++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550

เมื่อภาพยนตร์ “แสงศตวรรษ” ที่ได้รับรางวัล โดนแบนจากคณะกรรมการเซ็นเซอร์หนังของไทย

ไม่น่าเชื่อว่า ภาพยนตร์ที่คว้ารางวัลมาหลายรางวัลอย่าง แสงศตวรรษ จะถูกแบนจากกองเซ็นเซอร์ กับ 4 ฉากสำคัญ ที่ไม่เหมาะสม อยากให้ตัดออกไป

อาทิ ฉาก พระสงฆ์เล่นกีตาร์
ฉาก หมอกอดจูบกับแฟน จนมองเห็นรูปร่างของอวัยวะเพศจากเป้ากางเกง

ซึ่งฉากเหล่านี้ ได้รับคำชี้แจงจากผู้สร้างว่า เป็นฉากที่มีความสำคัญต่อเนื้อเรื่อง ถ้าตัดออก จะทำให้เนื้อหาของเรื่องขาดหายไป

น่าสลด ที่ภาพยนตร์ เรื่องนี้โดนแบนอีกแล้ว ดูท่าทางว่าโอกาสที่จะฉายในประเทศไทยนั้น ริบหรี่เสียแล้ว

เรื่องความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้น ความจริงสังคมควรกำหนดได้เองว่า ดีหรือไม่ดี
กรรมการเซ็นเซอร์นั้น ที่มีหลายฝ่าย ข่าวบอกว่า เข้ามาดูคนละนิดคนละหน่อย ดูในส่วนที่เป็นปัญหา แต่ไม่ได้ดูเนื้อหาทั้งเรื่อง แล้วมาตัดสินว่า ไม่เหมาะสม

คนสร้างหนังที่คิดในแนวศิลปะ จึงคิดคนละทางกับคนที่มองผลงานในมุมมองอื่นๆ

มีตัวอย่างภาพยนตร์หลายเรื่อง ที่ดูแล้วไม่เหมาะสม น่าจะเซ็นเซอร์ เช่น บางเรื่องมีฉากเอาเท้าลูบใบหน้าของอีกคนหนึ่ง ทำไมถึงปล่อยออกมาฉายได้

บางเรื่องมีฉากข่มขืนชัดเจน โจ๋งครึ่ม แต่ก็ยังคงฉายได้ บางเรื่องยิ่งรุนแรง โป๊มากกว่า ล่อแหลมมากกว่า ก็ยังปล่อยให้ฉายออกมาได้

แต่ฉากพระเล่นกีตาร์ และหมอกอดจูบกันแฟน ซึ่งฉากแบบนี้ ในละครบางเรื่อง ดุเดือด ล่อแหลมมากกว่านี้ แต่ไม่มีใครเซ็นเซอร์ซะเลย

เมื่อไม่กี่วันก่อน มีการรวมตัวกันของคนทำภาพยนตร์ รวมตัวกันเป็น เครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์ เรียกร้องให้บรรจุในรัฐธรรมนูญว่า ภาพยนตร์เป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่ง เหมือนกับหนังสือพิมพ์ สื่อทีวี- วิทยุ ซึ่งมีเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

หลายหนที่กองเซ็นเซอร์ตัดทอน กลั่นกรองเนื้อหาในบางส่วนที่คิดว่าไม่เหมาะสมทั้งๆที่บางที ส่วนนั้นก็ไม่มีอะไรทั้งนั้น ซึ่งเป็นการจำกัดการเติบโตของหนังไทยได้ เพราะการมีกรอบที่ขีดไว้มากจนเกินไป
เช่น กรณีภาพยนตร์ แสงศตวรรษ ที่ได้รับรางวัลมา แต่ในมุมมองของคณะกรรมการเซ็นเซอร์กลับมองว่า ไม่เหมาะสมเสียอีก

บางที การที่เสรีทั้งหมดทุกอย่าง ก็อาจจะทำลายบางสิ่งบางอย่าง
บางครั้ง การนำเสนอของคนทำสื่อ ก็นำเสนออย่างล้ำเส้น เกินกว่าที่วัฒนธรรมไทยจะรับได้เหมือนกัน
เหมือนดาบสองคมจริงๆ



ข้อมูลเพิ่มเติม
ที่มา
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=7696&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai


แสงศตวรรษ’ หนังดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ พิมพ์บทความนี้

ประชาไท (11 เม.ย.50) นิตยสารภาพยนตร์ชื่อดัง Bioscope อีเมล์แจ้งสื่อมวลชนว่า วันที่ 19 เม.ย.นี้จะไม่มีการฉายภาพยนตร์ แสงศตรวรรษ หรือ Syndromes and a Century ผลงานกำกับของ เจ้ย อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการภาพยนตร์ โดยคณะกรรมการมีเงื่อนไขให้ฉายได้ต่อเมื่อตัดฉากสำคัญออกไป 4 ฉาก

