++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550

การสื่อสารในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ศึกษากรณีการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนท ี่กระทำผิด

สุกัญญา เสรีนนท์ชัย
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์
- ศึกษากระบวนการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร ทั้ในส่วนของวัจนภาษาและอวัจนภาษา ในการพูดและการฟัง ปัจจัยที่มีผลต่อการสมานฉันท์ และวิเคราะห์ประเด็นความสอดคล้องกับนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

วิธีการวิจัย
- เก็บข้อมูลจากการประชุมฯ 5 คดี ด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ใช้แบบบันทึกข้อมูลและการบันทึกเสียง รวมถึงสัมภาษณ์ ผู้เสียหาย ผู้กระทำผิด ผู้ทำหน้าที่สมานฉันท์ นักวิชาการและผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการประชุม ฯ 41 คน

ผลการศึกษา
- การสื่อสารในการประชุม ผู้ทำหน้าที่สมานฉันท์ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการใช้วัจนภาษา ได้แก่ การกระจ่างความ ทวนความ สะท้อนความ สรุปความ และใช้คำถาม การใช้อวัจนภาษา ได้แก่ ภาษาท่าทาง ปริภาษา ภาษาสัมผัส กาลภาษา เทศภาษา และวัตถุภาษา รู้เทคนิคการเข้าถึงผู้เสียหาย การสัมภาษณ์เด็ก/เยาวชนให้รู้สำนึกในความผิดของตนเอง และการแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างการประชุม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการฟัง ซึ่งผู้ทำหน้าที่สมานฉันท์ต้องรู้จักและเข้าใจผู้พูด ฟังอย่างตั้งใจ และประเมินว่าควรจะพูดและแสดงออกอย่างไร นอกจากนี้ ยังต้องยอมรับในความแตกต่างของบุคคล มีความเข้าใจ จริงใจ และใส่ใจผู้เข้าร่วมประชุมทุคน ผู้ประสานงานการประชุม ควรเป็นผู้มีความรู้ความข้าใจในหลักการประชุมฯ มีทักษะการสื่อสาร รู้จิตวิทยาการสื่อสาร เทคนิคการให้คำปรึกษา มีใจรักในงานที่ทำ ทำงานด้วยความจริงใจ เป็นกลาง ละเอียดอ่อน ช่างสังเกต และมีมนุษยสัมพันธ์ดี สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสมานฉันท์ในที่ประชุม คือ การคัดกรองเด็ก/เยาวชนเข้าสู่กระบวนการประชุมฯ การประสานงานกับฝ่ายผู้เสียหาย และการสื่อสารในระหว่างการประชุม โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนควรเผยแพร่และทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธ ีการประชุมกลุ่มครอบครัวฯ แก่บุคลากรในสังกัดอย่างทั่วถึง มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ประสานงานการประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดการประชุมผู้ประสานงานจากภาคต่างๆ เพื่อถอดบทเรียนการทำงานร่วมกัน

สรุป
- ผลการศึกาแสดงว่า การสื่อสารมีความสำคัญต่อความสมานฉันท์ในการประชุมกลุ่มและชุมชน

จาก การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 30-31 มกราคม 2550
ณ. อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น