++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550

ยังจำได้ไหม มานะ มานี ปิติ ชูใจ ??

ยังจำ "เพื่อนวัยเด็ก" ของเราได้ไหม

ความ สนุกสนาน ที่มีอยู่ในโลกอันไร้ขอบเขตแห่งจินตนาการ ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาที่ไม่ต้องอาศัยการปั้นแต่ง สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดกลายมาเป็น "ความทรงจำ" อันแสนสุขที่เดินทางแวะเวียนมาให้รางวัลกับเราทุกครั้งเมื่อยามคิดถึงวัน เวลาในอดีต


มานะ มานี ปิติ ชูใจ

ตัวละครเก่า ๆ ในแบบเรียนภาษาไทยยุคก่อน ก็เป็นอีกหนึ่งความทรงจำที่เปรียบเสมือนเป็นชิ้นส่วนของอดีตชิ้นเล็ก ๆ ที่ทำให้ใครหลายคนอมยิ้มได้อยู่เสมอ

มานะ มานี ปิติ ชูใจ เพื่อนเก่าในวัยเด็กของคนในยุคปี พ.ศ. 2521 ถึง 2537 คือตัวละครที่มาทักทายสร้างความรู้จักกับพวกเราตั้งแต่ แรกเข้าเรียนประถม 1 จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถมศึกษา

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรักความผูกพัน ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละครเหล่านั้น ช่วยเติมแต่งจินตนาการให้พวกเขากลายมาเป็น "เพื่อน" สมัยประถมของเด็กนับล้านคน

พวกเขาเติบโตขึ้นตามวัยทุกปีพร้อม ๆ กับเรา เรื่องราวสนุกสนานที่ได้อ่าน กลายเป็นความทรงจำอันแสนประทับใจที่ยากจะลืมเลือน

หลายสิบปีผ่านไป อยากรู้ไหมว่า เพื่อนเก่าของพวกเราเติบโตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

มานะ มานี ยังคงน่ารัก มองโลกในแง่ดี หรือจะกลายเป็นหนุ่มสาวยุคใหม่ผู้แคล่วคล่อง

เจ้าโต และสีเทา จะยังมีชีวิตอยู่หรือจากลาพวกเราไปแล้วตามกาลเวลา



อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียนภาษาไทยชุดมานะ มานี ปิติ ชูใจ

ตำนานเด็กดี

"นี่ชูใจนะโต ชูใจจะเป็นเพื่อนมานี เป็นเพื่อนโต สีเทาแมวของฉันก็จะเป็นเพื่อนโตด้วย"

เสียง เจื้อยแจ้วของเด็กหญิงที่เปรียบเหมือนเป็นเพื่อนวัยเด็กของพวกเรา มาพร้อม ๆ กับความรู้สึกผูกพันอ่อนหวานกับมิตรภาพอันบริสุทธิ์ของพวกเขา

มานะ มานี ปิติ ชูใจ เพชร จันทร เจ้าโต สีเทา และเจ้าแก่ เดินทางกลับมาย้ำเตือนความทรงจำวัยเยาว์ของเรา ผ่านเรื่องราวที่ อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้แต่งบทเรียนภาษาไทยในครั้งก่อน ได้บรรจงร้อยเรียงเรื่องราวของเด็ก ๆ ให้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง

นับ จากเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 "ทางช้างเผือก" ได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารอะเดย์เป็นจำนวนทั้งหมด 12 ตอน เริ่มตั้งแต่วันพบกันครั้งแรกของผองเพื่อนวัยเด็ก ผู้เขียนได้สร้างให้เรื่องราวดำเนินไปพร้อม ๆ กับวันเวลาที่ไม่เคยหยุดยั้ง เรื่องราวมากมายที่เข้ามาสั่งสมประสบการณ์ให้เด็กน้อยได้เรียนรู้ จวบจนกระทั่ง ตอนอวสาน... ในที่สุดพวกเขาก็กลับมาพบกันอีกครั้ง

จริง ๆ แล้ว ตอนสมัยเป็นแบบเรียนภาษาไทย เรื่องนี้ไม่มีชื่อ แต่ว่าก็มีคนเคยเรียกเล่น ๆ ว่าเรื่องนี้เป็น ตำนานเด็กดี..." อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียนชุดมานะ มานี เล่าความทรงจำครั้งที่ได้เริ่มต้นเขียนแบบเรียนภาษาไทยให้เด็กไทยนับล้านคน ได้สัมผัส
กับเรื่องราวอันน่าประทับใจ

อาจารย์เล่าว่า สาเหตุที่มีคนเรียกว่าตำนานเด็กดีคงเป็นเพราะเรื่องนี้มีแต่เด็กดี มีแต่เด็กน่ารัก ซึ่งนี่คือความตั้งใจของอาจารย์ ที่อยากให้เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นเรียนรู้ในสิ่งที่ดี

"เริ่มต้นที่ได้เขียนเรื่องนี้ เป็นเพราะตอนนั้นกระทรวงศึกษาธิการต้องการเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ แบบเรียนภาษาไทยชุดเก่าโบราณเกินไป โดยเงื่อนไขข้อแรกของแบบเรียนชุดนี้คือ ต้องอ่านสนุก เด็ก ๆ ต้องติดใจและอยากเรียนภาษาไทย" อาจารย์รัชนีกล่าว

แบบ เรียนปีแล้วปีเล่าได้ถูกร้อยเรียงผ่านตัวละครตัวน้อย ซึ่งกว่าจะไปปรากฏเป็นเรื่องราวอยู่บนหนังสือเล่มที่พวกเราได้อ่านนั้นไม่ ใช่เรื่องง
่ายเลย

อาจารย์รัชนีเล่าว่า แบบเรียนภาษาไทยชุดนี้ เมื่อเขียนเสร็จครั้งแรกก็ต้องนำไปผ่านการปรับปรุงและทดลองใช้จนกว่าจะแน่ใจว่าเรื่อ
งราวที่จะออกไปสู่สายตาเด็กนับล้านคนทั่วประเทศ เป็นเรื่องที่ดี บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัย

"เด็ก แต่ละชั้นก็จะได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้ถึงสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเช่นเมื่อถึงเวลาที่หลักสูตรภาษาไทยกำหนดมาว่าจะต้องให้เด็กรู้จัก ความหมายของคำว่าตาย ครูก็ต้องมานั่งคิดแล้วคิดอีกว่าจะให้ใครตายดี ถ้าเป็นคนก็จะทำร้ายจิตใจเด็กเกินไป ก็เลยสรุปกลายเป็นเจ้าแก่ ม้าของปิติตาย เพราะมันแก่แล้ว ซึ่งขนาดเขียนให้ม้าตาย ครูยังโดนเด็ก ๆ ร้องห่มร้องให้ต่อว่า ว่าทำไมต้องให้เจ้าแก่ตาย พวกเขาสงสารมัน" อาจารย์รัชนีกล่าวพร้อมรอยยิ้ม

สำหรับอาจารย์รัชนีแล้วเสน่ห์ของตัวละครเหล่านี้ที่ทำให้คนนับล้านตกหลุมรักก็คือ

"พวกเขามีความเป็นเด็ก มีความบริสุทธิ์แจ่มใส ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความประทับใจให้ใครต่อใครได้รักตัวละคร
เหล่านี้ไปโดยไม่รู้ตัว"

คัดลอกจาก mthai.com

Attached image(s)
Attached Image
Attached Image Attached Image Attached Image Attached Image Attached Image Attached Image

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น