++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2550

ปัญญาแก้ความโกรธ









ปัญญาเป็นธรรมที่ต้องเจริญ เพราะปกติไม่มี หรือมีน้อย... การสั่งสมปัญญาจึงจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง…

ก ารฟังธรรมที่ประกอบเหตุผลก็จะยังทำให้เกิดความเห็นถูกเข้าใจเหตุผลความเป็นจ ริงได้... แต่ก็พบว่า คนส่วนใหญ่ก็ยังแพ้กิเลสอยู่ดี เพราะกิเลสเขามีกำลังมาก... มีมากจริงๆ...

บางครั้งเคยอดกลั้นได้ แม้เรื่องใหญ่ๆ ก็สามารถอดทน อดกลั้นได้... แต่ก็อีกนั่นแหละ อาจจะพบว่า บางที แม้เรื่องเล็กๆ กลับกลายเป็นเรื่องเป็นราว เป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมาเสียได้ก็มี...

ดังนั้นกุศลจึงเป็นสิ่งที่ต้องกร ะทำให้มาก ทำให้ยิ่งๆเข้าไว้..การฟังธรรม การได้สนทนาธรรมกับกัลยาณมิตร กับบัณฑิต... ก็ก่อให้เกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมาเรื่อยๆ... จะให้ปัญญาแข็งแรงยิ่งๆขึ้นไปก็ควรจะสนใจเรื่องการปฏิบัติด้วย

เคยม ีเพื่อนคนหนึ่ง เธอมีทั้งโทสะก้าวหน้ากับโทสะถอยหลัง... คือเวลาไม่ได้ดั่งใจขึ้นมา ก็มักจะโกรธและล่วงวจีทุจริตได้เป็นประจำ นี่เป็นโทสะก้าวหน้า ผลก็คือ การทะเลาะเบาะแว้งเกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อสร้างศัตรูมากๆ ตัวเองก็ต้องรับศึกหนักเรื่อยๆ เมื่อหมดความอดทนอดกลั้นครั้นพอได้มาพบมาเจอกันก็ระบายออกมา แล้วทีนี้ความเศร้าโศก ร่ำไห้ก็ติดตามมา...

“ทำไมหนอ ชีวิตฉันถึงเป็นอย่างนี้?” นี่คือสิ่งที่เขาถาม.. เป็นคนน่าสงสารมาก เพราะทุกข์ทั้งกายและใจ หาความสุขได้ยากเย็นเหลือเกิน.. นี่เป็นด้วยอำนาจโทสะ พออะไรกระทบใจนิดหน่อย ความเสียใจก็เกิดง่ายดายจริงๆ ความหดหู่ใจ จิตใจที่เศร้าหมองด้วยโทสะถอยหลังก็ติดตามมาด้วย... เริ่มมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้น

ต่อมาได้แนะนำให้มาเรียนพระอภิธรรม มาคุยกันเรื่องเหตุผลบ่อยๆ ชักนำให้มีวิธีคิด ให้ทำกุศลอย่างต่อเนื่อง.. เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นคนละคน มีความสุขมากขึ้น อะไรที่ทนไม่ได้ก็เริ่มที่จะทนได้ วางใจได้มากขึ้น... โรคที่เคยรุมเร้าก็พลอยค่อยอันตรธานหายไปด้วย... สามารถมีความสุขทั้งกายและใจขึ้นมาได้.. มีโยนิโสมนสิการมากขึ้น ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก

วิธีบริหารจิตใจ ก็ต้องใช้ปัญญา อะไรจะประเสริฐเท่าปัญญาหามีไม่... แม้การทำทาน รักษาศีล ก็ยังต้องใช้ปัญญา จึงจะชื่อว่าทำกุศลเป็น

วิธีแก้กิเลสตัวโกรธของเรานั้น อย่างง่ายๆ ก็ให้ลองให้ใช้วิธีที่เริ่มจากการทำทานให้มากขึ้นเท่าที่จะสามารถโดยไม่เดือดร้อน

"ให้"อย่างมากแก่คนที่ไม่ค่อยชอบนั่นแหละ..ให้อะไร?
ให้รอยยิ้มพิมพ์ใจ ที่ยิ้มได้ทั้งดวงตาและปาก ให้หูรับฟังเขาให้เป็น แต่ทำได้ยากเย็นนักแม้เป็นเรื่องที่แสนง่ายอย่างนี้ เพราะตัวโกรธกั้นเอาไว้

