เข้า สู่เทศกาลกินเจ ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายที่ตั้งใจจะเลิกเบียดเบียนชีวิตอื่นๆ ในช่วงนี้ ต่างก็หันมากินอาหารเจกันอย่างถ้วนหน้า โดยผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ กินเพื่อสุขภาพ, กินด้วยจิตเมตตา และกินเพื่อเว้นกรรม
รศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล
“ เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ใน สภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงในการกินเจ คือ การเลือกกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและควรเน้นเรื่องความสะอาดในการปรุง โดยซื้อวัตถุดิบมาปรุงเอง แทนที่จะซื้อจากร้านอาหารเจ”
รศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล อาจารย์ ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดประเด็นการแนะนำวิธีกินอาหารเจให้ปลอดภัย ก่อนจะแนะต่อไปอีกว่าควรเลือกอาหารเจที่สดที่ปรุงใหม่ๆ พร้อมทั้งเตือนด้วยว่า การเลือกรับประทานผักและธัญพืช ทั้งสดและแห้ง ควรเลือกซื้ออย่างระมัดระวัง จำเป็นต้องคัดสรรวัตถุดิบที่ใหม่ และมีคุณภาพอยู่เสมอ
“นะนัด” ณณัฏฐ์ ศาสนาเกียรติกุล
“นะนัด-ณณัฏฐ์ ศาสนาเกียรติกุล" นักศึกษาชั้นปี 3 คณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในนักศึกษาที่เลือกรับประทานอาหารเจ บอกว่า ตนเลือกรับประทานอาหารเจมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะครอบครัวเป็นคนจีน และเคร่งครัดในการรับประทานอาหารเจ เพราะนอกจากจะถือโอกาสงดทานเนื้อสัตว์แล้ว ทั้งได้บุญและถือเป็นการล้างสารพิษในร่างกายอีกด้วย
“บ้าน ของนะนัดจะเตรียมตัวรับประทานอาหารเจ เตรียมซื้อวัตถุดิบเตรียมไว้ เพราะชอบที่จะทำอาหาร มากกว่าที่จะซื้อทานตามร้าทั่วไป ตอนเช้าๆ นะนัดจะทานอาหารเจที่บ้าน เพราะคุณแม่จะทำอาหารเจไว้ให้ทานก่อนมามหาวิทยาลัย ในช่วงกลางวันหรือเย็นๆ นะนัดจะเลือกทานอาหารเจนอกบ้าน เพราะสะดวกกับตัวเอง ยิ่งเป็นเทศกาลกินเจ ยิ่งซื้อง่าย เพราะจะมีขายตามตลาดทั่วไป แทบไม่ต้องเดินเข้าไปสอบถามว่าร้านใดขายอาหารเจ เพราะธงสีเหลืองมีตัวอักษรจีนสีแดงแปลได้ว่า "ไม่มีอาหารคาว" ที่ปักติด หรือห้อยระโยงระยางอยู่ที่แผงอาหารหรือหน้าร้าน”
สำหรับเมนูอาหารเจที่นะนัดชื่นชอบจะเป็นของทอด เช่น เต้าหู้ทอด หัวไชเท้าทอด ซึ่งอาจจะเป็นเมนูที่ทำให้อ้วน หรือเพิ่มน้ำหนัก แต่นะนัดบอกว่า ถ้ารู้จักเลือกรับประทานแต่เพียงพอ ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ แถมยังได้บุญอีกด้วย
ด้านสาวสวยใจบุญอย่าง “ แก๊ก” สุทัตตา เจียรสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดประสบการณ์แห่งความศรัทธานี้ว่า เธอกินเจมาแล้วกว่า 3 ปี พร้อมยืนยันว่ารู้จักการกินเจอย่างถูกหลัก ซึ่งทำให้ ไม่อ่อนเพลีย ไม่เหนื่อยง่าย และไม่เบลอเวลาดูหนังสือ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะเกิดได้กับผู้ที่กินเจบางคนที่กินอย่างไม่ถูกวิธี
แก๊กกล่าวว่า ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดูแลระบบในร่างกายตนเองอย่างปลอดภัยโดยการจัดอาหารให้เหมาะสมตามพลังงานที่ ร่างกายต้องได้รับ
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
“ ครั้งแรกที่กินเจเมื่อปี 3 ปีที่แล้วเนื่องจากแก๊กเกิดอาการป่วย จากนั้นคุณแม่ก็ได้ไปบนขอไว้ ว่าหากหายป่วยจะให้ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ ซึ่งเราก็หายจริงๆและกินมาตลอดทุกปี โดยจะกินแบบเน้นผัก ส่วนวิธีการสังเกตง่ายๆ ว่าอาหารเจที่เรากินเข้าไป มีสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ ให้สังเกตง่ายๆ คือหากใครกินแล้วไม่มีแรงแสดงว่าโปรตีนไม่พอ วิธีการแก้อาการก็ไม่ยากค่ะ ให้ลดแป้งลงแล้วกินผักเสริม หรือดื่มนมถั่วเหลืองก็จะช่วยได้เยอะค่ะ แล้วเราก็จะไม่รู้สึกว่าเราเพลียหรือสารอาหารไม่พอ และไม่รู้สึกต้องทรมานกับการละเว้นเนื้อสัตว์”
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
สาวแก๊กยังได้ยกเมนูโปรดช่วงกินเจของตัวเองมาแนะนำแบบไม่สงวนลิ ขสิทธ์ว่า รายการอาหารที่เธอชื่นชอบช่วงร่วมบุญในเทศกาลกินเจที่อร่อยแถมอิ่มและอยู่ ท้อง และที่สำคัญคืออุดมไปด้วยสารอาหาร นั่นก็คือ “เมนูต้มกะหล่ำปลี” ที่ สามารถประยุกต์ผักเครื่องเคียงลงไปผสมเพื่อความอร่อยได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นต้มกะหล่ำกับเห็ดหอม หรือจะใส่โปรตีนเกษตรลงไปให้หนักท้อง ซดเล่นๆ หรือกินเป็นกับข้าวก็ได้ไม่เกี่ยง แถมหากเบื่อรสจืดๆ ก็ยังสามารถใส่ “มะนาวดอง” เปรี้ยวจี๊ดจ๊าดลงไปให้แซ่บง่ายๆ แถมได้บุญอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น