++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พอทีชีวิตคนคุก! สงบ(ใจ)ด้วยดนตรี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กันยายน 2552 14:58 น.
ขึ้นชื่อว่า "คุก"
เชื่อได้ว่าคนร้อยทั้งร้อยไม่เคยคิดแม้แต่จะเดินเฉียด
แต่สำหรับอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี) กว่า
10 ชีวิตกลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะเป็นเวลากว่า 2 เดือนมาแล้วที่ทุกๆ
วันอังคารและวันพฤหัสบดี อาจารย์และนักศึกษากลุ่มนี้จะเดินเข้าออก
"ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ จ.ปทุมธานี" กันเป็นว่าเล่น
เนื่องด้วยภารกิจการสอนดนตรีไทยให้แก่ผู้ต้องขังนั่นเอง

สำหรับรายละเอียดนั้น "อารีย์ เฉลยสุข" ผอ.ทัณฑสถานบำบัดพิเศษฯ
ให้ข้อมูลว่า ผู้ต้องขังที่นี่ล้วนมาจากคดียาเสพติด ซึ่งใกล้พ้นโทษ
และตรงนี้ถือเป็นกระบวนการสุดท้ายสำหรับการพัฒนาจิตใจ ให้การศึกษา
ให้อาชีพ ซึ่งถือเป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวนั่นเอง
และจากการสอบถามผู้ต้องขังพบว่าหลายคนอยากเล่นดนตรีไทยเป็น
ซึ่งเครื่องดนตรีก็มีพร้อมอยู่แล้ว แต่ไม่มีคนเล่นเท่านั้น
จึงร่วมมือกับทาง มทร.ธัญบุรี ในการส่งอาจารย์เข้ามาฝึกสอนผู้ต้องขัง
เพื่อช่วยกล่อมเกลาจิตใจ และให้สิ่งนี้เป็นอาชีพติดตัวออกไปเมื่อพ้นโทษ

"อ.บรรทม น่วมศิริ" หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ มทร.ธัญบุรี
** อดข้าวก็ยอมขอแค่ได้ซ้อม
ในส่วนการฝึกสอน "อ.บรรทม น่วมศิริ"
หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ มทร.ธัญบุรี เล่าให้ฟังว่า
จากการประเมินแรกๆ
คิดว่าคงเป็นเรื่องยากสำหรับการสอนดนตรีไทยแก่ผู้ต้องขัง
เนื่องจากไม่มีพื้นฐานมาก่อน
อีกทั้งการเรียนดนตรีไทยต้องฝึกฝนตั้งแต่เด็ก ใช้ความจำ
ความอดทนเป็นอย่างสูง
แต่เอาเข้าจริงพวกเขากลับมีความตั้งใจจนคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

"ทุก คนตั้งใจกับการเรียนและฝึกฝนเป็นอย่างมาก
ถึงขนาดว่าหลายครั้งเมื่อถึงเวลาพักเที่ยงตามระเบียบจะมีเจ้าหน้าที่เข็น
อาหารมาให้ ซึ่งหากไม่รีบไปกินอาหารกลางวันจะหมด
แต่พวกเขาเลือกที่จะนั่งซ้อมต่อไปจนไม่ได้กินข้าว
บางวันซ้อมกันทั้งวันจนถึงเย็น" อ.บรรทม เล่าถึงความตั้งใจของผู้ต้องขัง

อ.บรรทม บอกด้วยว่า การสอนวงดนตรีปี่พาทย์เครื่องคู่
เครื่องสายโดยมีสมาชิกประมาณ 12 คนนั้น หากเทียบกับการสอนนักศึกษาแล้ว
เด็กจะมีพื้นฐานดีกว่า เป็นเร็วกว่า
แต่ในเรื่องความขยันกลับสู้ผู้ต้องขังไม่ได้ ซึ่งกับเวลาเพียง 2
เดือนแต่พวกเขาสามารถเล่นเป็นเพลงได้ก็ต้องยกนิ้วให้กับความตั้งใจ

** ดนตรีไทยแลกกับโอกาสจากสังคม
ขณะที่ "แบงค์" พรเทพ ปู่ประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 3
รับหน้าฝึกสอนเครื่องสาย บอกว่า
สำหรับตนถือเป็นโอกาสดีที่ได้ออกมาฝึกประสบการณ์ตรงนี้
เนื่องจากในชั้นปีที่ 5 ต้องออกฝึกสอนจริงในโรงเรียน
เมื่อมองที่ผู้ต้องขังจากสภาพปัญหาที่พบคือบางคนเป็นผู้บำบัดยาเสพติด
ทำให้ระบบความจำด้อยกว่าคนปกติ การแบ่งทำนอง
จดจำตัวโน้ตจึงมีปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ที่ผ่านมาทุกคนมีความตั้งใจดีมาก

