้ศึกษาเรียนรู้ในทางรูปธรรมและนามธรรม

จะได้ประโยค ช่วยปลดตัวตนของคุณ

และช่วยให้คุณมองทะลุตัวคุณไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง และรู้ถึงความไม่มี
และการ "มีอยู่" ทั้งที่ "ไม่มี"

หรือแม้กระทั่งการเกิดทวิลักษณะของการ "มีไม่มี" ในสถานะควบกัน
เหมือนคุณใช้มีดที่คมกริบกรีดอะไรสักอย่างโดยรวดเร็ว

มันบาดจากกัน ดูแล้วมันเหมือนไม่ขาด
ทิ้งไว้มันอาจสมานติดกันใหม่ก็ได้ เยื่อมันดึงเข้าหากันได้

แต่มันขาดหากคุณจับมันแยกกัน

อย่างนี้คือทวิลักษณะของ "ขาดไม่ขาด" ก็ว่าได้

ผมอาจให้ตัวอย่างที่ไม่ดีนัก

คราวนี้อยากย้อนกลับมาถึงรางวัลซีไรต์ซึ่งผมเห็นว่าดูจะเป็นรางวัลเดียวสำหรับวรรณกรรมที่คงความขลังติดต่อกันมา

เมื่อแรกตั้งรางวัลนั้น ผมอยู่การบินไทย มีส่วนร่วมโดยตรง

จริงๆ แล้วคนที่เริ่มคือทางโอเรียนเต็ล

เพราะผู้ริเริ่มนั้นมาจากที่นั่น

การ ประชุมในครั้งนั้นมีแต่ภาษาอังกฤษว่ารางวัลให้เป็นรางวัลสำหรับงาน
Creative writing ความจริงไม่ได้รวบรัดว่าเป็นแค่เรื่องสั้น, นวนิยาย
และบทกวีเท่านั้น

แต่มันรวมถึงสารคดีนานาประเภท,
เรื่องหรือหนังสือประวัติศาสตร์อัตชีวประวัติ, รวมเรื่องวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
แม้แต่เรื่องสั้นหรืองานที่คิดใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เช่น
"บุตรธิดาแห่งดวงดาว" ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

คราวนี้มาถึงชื่อรางวัลที่เสนอในที่ประชุมกันมาก คือ
"รางวัลดีเด่นแห่งปี" "รางวัลยอดเยี่ยม"
แล้วก็เติมแห่งชาติอาเซียนอะไรกันเข้าไป

ผมค้านอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
เพราะเห็นว่าตามเจตนาแล้วมันตกคำเฉพาะ และสำคัญที่สุดคือ "creative" คือ
"สร้างสรรค์" ไปอย่างไม่น่าเชื่อ

จึงเห็นว่า "รางวัลดีเด่นสร้างสรรค์ หรือสร้างสรรค์ดีเด่น

อ้าว แล้วคำว่า "วรรณกรรม" ไปอยู่ไหนล่ะ

ก็ "จนปัญญา"

ลงท้ายก็ให้ผมคิด

ผมคิดได้ทันที ก็บอกว่ามันควรเรียกว่า

"รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม" ให้เติม "แห่งอาเซียน"
เข้าไป ถ้าพวกเขา

ยอมรับ

นี่คือที่มาของชื่อ

แต่พวกกรรมการไม่ยอมรับเรื่องประเภทวรรณกรรมอื่นๆ
ทำให้ผมผิดหวังแต่ก็เห็นว่าไม่เป็นไร เพิ่มในตอนหลังได้

ใน 5-6 ปีแรก กรรมการทุกคนแปลกใจ
ที่คนซึ่งได้รางวัลล้วนแต่เป็นเพื่อนบ้าง เป็นลูกศิษย์ลูกหาผมทั้งนั้น
บางคนยังเป็นเพื่อนร่วมงานกันมาด้วย

ต่อมาอีกไม่กี่ปี รางวัลซีไรต์ก็ออกนอกลู่นอกทาง ผมก็ค้านโดยเปิดเผย

เชื่อหรือไม่ หลังออกจากการบินไทย
ผมไม่เคยได้รับเชิญไปงานพระราชทานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนอีกเลย

ผมก็ไม่ว่าอะไร เพราะชื่อนี้มาได้อย่างไร คนลืมไปหมดแล้ว

แต่ผมไม่ลืม เช่นเดียวกับการที่ผมกับแอ๊ด คาราบาว
ช่วยกันสร้างเพลงประจำการบินไทย "รักคุณเท่าฟ้า" ที่อยู่มา 20 กว่าปีแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น