ใส่บาตรวันเกิด
ใส่บาตรวันเกิด วันอาทิตย์
อาหารคาว : ประเภทไข่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ต้ม แกงกะทิ
อาหารหวาน : ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะพร้าว น้ำขิง เงาะ
ของถวายพระ : หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมากพลู
ไหว้พระปาง : ถวายเนตร (พระประจำวันเกิด) กำลังวันเท่ากับ 6 (สวดแบบย่อ อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ)
ทำทาน : เติมน้ำมันตะเกียงตามวัด คนตาบอด โรงพยาบาลโรคตา มูลนิธิคนตาบอด โรงพยาบาล โรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจ
พฤติกรรม : ออกรับแสงอาทิตย์อ่อนๆ ช่วงเช้าหรือเย็นๆ เพื่อให้เกิดพลัง อย่าใจร้อน เลิกทิฐิ ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
ใส่บาตรวันเกิด วันจันทร์
อาหาร คาว : ประเภทสัตว์ปีก สัตว์น้ำ เช่นไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด ปูผัดผงกะหรี่ ปูนึ่ง ข้าวมันไก่ ข้าวผัดปู เต้าหูทอด แกงจืดเต้าหู้ แกงเผ็ดเป็ดย่าง ปลาสลิดทอด
อาหารหวาน : น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำอ้อย โดนัท นมสด นมกล่อง เผือก มันลางสาด ขนมเปี๊ยะ
ของถวายพระ : แก้วน้ำ แจกัน ของโปร่งๆ ใสๆ
ไหว้พระ : ปางห้ามญาติ (พระประจำวันเกิด) กำลังวัน เท่ากับ 15 (สวดแบบย่อ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา)
ทำทาน : มูลนิธิช่วยเหลือสตรี
พฤติกรรม : ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส อยู่เสมอ อย่าวิตกกังวลเกินเหตุ ให้ความช่วยเหลือสตรีเช่นลุก ให้สตรีนั่งบนรถเมล์บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกให้แข็งแรง
ใส่บาตรวันเกิด วันอังคาร
อาหารคาว : อาหารประเภทเส้น ขนมจีน วุ้นเส้น บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เนื้อวัว ปลาช่อนตากแห้งทอด
อาหารหวาน : ฝอยทอง สลิ่ม ลอดช่อง ทุเรียน ระกำ ขนุน น้ำสไปร์ท น้ำอัดลม
ของถวายพระ : เหล็ก เครื่องมือประเภทเหล็ก กรรไกร แปรงสีฟัน ยาสีฟัน พัดลม กรรไกรตัดเล็บ
ไหว้พระ : ปางไสยาสน์ (พระนอน) มีกำลังเท่ากับ 8 (สวดแบบย่อ ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง)
ทำทาน : คนพิการทางปาก ปากแหว่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก
พฤติกรรม : ทำตัวให้กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ขยันให้มากขึ้น ลดอารมณ์ร้อน การชิงดีชิงเด่น
ใส่บาตรวันเกิด วันพุธ (กลางวัน)
อาหารคาว : เน้นสีเขียว-หมู แกงเขียวหวานหมู หมูปิ้ง หมูทอด ผัดพริกหมู คะน้าน้ำมันหอย
อาหารหวาน : ขนมเปียกปูนเขียว น้ำฝรั่ง ชมพู่เขียว องุ่นเขียว มะม่วงเขียวเสวยฝรั่ง ชามะนาว
ของถวายพระ : สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ อุปกรณ์การเรียนการศึกษา
ไหว้พระ : ปางอุ้มบาตร (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 17 (สวดแบบย่อปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท )
ทำทาน : คนพิการทางหู โรงพยาบาลโรคสมอง โรงเรียนสอนคนหูหนวก
พฤติกรรม : อ่านหนังสือธรรมะ ร้องเพลง ฝึกสร้างความมั่นใจให้ตนเอง
ใส่บาตรวันเกิด วันพุธ (กลางคืน)
อาหารคาว : ของหมักดอง ผักกาดดองผัดไข่ อาหารกระป๋อง แกงใบยอ หมูยอ แหนม ไข่เยี่ยวม้า ห่อหมก
อาหารหวาน : ข้าวหมาก ขนมเปียกปูนดำ เฉาก๊วย ข้าวเหนียวดำ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้หัวโตๆ ทุเรียน
ของถวายพระ : พัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม
ไหว้พระ : ปางป่าเลไลย์ (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 12 (สวดแบบย่อ คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ)
ทำทาน : มูลนิธิหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับยาเสพติด
พฤติกรรม : เลิกบุหรี่ เลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
เลิกการพนัน เลิกทำตัวเหลวไหล เลิกเที่ยวกลางคืน เลิกยาเสพติดทุกชนิด
ใส่บาตรวันเกิด วันพฤหัสบดี
อาหารคาว : ประเภทเถา แกงเลียง บวบผัดไข่ น้ำเต้า
อาหารหวาน : แตงโม แตงไทย น้ำสมุนไพร ส้ม สาลี่ น้ำมะตูม น้ำว่านหางจระเข้
ของถวายพระ : สบง จีวร หนังสือธรรมะ ตู้ยา โต๊ะหมู่บูชา
ไหว้พระ : ปางสมาธิ (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 19 (สวดแบบย่อ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ)
ทำทาน : โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคข้าวสาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว
พฤติกรรม : นั่งสมาธิ สวดมนต์ ถือศีล5 อย่าซื่อจนเกินไป
ใส่บาตรวันเกิด วันศุกร์
อาหารคาว : ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม ไข่เจียวหอมใหญ่ ยำหัวหอม
อาหารหวาน : ขนมหวาน หอมทุกชนิด น้ำเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม กล้วยหอม เค้ก
ของถวายพระ : นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม
ไหว้พระ : ปางรำพึง (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 21 (สวดแบบย่อ วา โธ โน อะ มะ มะ วา)
ทำทาน : เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า อาหารที่หอมหวานชวนกิน เช่น ไอศกรีม
พฤติกรรม : ทำตัวให้สดชื่นแจ่มใส บำรุง ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอด จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม เลิกการฟุ่มเฟือย
ใส่บาตรวันเกิด วันเสาร์
อาหารคาว : ประเภทของขม ของดำมะระยัดไส้ สะเดาน้ำปลาหวาน น้ำพริกปลาทู มะเขือยาว
อาหารหวาน : ลูกตาลเชื่อม กาแฟ โอเลี้ยง
ของถวายพระ : ร่มสีดำ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ำถวายวัด
ไหว้พระ : ปางนาคปรก (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 10 (สวดแบบย่อ โส มา ณะ กะ ระ ถา โธ)
ทำทาน : โรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลโรคประสาท
พฤติกรรม : กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำวัด ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ขยะในบ้านยกทิ้งทุกวัน อย่าหมักหมม
การทำบุญวันเกิด
อัน ประเพณีที่จะ ทำบุญวันเกิด ขึ้นนี้เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นตัวอย่างตั้งแต่ยังทรงผนวช ไม่ใช่ทำอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการมีอายุยืนมาบรรจบรอบปีครั้งหนึ่งๆ ไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันประเสริฐ ควรยินดี เมื่อรู้สึกยินดีก็ควรจะบำเพ็ญกุศล ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น ให้สมกับที่มีน้ำใจยินดี และไม่ประมาท เพราะไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ถึงวันเกิดปีหนึ่งเป็นที่เตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปต่อความตายอีกก้าวหนึ่งชั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกเช่นนั้น จะได้บรรเทาความมัวเมาประมาทในชีวิตเสียได้ นี้เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นสาเหตุให้ มีการทำบุญวันเกิดขึ้นเรียกว่า เฉลิมพระชนมพรรษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น