แ ต่หากว่า เป็นผู้มีปัญญามองเห็นคุณเห็นโทษแล้ว เขาจักทำได้เพราะรู้ว่า ขณะทำนั้น "ตัวกำลังทำกุศลอยู" ความรู้เช่นนี้ก็เป็นปัญญา เมื่อเกิดแล้วย่อมห้ามปรามอกุศลไม่ให้เกิดได้ระยะหนึ่งเท่าที่ปัญญานั้นเกิด ขึ้น

มีสิ่งของก็สามารถหยิบยื่นให้ได้ด้วยความเมตตา... อยากเห็นเขามีความสุขขึ้นมาบ้าง ซึ่งตรงนั้นปัญญาย่อมขจัดความริษยาลงไปแล้ว จึงเกิดจิตใจที่อ่อนโยนขึ้นพร้อมยอมรับในความสุขของคนอื่นได้

หลายคน พบว่า วิธีแก้ลำกิเลสตนเองที่ไม่ชอบคนอื่น (โทสะ) ก็คือทานนี่เอง..

โดยปกติทำได้ยาก เพราะเรามักไม่อยากให้อะไรๆแก่คนที่เราไม่ชอบ... แม้แต่ยิ้มให้ก็ให้ไม่ได้ ดูเอาเถอะ แต่เชื่อเถอะว่า... เราจะสามารถข่ม และบีบบังคับให้กิเลสเราอ่อนกำลังลงด้วย "ทาน"

จึงพบว่า หลังจากที่นำของที่ "น่าชอบใจ" ไ ปให้กับคนที่เรา"ไม่ชอบใจ"แล้ว หน้าตาของคนเหล่านั้นกลับแย้มยิ้มให้เรา เราเองก็พลอยหน้าแป้นไปด้วยไมตรีขึ้นมาได้... ผู้ให้นั้นเป็นใหญ่เสมอ... นี่เป็นเรื่องสมควรต้องฝึกที่จะ "ให้" ให้เป็น

พอเริ่ม"ให้ของ" อะไรๆได้ "ให้ยิ้ม"ก็ให้ได้ "ให้หู" ที่พร้อมจะรับฟังเขาได้

คราวนี้กิเลสที่เป็นโทสะก็พลอยลดลงไป... ดังนั้น เราจึงลดความถือดี (จ ริงๆน่าจะเรียกว่า ถือชั่วนะ เพราะไม่ดีเลย ทำให้เป็นทุกข์มาก) ลดอัตตาลงไป... การให้อภัยก็เกิดง่ายขึ้น... การยอมรับจึงค่อยๆเกิดขึ้นมาในจิตใจเรา

จ ึงเกิดความรู้ขึ้นมาว่า ใจเรานั้นที่แสนจะโฉดโหดร้าย ที่น่าชิงชังนั้นก็มี ก็สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆ.. แล้วเรายังจะให้ใจเราเป็นใหญ่ได้อย่างไร?

เราจะเอาใจของเราที่หาความแน่นอนไม่ได้ แถมยังออกอาการมารร้ายให้เราเห็นบ่อยๆ... ใจอย่างนี้เราเอามาเป็นใหญ่ได้อย่างไรกันเล่า?

ถ ้าเราต้อง “ถูกเสมอ” เราก็ “ผิด” ตั้งแต่แรกเสียแล้ว... เพราะเราผิดก็ได้ ถูกก็ได้... คนอื่นก็ไม่ใช่จะต้องผิดตลอด เขาก็ถูกได้เหมือนกัน.. เพราะ เรา"ไม่ให้โอกาสคนอื่นเลย"... ใจอย่างนี้เป็นใจที่คับแคบ แล้วเรายังจะให้ใจอย่างนี้เป็นใหญ่กระไรได้..

ขอให้เริ่มเห็น "ความผิด" "ความไม่ดี"ของตัวเองให้มาก ก็เท่ากับว่าเปิดโอกาสให้ใจยอมรับความดี ความไม่ดีของคนอื่นขึ้นมาได้บ้าง... นี่เป็นลักษณะของคนที่มีปัญญา เขาย่อมเห็นความเน่าเสีย ความไม่ดีของตนเอง.. เขาจะไม่เพ่งความไม่ดีของคนอื่น.. เพราะเขารู้ว่า กิเลสเรามีอย่างไร คนอื่นก็มีอย่างนั้น จะเอาเป็นเอาตาย จะเอาผิดเอาถูกอะไรกันหนักหนาหนอ?

