++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2550

คุณภาพของจิตใจ คือกุญแจไขไปสู่อนาคต

สรรพชีวิตบนผิวโลก ทั้งบนบกในทะเลกระทั่งใต้ทะเลลึก เล็กสุดตั้งแต่สัตว์
เซลล์เดียวจนถึงซับซ้อนที่สุดคือมนุษย์ โดยเฉพาะคือความ ซับซ้อนอย่างยิ่ง
ของ มันสมองมนุษย์ อันเป็นบ่อเกิดแห่ง "จิตใจ" กำลังเคลื่อนตัวเองเข้าสู่ "เส้นด้าย" อย่างเห็นได้ชัด หากแม้ไม่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างสำคัญใน "จิตใจ" ของมนุษย์แล้วไซร้ การถึงซึ่งเส้นตายที่ว่าก็จะมาถึงเร็วกว่าที่คาด
บางทีอาจไม่ถึงหนึ่งพันปี

สตีเฟน ฮอว์กิง นักฟิสิกส์เจ้าของผลงาน "ประวัติย่อแห่งกาลเวลา" บอกให้รีบ
หาทางโยกย้ายไปอยู่ดาวดวงอื่น

สตีเฟน ฮอว์กิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ของโลก ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความปราดเปรื่องที่สุดต่อจากอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้บอกใบ้ให้ชาวโลก เตรียมรับมือกับ "หายนะ" ที่จะมาจากการ "อุ่น" ขึ้นของภูมิอากาศโลกที่ปรากฏ
ชัดเจนมาก ในระยะหลังนี้ โดยกล่าวว่าเขารู้สึกวิตกกับอนาคตของมวลมนุษย์ยิ่งนัก
เกรงว่าในอีกไม่ช้าไม่นาน ดาวโลกดวงนี้จะพัฒนา ไปเป็นดาว "ร้อน"
เช่นเดียวกับดาวพระศุกร์ ที่ปกคลุมไปด้วย กรดกำมะถัน อันมีสาเหตุมาจาก
ความร้อนของโลกที่เกิดจากภาวะ "เรือนกระจก" เพื่อหลีกเลี่ยงการ "สูญพันธุ์" เขาแนะนำว่ามนุษย์ควรหาทางอพยพ โยก
ย้ายกันไปตั้งหลักแหล่งในดาวดวงอื่นเสียแต่เนิ่นๆ แม้จะไม่สามารถพากันไป
ได้ทั้งหมด ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้ต้องเผชิญกับชะตากรรมอันร้ายแรงนั้นร่วมกัน
และตายไปหมดสิ้น ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเกินหนึ่งพันปีข้างหน้า

สำนักข่าวยูพีไอได้รายงานข่าวคำ "เตือน" ของเขาไปทั่วโลกในวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมานี้
ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของภูมิอากาศ
โลกในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่ชาวโลกในเขตอุณหภูมิต่างๆ ทั้งโลกประสบ
กับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างมากมายชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น
อุทกภัยในย่านเอเชียตะวันออก ความแห้งแล้งในแอฟริกาตะวันออก คลื่น
ความร้อนระคนกับความแห้งแล้งอย่างหนักในภาคตะวันตกของสหรัฐฯ และ
ในภาคใต้ของยุโรป รวมทั้ง "ผืนน้ำ" ขนาดมหึมาที่ปรากฏขึ้นบนใจกลางของ
ขั้วโลกเหนือ อีกทั้งพายุใหญ่มากมายหลายลูกที่โหมกระหน่ำตามจุดต่างๆ ของโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน ฯลฯ
ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทางด้านสภาวะแวดล้อมของโลกโดยรวม ได้ "คำตอบ" ในใจร่วมกันว่า ทั้งหมดนั้นดูจะมีต้นตอมาจากสภาวะ "โลกร้อน"
มากกว่าอย่างอื่นใด

