++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิศวกรโยธาที่จบมาจากทุกมหาวิทยาลัย ควรออกแบบเรื่องการจัดการปริมาณน้ำฝนกันใด้แล้ว

วิศวกรโยธาที่จบมาจากทุกมหาวิทยาลัย ควรออกแบบเรื่องการจัดการปริมาณน้ำฝนกันใด้แล้ว แต่ละโปรเจ็คควรมีการกักกันน้ำฝนใว้ในสระก่อนแล้วจึงค่อยๆชลอปล่อยออกมาช้าๆ เพื่อไม่ให้น้ำใหลท่วมเมืองโดยฉับพลัน ที่สหรัฐอเมริกาเขามีกฏหมายรับรองการออกแบบเพื่อจัดการปริมาณน้ำฝน แต่เมืองไทยเราเคยเสนอไปนับร้อยครั้งไม่มีใครสนใจ นักการเมืองก็เห็นแก่ตัวเกรงกลัวจะเสียผลประโยชน์เพราะนายทุนต้องยอมเสียสละ ที่ดินเพื่อสร้างสระรองรับน้ำฝน
วิศวกรไทยในสหรัฐ

แล้วคนชนชั้นไหนล่ะที่มีที่ดินมากที่สุดในประเทศไทย กฏหมายที่ดินถึงได้ล่มมาทุกรัฐบาล
ตาสว่างได้แล้วครับ

ถาม วิศวกรโยธา ตอบไม่ได้หรอกเพราะ ไม่ใช่หน้าที่เขาออกแบบ (มีหน้าที่ใส่เหล็กแบบไหน ขนาดเท่าไร ใช้ปูนเท่าไร ใช้หินเบอร์ไหน ราคาค่าก่อสร้างเท่าไร เป็นต้น) มันต้องให้วิศวกรสิ่งแวดล้อม/เครื่องกล/ชลประทาน/ทรัพยากรน้ำออกแบบ ทุกโครงการที่จัดทำ EIA (รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ตามข้อกำหนดของสผ. (สำนักนโยบายและแผน กระทรวงวิทย์ ฯ) โดยเฉพาะโครงการที่พักอาศัย เช่น อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ (คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล) หมู่บ้าน (ต้องดูข้อกำหนดของสผ.) ยกเว้นบ้านพักทั่วไป อาคารพาณิชย์ อาคาร/บ้านพักอาศัยทุกประเภทที่ไม่ได้อยู่ในข้อกำหนดกฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายก่อสร้างอาคาร พรบ.อาคารสูง/อาคารชุด/อาคารขนาดใหญ่/อาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะต้องทำระบบหน่วงน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายวิธี เช่น ระบบหน่วงในท่อ ระบบหน่วงแบบสร้างบ่อพักน้ำใต้ดิน ทั้งนั้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่ปัจจัยค่าก่อสร้างเป็นหลัก (ไม่อย่างนั้น รายงานEIA ก็จะไม่ผ่าน โครงการต่าง ๆ ก็ก่อสร้างไม่ได้ เพราะไม่มีรายงานนี้แนบไปกับแบบก่อสร้าง เพื่อขอใบอนุญาตก่อสร้างจากสำนักงานเขต นี่คือ กฎหมายป้องกันน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโครงการนั้นๆ) ดังนั้น ที่เกิดน้ำท่วมน้ำระบายไม่ทัน เกิดน้ำท่วมขัง มันมีหลายสาเหตุ เช่น ท่อระบายน้ำตัน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินทรุด ถนนทรุด ท่อระบายน้ำหัก/แตก/ชำรุด บ่อพักน้ำตัน/ชำรุด เป็นต้น การออกแบบเขาจะใช้ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ย้อนหลังไปประมาณ 20 ปี เพื่อคำนวณพื้นที่ ขนาดท่อ ขนาดปั๊ม อื่น ๆ เป็นต้น และการก่อสร้างถนน เขาก็คำนึงระบบป้องกันน้ำท่วมอยู่แล้ว แต่ท่วมขังจริง ๆ ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยดังที่กล่าวข้างต้น ประกอบสภาพอากาศแปรปรวน สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ป่าถูกทำลายไปมากกว่าแต่ก่อน ทำไมไม่ลองนึกในอดีต น้ำมันก็ท่วมเหมือนกันแต่ไม่ได้มากเสียจน กทม.ตัองทำกำแพงป้องน้ำท่วม (แถวฝั่งม.เจ้าพระยา) การออกแบบก็รองรับตามสภาพสมัยนั้น ถ้าจะให้ไม่มีปัญหาเลย มันยากมากแบบนี้ต้องทุบถนนในกทม.เกือบหมดแล้วสร้างใหม่ คุณคิดว่า ให้น้ำท่วมกับทุบถนนทิ้งสร้างใหม่ อันไหนมันเดือดร้อนกว่ากัน ทุกวันนี้ แค่ซ่อมสะพานจุดเดียว รถก็ติดกันสาหัสอยู่แล้ว คุณทนได้ไหม...ลองนึกถึงตอนฝนตก ทุบ/ซ่อม/สร้างถนน สภาพเป็นอย่างไร ยิ่งหนักกว่าเดิมไหม...(เห็นใจ/เข้าใจคนที่เขามีบ้านอยู่ในที่มีน้ำท่วม เหมือนกัน. แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ว่าแต่กทม. มีงบประมาณมาปรับปรุงหรือเปล่าหนอ....... น่าจะช่วยเหลือกันหน่อย คนกทม.เหมือนกัน อย่าให้ร้องเพลงคนบ้านเดียวกัน ของไผ่ พงศธรเลย....ค่ะ)......................
สิ่งแวดล้อม

