++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของเกษตรกรทำสวน : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอทองปลอดสารเคมี ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ยุทธนา อุ๋ยตระกูล และปิลันธน์ อนันต์ชัยพัทธนา
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท สาขาพัฒนาชนบทศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาลักษณะ กระบวนการ ปัจจัย เงื่อนไขและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง

วิธีการวิจัย
- เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกพืนที่แบบเจาะจง โดยเลือกพื้นที่ตำบลทุ่งคาวัดจำนวน 8 หมู่บ้าน ประชากรกลุ่มศึกษา คือ สมาชิกเกษตรกรทำสวนผู้ปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารเคมี จำนวน 104 ครัวเรือน ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

ผลการวิจัย
- ชุมชนตำบลทุ่งคาวัดมีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากการผสมผสานของคนต่างถิ่น ต่างจังหวัด ต่างภูมิภาค อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงเกิดจากกลุ่ม โดยปัจจัยการเปลี่ยนแปลงมาจากทั้งภายในและภายนอก ชุมชน ปัจจัยภายในคือ ผู้นำชุมชน และการศึกษา ส่วนปัจจัยภายนอกาจากเทคโนโลยี การสื่อสาร และเศรษฐกิจ โดยมีเงื่อนไขสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ การมีรายได้ประจำของเกษตรกรทำสวน ด้านผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกร แบ่งออกเป็นสองลักษณะ ลักษณะแรกคือ เกษตรกรมองเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปในทางที่มีประโยชน์ สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ก่อให้เกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงการใช้สารเคมีจึงได้มีการปฏิบัติต่อ ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ เกษตรกรมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก มีข้อปฏิบัติที่ซับซ้อนจึงถอนตัวออกจากกลุ่ม

สรุป
- ผลการวิจัยแสดงว่าชุมชนมีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีผู้นำชุมชน และการศึกษาเรียนรู้ที่ได้จากการสื่อสารด้านต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยี และเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมและ ยังส่งผลให้เกษตรกรทำสวนมีการเรียนรู้และตระหนักเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในกา รทำเกษตร


จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น