ทั้งนี้กำลังใจสำคัญและความปลื้มปิติอันหาที่สุดไม่ได้ของพวกเขาคือ
พระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ที่จะเสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดห้องสมุดและศูนย์ฝึกอาชีพภายในทัณฑสถานแห่ง
นี้ โดยในวันนั้นวงดนตรีไทยวงนี้จะได้มีโอกาสแสดงต่อหน้าพระพักต์
ทำให้ผู้ต้องขังทุกคนต่างมุ่งมั่นอย่างเต็มที่เพื่องานครั้งสำคัญ
จึงอยากให้พวกเขาภาคภูมิใจเพราะตนในฐานะนักศึกษายังไม่มีโอกาสอันดีเช่นนี้
เลย

"ดนตรี เป็นตัวขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน
การรวมตัวเป็นวงถือเป็นการสร้างสังคมเล็กๆ ของผู้ต้องขังเอง
อย่างในช่วงที่ไม่ได้เข้ามาสอนคนที่เล่นเป็นก็จะสอนเพื่อนๆ ด้วยกัน
ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกิดขึ้น สร้างความมีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว
เชื่อว่าเมื่อพวกเขาออกไปสู่สังคมจะเป็นคนดีได้แน่นอน" แบงค์ สะท้อนภาพ

เช่นกันกับ "แบงค์" นิตินัย ทองน้อย นักศึกษาชั้นปีที่ 3
กับบทบาทผู้สอนระนาดเอก มองว่า
ดนตรีไทยถือเป็นส่วนหนึ่งในการเข้ามาเพิ่มโอกาส ทุกคนเริ่มจากศูนย์
ผ่านไป 2 เดือนเขาสามารถบรรเลงเป็นเพลงได้
ต้องถือเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ
แต่ละครั้งที่มาพบกันทุกคนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ซึ่งการจะเป็นอย่างนี้ได้ต้องมาจากการซ้อมอย่างจริงจัง

"เรา ใช้ดนตรีไทยในการเพิ่มจุดเด่นให้เขา
เพื่อใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนโอกาสทางสังคมเมื่อพ้นโทษ
เพื่อที่จะบอกสังคมว่าพวกเขาไม่ได้เป็นภาระใคร
สามารถใช้ดนตรีไทยไปประกอบอาชีพได้ แต่ขอเพียงโอกาสเท่านั้น"
หนุ่มแบงค์ฝาก

** พอทีชีวิตบัดซบ! เล่นดนตรีไทยดีกว่า...

ด้านศิษย์อย่าง "นช.บัณฑิต สุดรักษ์" อายุ 30 ปี กับตำแหน่งฆ้องวง
บอกว่า การมาฝึกซ้อมดนตรีไทยทำให้ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
สิ่งที่ได้รับตามมาคือช่วยให้ใจเย็น มีสมาธิ ฟังเสียงดนตรีแล้วไม่เครียด
และยังเป็นโอกาสที่จะนำไปประกอบอาชีพอีกด้วย

"อยาก ให้เด็กๆ รุ่นใหม่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ที่สุด
เล่นดนตรี กีฬา อย่าแม้แต่คิดลองยาเสพติด หรือกระทำสิ่งผิดกฎหมาย
ตอนนี้ผมเหลืออีก 5 ปีก็จะพ้นโทษ จากที่ได้รับมา 14 ปี
เมื่อได้เข้ามาอยู่ในนี้แล้วจะรู้ว่าคุณได้สูญเสียทุกอย่างในชีวิตทั้งครอบ
ครัว ความรัก อนาคต หน้าที่การงาน
ต่อจากนี้ไปก็จะมุ่งมั่นกับการเล่นดนตรีไทย
อย่างน้อยออกไปสิ่งนี้จะได้ติดตัวเราเพื่อสร้างโอกาสในอนาคต" นช.บัณฑิต
เตือนสติ

ไม่ต่างจาก "นช.สุภาพ พิพัฒน์ภานุวิทยา" อายุ 35 ปี มือขลุ่ยของวง
บอกเช่นกันว่า ดนตรีไทยคือสิ่งที่ต้องอนุรักษ์ไว้
เพราะตอนนี้เด็กรุ่นใหม่แทบจะไม่ค่อยให้ความสนใจ
และการได้มาฝึกตรงนี้ถือเป็นความตั้งใจ
ในการที่จะใช้ดนตรีไทยเพื่อสร้างสมาธิ นำความสงบให้เกิดขึ้นในจิตใจ
และใช้เวลาที่สูญเสียไปในนี้ไม่ให้สูญเปล่า

"อยาก ขอบคุณอาจารย์และนักศึกษาที่ยอมสละเวลามาช่วยสอนพวกเรา
เพราะเป็นเรื่องยากที่คนภายนอกจะเปิดรับและมอบโอกาสให้
ทั้งนี้เมื่อเราพ้นโทษออกไปจึงอยากให้สังคมเปิดโอกาสให้เราด้วย"
นช.สุภาพทิ้งท้าย
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000113894

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น