อภิชาต พงศ์ เป็นผู้กำกับหนังแนวศิลปะที่ได้รับการจับตาในวงการหนังระดับโลกจากผลงาน เรื่อง สุดเสน่หา และ สัตว์ประหลาด ทั้งยังเป็นศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร ปี 2549 สาขาภาพยนตร์ จากสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำหรับหนังเรื่องล่าสุดของเขาเรื่องแสงศตวรรษนี้ นอกจากจะได้แข่งขันในเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิซ และเดินทางไปฉายตามเทศกาลสำคัญๆ มากว่า 10 เทศกาลทั่วโลกแล้ว ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แสงศตวรรษเพิ่งคว้ารางวังภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเอเชียโดวิลล์ ประเทศฝรั่งเศล และรางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยมจาก Asian Film Awards ประเทศฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้กำกับคนนี้กำลังอยู่ระหว่างเดินทางโปรโมตหนังในประเทศสหรัฐอเมริกา และตัดสินใจ ไม่ตัดทอนหนังเรื่องนี้ ทางทีมงานนิตยสาร Biosope จึง อีเมล์แจ้งให้สื่อมวลชนทราบว่าหนังเรื่องแสงศตวรรษจะไม่เข้าฉายในประเทศไทย คาดว่าจะมีการแถลงข่าวชี้แจงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในเร็วๆ นี้ พร้อมกันนี้ยังระบุเหตุผลของผู้กำกับที่แสดงความเสียใจผ่านอีเมล์มาดังนี้

ใน ฐานะนักทำหนังคนหนึ่ง ผมปฏิบัติกับหนังของผมประดุจลูกชายและลูกสาว เมื่อผมให้กำเนิดเขา พวกเขาก็มีชีวิตเป็นของตนเอง ผมไม่ใส่ใจว่าผู้คนจะรักหรือเกลียดลูกของผม ตราบใดที่ผมสร้างเขาขึ้นมาด้วยความตั้งใจและความพยายามอย่างสูงสุด ถ้าลูกๆ ของผมไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศของเขาเองไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ก็ปล่อยเขาเป็นอิสระเถิด เพราะมันยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ต้อนรับเขาอย่างอบอุ่นในแบบอย่างที่เขาเป็น มันไม่มีเหตุผลเลยที่ต้องทำให้พวกเขาพิกลพิการจากระบบแห่งความกลัวหรือความ ละโมบ มิฉะนั้นแล้วมันก็ไม่มีเหตุผลอ ันใดที่คนสักคนหนึ่งจะสร้างงานศิลปะต่อไป

แปลจาก "I, a filmmaker, treat my works as my own sons or my daughters. When I conceived them, they have their own lives to live. I don't mind if people are fond of them, or despise them, as long as I created them with my best intentions and efforts. If these offspring of mine cannot live in their own country for whatever reasons, let them be free. Since there are other places that warmly welcome them as who they are, there is no reason to mutilate them from the fear of the system, or from greed. Otherwise there is no reason for one to continue making art."


อนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้มีกำหนดเดิมในการเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ 2 แห่ง คือ พารากอน ซีเนเพลกซ์
เอสพลานาด ซีเนเพลกซ์ เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล นิว คราวน์ โฮปจัดโดย Wiener Festwochen เนื่องในโอกาสครบรอบ 250 ปีโมซาร์ต (Vienna Mozart Year 2006)

กรุงเวียนนามีการประกาศปี 2006 เป็น ปีของโมสาร์ทโดยที่ประเทศออสเตรียได้ติดต่อเชิญศิลปิน แขนงต่างๆ อาทิ ดนตรี การแสดง โอเปร่า วรรณกรรม และภาพยนตร์ เพื่อที่จะสร้างงาน สำหรับการเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่นี้โดยเฉพาะ ภายใต้่การดูแลของ ปีเตอร์ เซลลาร์ หนึ่งในศิลปินอันดับหนึ่งของโลก

สำหรับสายงานด้านภาพยนตร์ มีผู้กำกับได้คัดเลือก 6 ท่าน เพื่อที่กรุงเวียนนาจะให้ทุนสนับสนุน เพื่อสร้างภาพยนตร์ขนาดยาว 6 เรื่อง โดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล จากประเทศไทยเป็นหนึ่่งใน ผู้กำกับที่ได้รับการคัดเลือก ปีเตอร์ เซลลาร์ มุ่งเน้นการนำเสนอไปที่แนวความคิด สร้างสรรรค์ของโมสาร์ท โดยเฉพาะผลงาน 3 ชิ้นสุดท้ายของเขาคือ The Magic Flute, La Clemenza di Tito และ Requiem โดย ที่่ไม่ใช้บทเพลงของโมสาร์ทโดยตรง แต่นำเสนอมุมมองความคิดแทน อภิชาติพงศ์นำเสนอ ภาพยนตร์ที่กล่าวถึงความทรงจำโดยที่มองว่าชีวิตมนุษย์คือความมหัศจรรย์ อย่างหนึ่งของโลก โดยจะเน้นไปที่หัวใจของ The Magic Flute ความ เปลี่ยนแปลงของโลก ของการมองไปในอนาคต โดยเขาเลือกที่จะนำเสนอภาพยนตร์ที่เรียบง่าย เกี่ยวกับชีวิตในโรงพยาบาล เพื่อเป็นการอุทิศแด่่พ่อแม่ ผู้ให้กำเนิด โมสาร์ทถ่ายทอดความงามของชีวิตสู่เสียงดนตรี อภิชาติพงศ์พยายามสื่อความงามแบบเดียวกันนั้น สู่แผ่นฟิล์มภาพยนตร์

