++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก จังหวัดนครพนม




             สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม สรุปสถานการณ์ โรคมือเท้าปาก พบ ๓๑ราย ส่วนใหญ่พบในเด็ก อายุต่ำกว่า ๕ ปี เชื้อที่พบเป็นคนละชนิดกับที่พบในประเทศกัมพูชา เตือนผู้ปกครองดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด
            นายแพทย์พีระ อารีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ถึง ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก รวมทั้งสิ้น ๓๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๔.๔๕ ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
            พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบเพศชาย ๑๘ ราย เพศหญิง ๑๓ ราย อัตราส่วนเพศชาย ต่อเพศหญิง เท่ากับ ๑.๓๘ : ๑
            กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ ๐ - ๔ ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ ๒๘ ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ ๕ - ๙ จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ ๓ ราย อาชีพส่วนใหญ่ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง ๒๘ ราย และนักเรียน ๓ ราย
            พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน พฤษภาคมจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ ๙ ราย โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือนมกราคม ๑ ราย กุมภาพันธ์ ๖ ราย มีนาคม ๑ ราย เมษายน ๔ ราย พฤษภาคม ๙ ราย มิถุนายน ๙ ราย และกรกฎาคม ๑ ราย
            พบผู้ป่วยในเขตเทศบาลเท่ากับ ๖ ราย ในเขตองค์การบริหารตำบลเท่ากับ ๒๔ ราย และไม่ทราบเขต เท่ากับ ๑ ราย พบผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมากกว่าในเขตเทศบาล โดยจำนวนผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เท่ากับร้อยละ ๘๐.๐๐ ส่วนผู้ป่วยในเขตเทศบาล เท่ากับร้อยละ ๒๐.๐๐
            ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลทั่วไป เท่ากับ ๑๓ ราย โรงพยาบาลชุมชน เท่ากับ ๑๖ ราย สถานีอนามัย เท่ากับ ๑ ราย คลินิก โรงพยาบาลเอกชน เท่ากับ ๑ ราย
            อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอวังยาง อัตราป่วยเท่ากับ ๒๐.๐๖ ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคืออำเภอ เมืองนครพนม, อำเภอโพนสวรรค์, อำเภอธาตุพนม, อำเภอบ้านแพง, อำเภอศรีสงคราม, 
อำเภอนาแก อัตราป่วยเท่ากับ ๑๑.๔๔ , ๙.๓๖ , ๔.๘๘ , ๒.๙๖ , ๑.๔๘ , ๑.๓๒ ราย ตามลำดับ 

            นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า ๕ ปี ผู้ติดเชื้อ
ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยมีตุ่มที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าและ ในปาก
ด้านการป้องกันโรค ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ควรให้เด็กหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือทุกครั้งก่อน/หลังรับประทานอาหาร หลังขับถ่ายและเล่นของเล่น ควรตัดเล็บให้สั้น เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสะสมในเล็บและทำความสะอาดมือได้ง่าย ดูแลรักษาความสะอาดอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้และของเล่นต่างๆเป็นประจำด้วยน้ำยา
ทำความสะอาดหรือ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ
๑ สัปดาห์หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันแพร่เชื้อสู่เด็กอื่น หากมีเด็กป่วยในศูนย์เด็กเล็กหรือที่โรงเรียน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อควบคุมป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย.

ข่าวลำดับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕

ข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม 

งานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น