โลกร้อนเพราะคนทำ ที่ทำ "ตามใจ" ตน
ภัยจากธรรมชาติที่ร้ายแรงระดับที่จะดับสูญสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก เกิดจากน้ำมือของมนุษย์โดยตรง ทั้งการฉีกขาดเป็นรูโหว่ของชั้นโอโซน
ในท้องฟ้าเหนือขั้วโลกใต้ ภาวะเรือน กระจกที่ทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ ของโลกร้อนขึ้นผิดปกติ
การ ฉีกขาดของชั้นโอโซนเกิดจากการกัดเซาะของสารซีเอฟซีที่ใช้ใน เครื่องทำความเย็นประเภทต่างๆ ส่วนภาวะเรือนกระจกนั้นเกิดขึ้นโดย ตรงจากการปล่อยควันสารพัดชนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และควันไอเสียรถยนต์
ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ยังผลให้รวมตัวเป็นชั้นมลพิษที่หนาทึบ สะท้อนความร้อน
จากผิวโลกกลับสู่ผิวโลกอีกครั้งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง และสะสม การก่อตัวของ "หายนภัย" สำคัญนี้ มีมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มการปฏิวัติ
อุตสาหกรรม ทุ่มเทแข่งขันกันผลิตสินค้าอย่างขนานใหญ่เพื่อสนองตอบต่อความ
ต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ โดยมี "ความโลภ" เป็นตัวเหนี่ยวนำ
โลภที่จะได้กำไรมากๆ โลภที่จะมีอำนาจครอบงำตลาดหรือสังคมโลก มากๆ เป็นต้น

จึงอาจกล่าวได้ว่า ภัยร้ายแรงที่จะนำมวลมนุษย์ไปสู่จุดจบ มีต้นตอจาก สังคมอุตสาหกรรม
ที่กระตุ้นให้จิตใจมนุษย์เหิมเกริมที่จะ "เอา" และ "ได้" อย่าง
ไม่มีขอบเขตหรือขีดจำกัดใดๆ เมื่อประเทศใดหรือผู้ลงทุนรายใด ก้าวขึ้นสู่เวทีแห่งการ "แข่งขัน" นี้แล้ว
(โดย การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอย่างขนานใหญ่) ก็จะแข่งกันสร้างมลพิษอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย การแข่งขันยิ่งมาก การผลิตยิ่งเร็ว มวลรวมแห่งมลพิษก็ยิ่งทับทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว ด้วยความจำกัดของความรับรู้ของมนุษย์เอง
ในระยะเริ่มแรกยังไม่ตระหนักถึงภัยร้ายที่กำลังก่อตัว แต่กระนั้นก็ตาม ภายหลังจากรู้ถึงสาเหตุแห่งภัย
แล้ว การ "ปรับ" ใจให้สงบลงมาสู่จิตที่ไม่โลภ ไม่แข่งกันทำลาย ก็ยังเป็นไปอย่างยากลำบาก

