++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นิทานเซ็น : พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่มีผู้หญิง!

นิทานเซ็น : พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่มีผู้หญิง!
โพสท์ในพันธุ์ทิพย์ กระทู้ที่ K2691667 โดยคุณ : ความรักครั้งสุดท้าย - [ 29 ก.พ. 47 ]
มีสาวน้อย วัย 17 คนหนึ่ง เกิดในปี พ.ศ.2340 ในตระกูลของนักรบผู้ใหญ่ในแผ่นดินของ
พระเจ้าจักรพรรดิ์ จะเป็นด้วยว่าประเทศญี่ปุ่นขณะนั้นมีการประกวดนางงามกันหรืออย่างไรไม่
ทราบ ประวัติไม่ได้กล่าวไว้แต่เรื่องเริ่มเล่าว่า สาวน้อยโยเน็น ผู้นี้ ได้เป็นเทพีแห่งความงามอยู่
ในสมัยนั้นแล้ว ตามคติของญี่ปุ่นนั้น เขาถือว่าชาติญี่ปุ่น เป็นมนุษย์เผ่าแรกในโลกและเหมาเอา
เกาะนับพันของญี่ปุ่นนั้น ว่าเป็นโลกทั้งหมด จึงเรียกกษัตริย์ของตนว่าพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ครอง
โลก ฉะนั้นถ้ามีการประกวดความงามของสตรี เขาก็คงเรียกยอดพธูของเขาว่า นางสาวโลก
กระมัง
ใช่ว่าจะได้รับการเชิดชูยกย่องในความงามชั้นพิเศษแต่อย่างเดียวก็หาไม่ เนื่องจากเธอ
กําเนิดในตระกูลสูงนั่นเอง สาวงามโยเน็น ยังได้รับการศึกษาอักษรสมัย สามารถแสดง
อัจฉริยภาพทางเขียนฉันท์และกาพย์ได้เป็นอย่างสูงเยี่ยมอีกด้วย จนถึงพระราชินีแห่งพระเจ้า
จักรพรรดิโปรดปราน รับสั่งเรียกตัวเข้าถวายงาน รับตําแหน่งนางสนองพระโอษฐ์อันสูงศักดิ์ใน
พระราชวัง ได้รับความรักความเอ็นดูเหลือล้น พ่อแม่ญาติพี่น้องทั้งตระกูลจึงมีหน้ามีตาเพิ่มเป็น
ทวีคูณทีเดียว
แต่แล้ว...เรื่องของมนุษย์ต้องต้องเป็นอย่างนั้นเอง กล่าวคือ เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝัน
ไว้ก่อนก็บังเกิดขึ้น และบังเกิดแล้ว นั่นคือต่อจากนั้นไม่สู้นาน พระจักรพรรดินีองค์ผู้โปรดปราน
เธอเป็นที่ยิ่งนั้น ได้สิ้นพระชนม์ลงอย่างกะทันหัน สาวน้อยได้รับใช้ใกล้ชิดตลอดเวลาจนสิ้น
ลมปราณ พร้อมกันนั้นอนาคตอันเจิดจ้าแจ่มจรัสในชีวิตชาววังของเธอก็ดับวูบลง เจ้าหล่อนแม้
จะล่วงกาลผ่านวัยมาไม่กี่ปี ก็พลันพบเข้ากับเหตุการณ์หนักๆ ให้รสชาติแก่ชีวิตน้อยๆ ของเธอ
ได้อย่างวูบวาบรวดเร็ว เธอได้พบฉากชีวิตจริง ที่มีอะไรขอดเป็นปัญหาจนทนไม่ได้ที่จะไม่
หาทางไขสู่ความกระจ่าง เธอฉงนใจยิ่งนัก ว่า โลกนี้ มันอะไรกัน? เอ๋...นี่มันอะไรกัน!
