++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระยองคุมเข้มป้องกันไข้เลือดออกระบาด



by สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง
        นายแพทย์กฤษณ์ ปาลสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออก   ปีนี้ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ทั่วประเทศพบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว ๑๘,๕๖๙ ราย เสียชีวิต ๑๙ ราย มีผู้ป่วยกระจายทุกภาค สำหรับในเขต ๙ พื้นที่ติดทะเล ๔ จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราดมีรายงานผู้ป่วย ๑,๖๕๑ ราย เสียชีวิต ๒ ราย จังหวัดที่อัตราป่วยสูงสุดคือ ระยอง รองลงมา จันทบุรี ตราด และชลบุรี

       นายแพทย์กฤษณ์ ปาลสุทธิ์ กล่าวต่อไปว่า ระยองพบผู้ป่วย ๗๕๖ ราย กระจายใน ๘ อำเภอ พบผู้ป่วย ที่อำเภอเมือง ๔๙๒ ราย บ้านค่าย ๙๔ ราย นิคมพัฒนา ๕๓ ราย ปลวกแดง ๔๙ ราย บ้านฉาง ๔๔ ราย เขาชะเมา ๕ ราย แกลง ๑๖ ราย  วังจันทร์ ๓ ราย แต่เมื่อคิดอัตราป่วยพบอัตราป่วยสูงที่อำเภอเมือง รองลงมาเป็นอำเภอบ้านค่ายและนิคมฯ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทุกอำเภอดำเนินการควบคุมป้องกันโรคและดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก อย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจในการทำลายแหล่งกำเนิดยุง ดูแลบ้านเรือนให้โปร่งสะอาดไม่เป็นที่อาศัยของยุง พร้อมประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินงานควบคุมโรคกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย




      นอกจากนี้ยังพูดถึงการดูแลหากป่วยเป็นไข้เลือดออก มีอาการไข้สูงต้องดูแลเป็นพิเศษ พักผ่อนในที่ๆอากาศถ่ายเทได้ดี แนะนำการดูแลดังนี้




-  การเช็ดตัวลดไข้โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดพอหมาดๆเช็ดทั้งตัว วางผ้าชุบน้ำที่บิดหมาดวางพัก ๓ จุด คือ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบ สลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ นาที  ระหว่างเช็ดตัวหากมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดแล้วห่มผ้า ในเด็กเล็กเมื่อไข้สูงมากอาจจะเกิดอาการชัก ให้ใช้ผ้าพันด้ามช้อนสอดไว้ระหว่างลิ้นกับเพดาน เพื่อป้องกันลิ้นตกไปกั้นทางเดินหายใจ แล้วรีบนำไปพบแพทย์

-  การให้ยาลดไข้ควรให้พาราเซตามอล ต้องให้เฉพาะเวลาไข้สูงเท่านั้น ระยะห่างของการให้ยาลดไข้ไม่ควรน้อยกว่า ๔ ชั่วโมง

-  อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานได้น้อย แนะนำให้ดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้าอาเจียนมาก แนะนำให้จิบน้ำเกลือครั้งละน้อยๆบ่อยๆ ควรงดรับประทานอาหารที่มีสีแดงหรือดำ พยายามหลีกเลี่ยงการให้น้ำเกลือโดยไม่จำเป็นจะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ช็อกมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับไข้ลงประมาณตั้งแต่วันที่ ๔ ของการป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น