แม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อลดอันตรายจากการทำลายชั้นโอโซน
หรือการปล่อยควันพิษขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ก็ไม่มุ่งขจัดปัดเป่าที่ต้นเหตุ
โดยมีการโยกย้ายโรงงานที่มีมลพิษมากจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศ
กำลังพัฒนา หรือการไม่เข้าไปช่วยประเทศกำลังพัฒนาก้าวข้ามอุปสรรคหรือ
ปัญหาเดิมๆ ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้อัตราการทำลายชั้น
โอโซนและสภาวะเรือนกระจกไม่ได้ลดลง แต่กลับมีแต่เร็วขึ้นและขยายวง
กว้างยิ่งขึ้น จนมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์โดยรวมของโลก เกิดความวิปริต
แปรปรวนอย่างรุนแรงไปทั่วโลก "ความเห็นแก่ตัว" มุ่งเอาประโยชน์ใส่ตัว กีดกันมิให้คนอื่นก้าวผ่าน
อุปสรรคสำคัญ (ทั้งๆ ที่ผลสุดท้ายจะยังผลเสียโดยรวมต่อมวลมนุษย์)
เพื่อรักษา สถานะแห่ง "ความเป็นผู้นำ" หรือความได้เปรียบของตนไว้ โดยตลอด ฯลฯ
ได้สะท้อนถึงความ "ด้อยคุณภาพ" ทางจิตใจของมนุษย์โดยรวม อย่างน้อยก็แสดงออกชัดเจนในกลุ่มคนที่มีความรู้มากกว่าและได้เปรียบคนส่วนใหญ่
พวก เราได้ครอบครองโภคทรัพย์และความรู้โดยรวมของชาวโลกไว้มากมาย ทำให้มันเป็นของส่วนตัวอย่างเด็ดขาด และกำหนดกฎกติกาให้ชาวโลกยอม รับถึง "กรรมสิทธิ์" ในความมั่งคั่งมหาศาลของตนเอง
การครอบครองโภคทรัพย์มหาศาล และอำนาจในรูปแบบต่างๆ ที่ติด
ตามมาเป็นพรวน ยังมีบทบาทครอบงำจิตใจของพวกเขาให้ทำทุกอย่างเพื่อ
เสริมสถานภาพของตนเองเป็นหลัก มากกว่าที่จะคิดยกระดับ ประชากรโลกให้พ้นจากวิกฤติน้อยใหญ่
เพื่อก้าวไปสู่อนาคตอันดีงามร่วมกัน ต้องพัฒนาไปสู่ภาวะ "ดีงาม" ทางจิตใจ และความ "ศิวิไลซ์" ทางวัตถุ
ถ้ามนุษย์มัวแต่แข่งขันกันกอบโกยโภคทรัพย์อย่างหน้ามืดตามัว เห็นที ไปไม่รอดแน่
ต้องพบจุดจบในระยะเวลาที่พอมองเห็นได้ อาจเพียงไม่กี่ร้อยปีข้างหน้า

อย่างไรก็ดี เมื่อเราพอจะรู้สาเหตุหรือที่มาของหายนภัยที่กำลัง ก่อตัว ทะมึนนี้แล้ว ก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรในการแก้ไขและป้องกัน
ทั้งนี้ต้องลงแรงกันพิเศษที่ "จิตใจ"
"จิตใจ" ที่ด่างพร้อยในช่วงที่มนุษย์เริ่มคิดว่าตนเองนั้นมีอานุภาพมาก
เสมอ (หรือกระทั่งมากกว่า) ธรรมชาติ คือสิ่งที่ต้องปรับให้คืนสู่สภาวะ "ปกติ" ที่มี
ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

เป็น ที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มรับรู้ในกฎเกณฑ์ ธรรมชาติ เกิดทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมากมาย ในรูปของฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และ "วิชา" อื่นๆ ที่เขายกย่องหนักหนาถึงความ "ศักดิ์สิทธิ์" แห่ง วิชาการ แต่
ด้วยความ "ไม่รู้จริง" ทำให้มนุษย์ที่ครอบครองความรู้และวิชาการ ทั้งหลาย
พากัน "หลงผิด" คิดว่า สิ่งที่ตนรู้นั้นเป็น "ความจริงแท้" จึงใช้ความรู้อย่างจำกัด
นั้นดำเนินการเพื่อสร้างความมั่งคั่งและโครงข่ายแห่งอำนาจสำหรับตนและ
พวกพ้องเผ่าพันธุ์ของตนอย่างขนานใหญ่ โดย ไม่คำนึงถึงผลโดยรวม ทั้งต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันและระบบนิเวศน์ทั้งโลก
อาจกล่าวได้ว่า บนเส้นทางแห่งการค้นพบของมนุษย์นั้น จิตรู้ของมนุษย์
ได้ เกิดอาการ "หลงทาง" ทั้งนี้เพราะความโลภเป็นเหตุ ซึ่งก็คือการเริ่มทำอะไร ด้วยการถือประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ คำนึงแต่เฉพาะส่วนของตน โดยละเลย หรือไม่ให้ความสำคัญต่อส่วนทั้งหมด เป็นเช่นนี้มาโดยตลอด
ยิ่งมีความรู้วิชาการสูงเท่าไร มีกำลังผลิตมหาศาลขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มพิษ สงทำลายมากเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความรู้วิชาการที่ว่านั้น
มิใช่ความรู้จริงแห่งธรรมชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์โดยรวมจะต้องเน้นการปรับในระดับจิตใจหรือ
สำนึกส่วนลึกในตน บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจในความเป็นทั้งหมด ของโลกและมวลมนุษย์
แล้วพยายามใช้ความรู้วิชาการที่ตนได้มานั้นอย่าง ระมัดระวัง พัฒนาเทคโนโลยี สร้างสรรค์ความเจริญทางวัตถุเพื่อยังความ
สะดวก ตลอดจนการหลุดพ้นจากความทุกข์เข็ญของชาวโลกโดยรวมเป็นขั้นๆ ทำให้ชีวิตโดยรวมมีพร้อมทั้ง "คุณภาพทางวัตถุ" และ
"คุณภาพทางจิตใจ" นั่นคือ มนุษย์ไม่ทิ้งความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตทางวัตถุให้
รอบด้านยิ่งขึ้น แต่บนพื้นฐานของ "คุณภาพทางจิตใจ" ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น เดียวกัน หากมิใช่ตรงกันข้าม
(พัฒนาแต่ทางวัตถุจนเลย เถิดขณะที่จิตใจกลับตกต่ำลงเร็วขึ้น)

