A COMPARATIVE STUDY BETWEEN THE C-TEST AND THE NC-TEST AND BETWEEN THE MC-TEST AND THE NMC-TEST, USING IDENTICAL TEXTS
มณฑรัตน์ รุ่งเรืองธรรม
ศศ.ม. ภาษาศาสตร์ประยุกต์
วัตถุประสงค์
- เพื่อเปรียบเทียบการใช้แบบทดสอบโคลซสี่ชนิดโดยใช้คะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบทด สอบ C-test กับ Nc-test และที่ได้จากแบบทดสอบ MC-Test กับ NMC-test เพื่อวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 110 คน ดดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เก่งภาษาอังกฤษ (55 คน) กับ กลุ่มที่สอนภาษาอังกฤษ (55 คน) และแต่ละกลุ่มยังแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มย่อย เพื่อทำแบบทดสอบแต่ละชนิดเพียงแบบเดียว นอกจากนี้ยังได้ศึกษากลยุทธในการทำแบบทดสอบโคลซแต่ละชนิด โดยใช้เกณฑ์ของ Sasaki (2000)
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ใช้ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มีอิสระต่อกัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าความเชื่อถือไดโดยใช้สูตร Kuder-Richardson 21 (K-R 21)
ผลการศึกษา
- พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างผลคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบ C-test กับ NC-test ทั้งหลุ่มที่เก่งและอ่อนภาษาอังกฤษ และที่ได้เจากแบบทดสอบ NC-Test กับ NMC-Test เฉพาะกลุ่มที่เก่งภาษาอังกฤษเท่านั้น ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า แบบทดสอบ NC-Test ใช้วัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับแบบท ดสอบ C-test ส่วนแบบทดสอบ MC-Test ใช้วัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มที่อ่อนภาษาอังกฤษได้เหมาะสมกว่ าแบบทดสอบ NMC-Test จากผลการสัมภาษณ์อาสาสมัครทั้งกลุ่มที่เก่งและอ่อนภาษาอังกฤษ พบว่า กลยุทธที่ใช้บ่อยที่สุด ได้แก่ Within Clause; Across Clause, Within Sentence, Across Sentences, Within Paragraph และ Guessing ดังนั้นครูผู้สอนภาษาอังกฤษสามารถนำแบบทดสอบโคลซทั้งสี่ชนิดไปใช้วัดความสาม ารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้ โดยพิจารณาเลือกใช้เทคนิคการเว้นคำและชนิดของคำให้เหมาะสมกับระดับความสามาร ถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา
จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น