คนเรานั้น ตามธรรมดา ไม่ว่าหญิงหรือชาย จะอายุเท่าไรไม่สําคัญ พอเกิดความรู้สึกเป็น
ปัญหา ขึ้นถึงขีดหนึ่งที่วิถีชีวิตชักนําให้มาพานพบ ทุกคนย่อมทนไม่ได้ที่จะไม่วิ่งเข้าหาเครื่อง
ขจัดความคลุมเครือกล่าวคือทางธรรม สาวน้อยโยเน็นของเราก็เป็นเช่นนั้น หล่อนเริ่มสนใจ
อยากจะทราบว่าพุทธศาสนามีว่าไว้อย่างไรในเรื่องนี้ ประกอบกับเธอเป็นนักวรรณคดี ได้อ่านได้
รู้อะไรได้อย่างลึกซึ้ง ตามความอ่อนไหวของวิญญาณนักกวีเธอจึงเป็นเอามาก ถึงกับจะออก
บวชเพื่อศึกษาพระธรรมอย่างใกล้ชิด
ทางญาติพี่น้องจึงเอะอะขึ้น ไม่ยอม หัวเด็ดตีนขาดเป็นไม่ยอม ก็ใครเล่าจะเข้าไปรู้ถึงส่วน
ลึกในใจเธอ เรื่องจึงเกิดอลเวงกันใหญ่โต ทางฝ่ายสาวน้อยก็พยายามให้เหตุผลทุกอย่างทุก
ทางเพื่อจะได้บูชาความอยากรู้ในเรื่องใหญ่หลวงนี้ ทางญาติผู้ใหญ่ก็จะยอมให้ไปบวชไม่ได้
แน่ๆ ต่างฝ่ายต่างดึงกันตึงเครียด เพราะมองกันไปคนละทาง ไม่มีฝ่ายใดลดหย่อนให้กันแม้แต่
น้อย ทางสาวโยเน็นใช้ไม้ตายถึงกับจะหนี สบช่องเมื่อไรเป็นหนี
ทางบ้านจึงรีบหาได้ผู้ชายสูงศักดิ์ เพื่อจัดเตรียมให้มีการแต่งงานให้รู้แล้วรู้รอดไปเสีย ฝ่าย
หญิงสาวเธอก็ยิ่งไม่ยอมใหญ่ เหตุการณ์เลยยุ่งขิงยากเย็นเป็นทับทวีคาราคาซังกันอยู่นาน ผล
สุดท้ายจึงมีข้อต่อรองหย่อนเข้าหากัน มีสัญญากันว่า สาวงามโยเน็นจะยอมแต่งงาน แต่หากให้
กําเนิดบุตรคนแรก ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เธอจะขอออกบวช ทางพ่อแม่ก็ยังยอมไม่ได้อีก
ยกเอาประเพณีของญี่ปุ่นที่เฉียบขาดเคร่งครัดมาลบล้าง ว่าหญิงต้องมีบุตร 3 คน จึงจะชื่อว่า
เกิดมาเป็นลูกผู้หญิงที่สมบูรณ์ เธอจึงจํานนต่อระเบียบประเพณี จําใจเข้าพิธีแต่งงาน เพื่อแลก
เอาสัญญาว่าจะยอมให้ออกบวช
ก่อนที่อายุเธอจะครบ 25 ปี เธอก็หลุดจากข้อผูกพันออกบวชได้ตามสัญญา สามีและพ่อ
แม่ พี่ ป้า น้า อาจะฉุดเอาไว้ไม่ได้อีกต่อไป เมื่อได้รับอิสระแล้ว ก็โกนหัวบําเพ็ญชีวิตเป็น
Page 2
อนาคาริก ออกเที่ยวศึกษาปฏิบัติไปตามวัดตามวา ทิ้งถิ่นบ้านเดิม ไกลห่างญาติพี่น้องออกไปๆ
แม่ชีสาวโยเน็น ได้เที่ยวแสวงหาโมกขธรรมไปหลายแห่งต่อหลายแห่ง ทุกๆ แห่ง เธอ
พบว่าสํานักต่างๆ นั้น ทําไมถึงขอเข้ารับการศึกษาไม่ง่ายเหมือนที่คิดไว้สํานักแล้ว สํานักเล่าที่
เธอขอเข้าเป็นศิษย์เพื่อศึกษาปฏิบัติ มักเมินเฉย ไม่ใส่ใจใยดี จะยอมให้อยู่ก็ไม่ว่า จะไม่ให้อยู่
ก็ไม่ว่า แต่เธอสังเกตว่ามีการแสดง ไม่ยินดีต้อนรับอยู่ในที เรื่องนี้นับว่าเธอได้มาพบเข้ากับ
ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ในชีวิตทางศาสนาของเธออีก
ทีแรกแม่ชีผู้น่าสงสาร ก็ยังค้นหาสาเหตุไม่ได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด จนกระทั่งเธอรอนแรม
ล่วงเข้าเขตมณฑลอีโดไปขอเข้าพักรับการศึกษากับอาจารย์องค์หนึ่ง จึงได้ทราบสาเหตุ
แท้จริง เพราะไปเจออาจารย์พูดขวานผ่าซาก ชื่ออาจารย์เทตสุยุ อาจารย์องค์นี้ เพียงเหลือบ
เห็นเธอคลานเข้ามาแสดงความจํานงเท่านั้น ก็ตอบปฏิเสธโพล่งไปทันทีว่า สํานักนี้รับเธอไว้
ไม่ได้เพราะเธอยังสาวนัก และสวยนัก จะไม่เป็นผลดีอะไรแก่คนอื่นส่วนใหญ่ในสํานักนี้
แม่ชีสาวของเรา จึงเกิดมาพบความจริงอีกด้านหนึ่งของความสวยงาม ทําให้เธอเกือบจะ
ทดท้อ ว่าโลกนี้ มันมีอะไรที่ยังเร้นอยู่ ไม่ประจักษ์ต่อสายตาคนทั้งหลายอีกมากนัก โลกนี้ชีวิต
นี้ ยังมีเงื่อนอะไรหลายอย่าง แปลกๆ ใหม่ๆ ดูเอาเถิดโทษของความสวย-ความงาม ก็มีด้วย!