ในสภาพที่สังคมโลกได้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว โลกของเรากลาย
เป็น "หมู่บ้านอิเล็กทรอนิกส์" แล้ว หากสภาพจิตใจของมนุษย์โดยรวมยังไม่ปรับเปลี่ยนทิศทาง พิษ
ภัยทางจิตที่มีอยู่ก็จะกระทบถึงทิศทางการศึกษาค้น คว้าวิจัย การผลิต เศรษฐกิจการค้า ฯลฯ ให้ไหลเลื่อนไปสู่หายนภัยเร็วขึ้น
แรง ขึ้น การพัฒนาจิตใจ การยกระดับคุณภาพของจิตใจ จึงเป็น "กุญแจ" ดอก สำคัญที่สุดของมวลมนุษย์ที่จะนำพาตนเองให้พ้นจากภัยร้ายร่วมกัน โดยไม่ต้องรีบหนีไปอยู่ที่ดางดวงอื่น

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มีนาคม 2550 เวลา 12:01

    สวัสดีครับ เห็นคุณเขียนมาตั้งมากไม่ทราบเคยรวมเล่มตีพิมพ์หรือเปล่าครับ
    kahaanan@yahoo.com

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ14 มีนาคม 2550 เวลา 23:36

    สวัสดีครับคุณสุขพงศ์
    เรื่องที่เขียนและนำมาเผยแพร่นี้ เคยจัดทำเป็นหนังสือทำมือครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ19 มีนาคม 2550 เวลา 09:01

    คุณมีบทความมากมาย และดูว่าเป็นนักอ่าน-รวบรวมเรื่องต่าง ๆ เอาไว้มากเลย
    ผมขอแนะนำนะครับ ทำไมไม่ลองนำบทความประเภทที่เป็นข้อมูลเช่น ข้อมูลด้านสุขภาพ และการแพทย์ มารวมกับข้อความเกี่ยวกับวิธีคิด-การมองโลกต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลที่คนยังไม่รู้จักมาเป็นตัวชูโรง แล้วปิดท้ายด้วยทัศนคติของคุณ
    ลองรวบรวมเป็นเล่มดู คิดรูปแบบนำเสนอและภาพประกอบ เสนอให้สำนักพิมพ์ทำเป็นเล่ม

    ถ้ายังไงส่งมาให้ผมอ่านบ้างนะครับ ผมเองก็ทำงานอยู่สนพ.

    หรือคุณอาจจะยังไม่ต้องการอย่างนั้น หรืออะไรก็แล้วแต่...

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณมากครับ คุณสุขพงศ์ ผมอยากจะรวบรวมเป็นเล่ม และเสนอให้สำนักพิมพ์ทำเป็นเล่มเช่นกันครับ ซึ่งคงต้องขอคำแนะนำจากุคณสุขพงศ์อีกมากมายเลยล่ะครับ

    มีข้อมูลเนื้อหาที่อยากจะจัดทำเป็นหนังสืออยู่บ้างครับ ซึ่งอาจจะขอคำแนะนำจากคุณในโอกาสต่อไปครับ

    ตอบลบ