ขอบคุณสิ่ง แวดล้อมมากนะครับ ที่สหรัฐเขามีแผนผังของพื้นที่ระดับน้ำท่วม ยี่สิบปี ห้าสิบปีและร้อยปี พื้นที่ใดที่อยู่ในน้ำท่วมเขาจะไม่ให้มีการก่อสร้างหรือเป็นทีอยู่อาศัยโดย เด็ดขาด พื้นที่ใดที่รัฐบาลอนุญาตให้คนไปก่อสร้างและอยู่อาศัย ถ้าเกิดน้ำท่วมขึ้นมาในที่นั้น รัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายทดแทนทั้งหมดรวมทั้งค่าอพยพย้ายออกไปจากพื้นที่นั้น วิศวกรโยธามีหลายสาขาเช่น โครงสร้าง น้ำ สพาน ถนน อุโมงค์ การปิโตรเลี่ยม รถใต้ดิน รถไฟฟ้า ขนส่งมวลชน สนามบิน สิ่งแวดล้อม ออกแบบสถานที่ก่อสร้างและปรับที่ดิน จัดการปริมาณน้ำฝน รวมทั้งพวกสายเคเบิ้ล ท่อน้ำ ท่อประปรา ท่อระบายน้ำ ท่อก๊าซ เป็นต้น ที่สหรัฐ เขามีกำหนดว่า วิศวกรโยธาออกแบบปรับพื้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริเวณห้าฟุตโดยรอบออกจาก โครงสร้างหรือตัวตึก ข้างในตึกเป็นการรับผิดชอบของวิศวกรอย่างอื่นเช่นสถาปัตย์ วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเครื่องกลและวิศวกรอื่นๆ สำหรับน้ำท่วมกรุงเทพนั้น กรุงเทพเคยเป็นเมืองเวนิสตะวันออกมาก่อน เคยมีคลอง คู และแหล่งน้ำมากมาย แต่ปัจจุบันกลายเป็นถนนและสิ่งก่อสร้างไปหมด จึงทำให้เกิดน้ำท่วม เพราะวิสัยทัศน์ของคนวางผังเมืองสมัยก่อนมีความผิดพลาด
วิศวกรไทยในสหรัฐ
ประชาชนคนไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น