ค วามโกรธนั้น ไม่เพียงแต่จะทำร้ายคนอื่น หรือคนที่อยู่ใกล้อย่างเดียวเท่านั้น... เขาทำลายทุกอย่าง... ทำลายจิตใจที่ควรจะดีงามไม่ให้เกิดขึ้นได้เลย... ทำลายหัวใจอันเป็นเหตุใกล้ของเขา... ดังนั้น คนที่โกรธมากๆบ่อยๆ จะได้โรคเพิ่มมาอย่างมากมายเป็นของแถม... เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ที่น่ากลัวคือโรคมะเร็งก็มีเรื่องจิตที่เป็นสมุฏฐานของโรคที่แม้แต่วงการแพท ย์เองก็ยอมรับ..

ฝึกมองโลกให้กว้างๆดูบ้าง เพราะที่ผ่านมาเป็นแต่ตัวเองเป็นใหญ่... ล องนึกถึงความตายไว้บ้างก็เป็นอุบายที่ดี... เพราะเราเป็นเพียงจุดเล็กๆของกาลเวลา... เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้เลย.. ต่อให้เราสิ้นใจไปในเวลานี้ เราก็ไม่มีอำนาจไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้สักน้อย... พระอาทิตย์ก็ยังขึ้นและตกเหมือนทุกวัน... ลมก็ยังพัด... สายน้ำก็ยังไหลริน.. แล้วเราคิดว่าเรา "ใหญ่" ได้อย่างไร

ทำร้ายคนอื ่นไม่พอ ใจหนอใจ ยังเฝ้าทำร้ายตัวเองอีก... หากไม่ยอมรับคนอื่นเพราะคิดว่าเขาโง่... ต้องกลับมาถามใจเราดูว่า แล้วที่ใจเราที่มักเฝ้าโกรธ.. เฝ้าเกลียด.. เฝ้าเคร่งเครียดคนอื่นอยู่นั้นฉลาดหรือ?.. ก็ไม่ต่างกันเลย เผลอๆโง่เสียกว่าอีก เพราะหลงเอาใจที่โง่นั้นแหละมาเป็นใหญ่อยู่ร่ำไป

ยิ่งสงบ... ยิ่งนิ่ง... ยิ่งงดงาม....คำนี้แสนจะไพเราะนักหนาและเป็นความจริงยิ่งนัก

เ ราโกรธคนอื่นเพราะคิดว่าเขาไม่ดี หรือดีไม่พอ... ไม่ได้ดั่งใจของเรา... เอ้า...เอาละ....คราวนี้ ลองบังคับใจตัวเองดูบ้างเป็นไร?...จะได้รู้ว่า บังคับให้ใจตัวเองดีได้หรือไม่?

เมื่อโกรธ ก็ลองบังคับให้ไม่โกรธดูทีจะได้ไหม?... ถ้าบังคับไม่ได้ จะได้รู้ว่าเรายังมีสิทธิ์ไปบังคับคนอื่นอยู่หรือ? เราจะบังคับให้คนอื่นดีให้ได้ดั่งใจเราได้อย่างไร ในเมื่อตัวของตัวเองยังบังคับไม่ได้เลย...

หยุดสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และผู้อื่นเถิด เวลาในชีวิตมีน้อยเต็มที ไม่รู้ว่าจะตายเวลาไหน... แบกเอาตัวเอง ถือดี ถือชั่วอยู่ก็เท่านั้นแหละ มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น

ก ่อนตายเราอาจจะนึกเสียใจว่า โอหนอ... หากเรามีโอกาสเราจะให้อภัยคนเหล่านี้ให้หมดเลย... ถ้ามีโอกาสเราจะขอกลับไปทำความดีจริงๆซักครั้งนึง

แต่ถ้าถึงเวลานั ้นแล้ว...ไม่มีใครต่อรองพญามัจจุราชได้เลย... ทำดีเสียตั้งแต่บัดนี้ ปล่อยความโกรธที่แสนจะหนักอึ้งนั้นเสียก่อนที่จะสายเกินไป...

ลองพิจ ารณาเรื่องอย่างนี้บ่อยๆ น่าจะเป็นปัจจัยทำให้จิตใจเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมาบ้าง... ทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักโยนิโสมนสิการเช่นกัน ลองพิจารณาดูว่าเป็นความจริงไหม... พิจารณาบ่อยๆ ปัญญาจะได้เกิดบ่อยๆ แล้วปัญญาก็จะมีกำลังขึ้นมาได้

บทความโดย คนเดินทาง

ขอขอบพระคุณ ...











1







ที่มา http://weblog.manager.co.th/publichome/forgiven/Default.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น