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ (ข้อมูลภาษาอังกฤษและไทย รวมทั้งรูปภาพ) สามารถเข้าไปดูได้ที่ในเว็บ

www.kickthemachine.com/works/Syndromes.html





รายละเอียดด้านเทคนิค : ไทย-ออสเตรีย-ฝรั่งเศส / 35mm Dolby SRD / 103 นาที / ขนาดภาพ 1:1.85 / ภาษาไทย



เว็บไซต์ทางการ : คิก เดอะ แมชชีน


บล็อก : http://a-century.exteen.com


มาย สเปซ : http://www.myspace.com/syndromes_and_a_century


English Info. : http://www.kickthemachine.com














ทีมงานสร้าง : ดราม่า (แนวภาพยนตร์) / นิว คราวน์ โฮป, ฟอร์ติสสิโม่ ฟิล์มส์, แบ็คอัพ ฟิล์มส์, แอนนา แซนเดอร์ส ฟิล์มส์, ที่ฟ้า (บริษัทผู้สร้างและจัดจำหน่าย) / คิก เดอะ แมชชีน (บริษัทดูแลการผลิต) / คีธ กริฟฟิธส์, ไซม่อน ฟิลด์, อีริค ชาน, ทิฟฟานี่ ชาน (อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร) / พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์, ชาร์ลส์ เดอ โมซ์ (ร่วมอำนวยการสร้าง) / อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ควบคุมงานสร้าง) / อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ผู้กำกับภาพยนตร์) / อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (บทภาพยนตร์) / สยมภู มุกดีพร้อม (กำกับภาพ) / เอกรัตน์ หอมละออ (ออกแบบงานสร้าง) / ลี ชาตะเมธีกุล (ตัดต่อ, โพสต์โปรดักชั่น ซูเปอร์ไวเซอร์) / อัครเฉลิม กัลยาณมิตร (บันทึกเสียง) / โคอิชิ ชิมิซึ, อัครเฉลิม กัลยาณมิตร (ออกแบบเสียง) / นุติ์ นิ่มสมบุญ (ออกแบบใบปิดภาพยนตร์)


นำแสดงโดย : นันทรัตน์ สวัสดิกุล, จารุชัย เอี่ยมอร่าม, โสภณ ภู่กนก, อาคเนย์ เชื้อขำ, ศักดิ์ดา แก้วบัวดี, นุติ์ นิ่มสมบุญ




ข่าวที่น่าสนใจ



สิงคโปร์แบนหนัง 2 เรื่อง แต่ฉาย "แสงศตวรรษ" เฉย

กองเซ็นเซอร์ของประเทศสิงคโปร์ได้ทำการเซ็น เซอร์หนังที่จะฉายในเทศกาลภาพยนตร์ในประเทศตน 2 เรื่อง เนื่องจากล่อแหลมทางเพศและลบหลู่ศาสนา แต่หนังไทยที่โดนแบนในบ้านเกิดอย่าง "แสงศตวรรษ" เตรียมจะได้เปิดตัวในเทศกาลดังกล่าวฉลุยแล้ว


"ท่านมุ้ย" นำทีม ดันหนังมีสิทธิเหมือนสื่อฯ ประเภทอื่น

“ท่านมุ้ย” นำทีมคนวงการหนัง ยื่นหนังสือดันภาพยนตร์บรรจุรัฐธรรมนูญใหม่ ม.39 เหมือนสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุ - โทรทัศน์ เผยเป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่าอะไรคือความเหมาะสมไม่เหมาะสม ด้าน "ปรัชญา" แจงแค่ขอสิทธิเสรีภาพและพร้อมหาองค์กรมาดูแลควบคุม


"แสงศตวรรษ" จุดชนวนคนรักหนัง(ไทย) ฮือล้มระบบเซ็นเซอร์

กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปแล้วสำหรับกรณีของ ภาพยนตร์เรื่อง “แสงศตวรรษ” ของ "เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ซึ่งนอกจากจะไม่ผ่านการเซ็นเซอร์ในบางฉากเป็นผลทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ ได้ฉายในประเทศไทยแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ที่ทำการพิจารณาภาพยนตร์ยังไม่ยอมคืนฟิล์มให้กับทางเจ้าของ ภาพยนตร์โดยอ้างว่าจะต้องมีการตัดทอนในบางฉากออกเสียก่อนจึงจะคืนให้นั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น