มันช่างมีอะไรชวนติดตามให้รู้เที่ยงแท้อีกมาก เธอจึงซมซานต่อไป และต่อไป จนลุถึงสํานัก
เซ็นวัดหนึ่ง วัดนี้เป็นสํานักใหญ่ ลูกศิษย์ลูกหามากทั้งฝ่ายภิกษุ และนางชี หลวงพ่อเจ้าอาวาส
เป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายเซ็น ชื่อ ฮากุโอะ
พอย่างเหยียบเข้าไปในวัด แม่ชีโยเน็นก็ไม่แน่ใจเสียก่อนแล้ว กลัวจะเป็นเหมือนสํานัก
ต่างๆ ที่แล้วมา เธอจึงเลี่ยงไปขอพักทางฝ่ายแม่ชีสักหนึ่งคืนก่อน พรุ่งนี้ค่อยเข้ากราบหลวงพ่อ
เจ้าอาวาส ในใจก็นึกว่ามีหวังน้อยเต็มที ปรากฏว่าตลอดคืนนั้น เธอคิดอย่างหนักด้วยความ
ระทม ผสมกับความระทึกใจ คิดถึงกาลพรุ่งนี้จะเข้าไปขออยู่พึ่งพิง คิดถึงการออกบวชของเธอ
อันแสนจะโยกโย้ยากเย็นที่แล้วมาแต่หลังเห็นจะมาคว้านํ้าเหลว เพียงมาติดขัดแค่ใบหน้าเท่านี้
เองละหรือ? เสร็จแล้ว เธอก็นึกออก เธอได้ใช้เหล็กเผาไฟจนแดงนาบไปตามใบหน้าเพื่อให้
เป็นแผลเป็นลบความงามเสียสิ้น เธอจึงได้กลายเป็นผู้อัปลักษณ์ไปในฉับพลัน สมใจตัว แล้วก็
โล่งใจ ที่ขจัดอุปสรรคชิ้นที่ตนหวงแหนนั้นเสียได้คืนนั้นแปลว่ามีความชื่นชมสุขใจไปตลอดคืน
ขณะนั้นความบันดาลใจ เกิดเร้าอารมณ์กวีของเธอให้เขียนออกจากใจ มาเป็นกาพย์ได้
อย่างไพเราะ (ไพเราะในภาษาญี่ปุ่น) แปลได้เป็นว่า
“ครั้งเราสนองพระโอษฐ์ ในพระบรมจักรพรรดินี ณ วังหลวงอยู่นั้นเรามีแต่เผากํายานและ
ของหอม อบรํ่าพัสตราภรณ์เพื่อให้สวมใส่ผ่องผิว รมย์รื่นชื่นนาสาครั้นมาบัดนี้เล่า ตกอยู่ในที่
ยากไร้ทั้งทรัพย์สิน ญาติพี่น้อง และบ้านเรือนที่พักพิงเราได้เผาเหมือนกัน แต่เผาผิวหน้าของ
ตนเองเพื่อขอเข้าศึกษาในสํานักเซ็น”
พอรุ่งขึ้นวันใหม่ ถึงเวลาเธอเข้าไปกราบเท้าหลวงพ่อ อาจารย์ฮากุโอะ ขอเข้าเป็นศิษย์ใน
สํานัก เธอก็แทบไม่เชื่อหูของตนเองอีกครั้งหนึ่ง เธอพบว่าได้คิดผิดอย่างใหญ่หลวง ผิดครั้งนี้
ไม่ใช่หลวงพ่อไม่อนุญาตให้อยู่ แต่...กล่าวคือ ได้มีการสอบถามเมื่อหลวงพ่อเห็นใบหน้าถูกไฟ
ลวกพุพองไปหมดดังนั้นถามไถ่ก็ได้ทราบต้นเหตุถึงกับมีการเผาหน้าตาให้เสียโฉมไปตลอด
ชาติ เพราะไปโทษว่าเป็นด้วยเพศแห่งความสวยงาม หลวงพ่ออาจารย์กล่าวว่าทําอย่างนั้นยัง
ไม่ถูก
“เซ็นแท้จริงนั้น ไม่มีความเป็นผู้หญิงผู้ชาย ความเป็นหญิงเป็นชายนั้น มีทีหลังจากการ
ปฏิสนธิในครรภ์มารดา แต่จิตแท้ๆ นั้น มันก่อนการมาได้ชาติความเกิดนั่นเสียอีก ความที่คิดไป
ว่าตนเป็นเพศนั้น เพศนี้นั้นยังเป็นมายา สัตว์ทั้งหลายถูกกักขังอยู่ด้วยเรื่องนี้”
ทันทีที่แม่ชีโยเน็นรับฟังอยู่แล้ว ก็โพลงกระจ่างขึ้นโดยนัยเป็นอันมาก บัดนี้เธอมิได้ชื่น
ชอบในความงาม ทั้งไม่ชอบชื่นในความที่ไม่มีความงาม เธออยู่เหนือความที่ต้องเป็นคนมีเพศ
หญิงเพศชาย ซึ่งเคยทําให้เธอทุกข์ทรมานมาตลอดอายุขัย ไม่น้อยกว่า 30 ปี บัดนี้เธอได้เป็น
ส่วนหนึ่งในสํานักเซ็น อันมีหลวงพ่อฮากุโอะประจําสั่งสอนศิษย์อยู่
หลวงพ่อฮากุโอะเป็นอาจารย์ที่ดุ ปฏิบัติต่อศิษย์ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชายเหมือนอย่างเดียวกัน
หมดในเวลาปฏิบัติซาเซ็น (คือนั่งกัมมัฏฐานเป็นแถว หันหลังเข้าฝา) ในศาลาโรงธรรม ท่านจะ
Page 3
ใช้วิธีใส่รองเท้าหญ้า ค่อยๆ เดินตรวจตราไปมา ไม่ว่าใคร ถ้าท่านเห็นว่าควรปลุกธรรมชาติแท้
ภายใน ย่อมหวดด้วยไม้เขี่ยถ่านอย่างไม่ปรานีปราสัย ไม่มีการตึงเครียดกับคนเพศนั้น แล้วมา
พะนอเอาอกเอาใจคนเพศนี้ ความเป็นเช่นนี้ แทนที่จะทําให้หาศิษย์อยู่ด้วยยาก กลับเป็นที่
ชมชอบบูชา ใครๆ ก็นิยมกันมารับการฝึกจากท่านอาจารย์ ข้อนี้ก็เป็นที่ถูกอัธยาศัยภาวนาของ
แม่ชีโยเน็นเป็นที่ยิ่ง แม่ชีโยเน็นอยู่กับสํานักอาจารย์เป็นเวลา 13 ปี ได้รับยกย่องให้เป็นผู้ช่วย
เหลือนักปฏิบัติคนอื่นๆ
หลังจากนั้นมา ในชีวิตบั้นปลาย แม่ชีโยเน็นได้ไปหลีกเร้นพักอยู่ตามภูเขา แขวงจังหวัดบัน
ชู มีผู้สนใจไปขออาศัยอยู่ด้วย เธอจําต้องเป็นผู้นําแม่ชีด้วยกันจํานวน 200 คน ปกครองให้
ความอบอุ่นทั่วถึง จนกระทั่งได้ดับขันธ์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2406 อดีตนางสาวโลกของเรา
ได้เป็นแม่ชีแก่ๆ ที่เต็มอยู่ด้วยศานติสุขตลอดกาล ด้วยวิญญาณที่เคยเป็นกวีใกล้จะสิ้นลม เธอก็
ยังได้เขียนคําร้อยกรองอันเพราะพริ้ง ทิ้งไว้เป็นโกอานให้คนทั้งหลาย อันเป็นคําประพันธ์ทั้งลึก
และไพเราะ เป็นที่ยกย่องของพวกเซ็นมาจนกระทั่งบัดนี้ ถ้อยคํานั้นมีใจความเป็นไทย ซึ่งฟัง
อาจจะไม่ลึกและไพเราะ ว่าดังนี้ :
“ฉากความเลื่อนไหล แห่งฤดูใบไม้ร่วง ปีแล้วปีเล่าเวียนมาประจักษ์ต่อตา ถึง 66 ครั้งแล้ว
ตูก็ได้เพรียกพรํ่า ถึงปภัสสรของแสงแห่งเดือนเพ็ญมามากพอแล้วพวกเธอ อย่ามาซักมาถาม
อีกเลยเพียงให้เธอไปเฝ้า เงี่ยฟังให้ได้ยินเสียงใบไผ่ ใบสีดา เมื่อยามลมไม่มีพัด ดูที”
นิทานก็จบ
จากเรื่องราวที่เล่ามานี้ เราท่านจะเห็นได้ว่า โลกเรานี้ไม่มีอะไรที่ชายทําได้แล้วจะห้าม
ไม่ให้ผู้หญิงพยายามให้ได้เหมือนเช่นนั้นบ้าง ยิ่งเรื่องที่มาเกี่ยวกับทุกๆ คน ตรงกันหมด เช่น ความ
ทุกข์ในชีวิตนี้แล้ว ความเป็นหญิงเป็นชายยิ่งมิได้เป็นเหตุทําให้เกิดความแตกต่างเหลื่อมลํ้ากันเลย
ขอแต่ว่าแต่ละคนควรจะรู้จักตัวของตัวเองให้ดี ว่าแค่ไหน เท่าไหร่สําหรับตน จะไปเอาอย่าง ทํา
ตามๆ กัน ด้วยลําพังแรงศรัทธาในศาสนานั้นไม่ได้อาจไม่ถูก ไม่เหมาะ ไม่สม ก็เป็นได้
พูดอีกทีก็คือ จะไปเอาอย่างสาวงามโยเน็นในเรื่องนี้ทุกคนไม่ได้หรอก ขอให้วิเคราะห์ดูเถิด
เธอไม่ได้สร้างเรื่องขึ้นเองแล้วคิดหาเหตุผลเข้ากับตัวเอง หรือเธอไม่ใช่ต้องการจะประชดตัวเอง
หรือใคร แล้วหนีออกบวช โลกธรรมและเหตุการณ์ในชีวิตของเธอ ที่ล้อมเธออยู่นั้นต่างหาก ที่ต้อน
เธอ และทํากับเธอซึ่งอยู่ในวัยที่ยังอ่อนยังเยาว์เหลือเกิน อายุไม่เท่าไหร่ก็ได้พบได้ผ่านเสียทุก
อย่าง นับแต่ได้สูงแทบจะเหินร่าบนชั้นฟ้า แล้วกลับตกวูบวาบมาอยู่ในฐานะยาจกอัปลักษณ์ซํ้าใน
ระหว่างนั้นก็มีละลอกกระแทกกระทั้น ถี่เหมือนคลื่นซัดไม่ลดละ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดของเธอ
หรือเป็นความจงใจของใครเลย แต่...เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ไม่มีอะไรที่สําคัญเกินไปกว่าที่เธอมีข้อ
ได้เปรียบ ได้เปรียบตรงที่เธอเป็นคนคิดเป็น ทุนข้อนี้แหละถ้าไม่มีอยู่แล้ว ต่อให้ลีลาชีวิตผันผวน
อย่างไร เธอก็คงจะเหมือนผู้หญิงอื่นส่วนมาก คือคิดหนักเหมือนกัน แต่คิดพันตัว เลยพ่ายแพ้!
ดูเอาเถิดท่านทั้งหลาย หากเป็นคนอื่น ที่ไม่ประสาต่อโลกทั้งยังเป็นคนด้อยทางวุฒิ
ความคิด เขาจะกระเสือกกระสนเหมือนปลาหมอตะเกียกตะกายจนเกล็ดแห้ง เช่นแม่ชีโยเน็นนี้ละ
หรือ ต่อให้มีชีวิตคนละ 10 ก็ยังไม่พอ ที่เขาจะคิดฆ่าตัวตายไปจนหมดทั้ง 10 โลกเรานี้ มันมีคนอยู่
ประเภทหนึ่งจริงๆ ที่กระทบเรื่องร้ายก็พ่ายต่อชีวิต ลี้หน้าจากความยุ่งยาก ด้วยการฆ่าตัวตาย หารู้
ไม่ว่า นั่นในทางธรรมะ เขาถือว่าเป็นฉากชีวิตที่มันเรียงหน้ากันเข้ามาลวงเอาคนเรา แต่ละคนๆ นั้น
ต่างหาก มันขึ้นอยู่ที่เราคนเดียวเท่านั้น ที่จะได้ใช้ฉากชีวิตที่มีเหตุการณ์เปลี่ยนไปๆ นั้นให้เกิดเป็น
ประโยชน์เพื่อคุณเบื้องสูง ยิ่งๆ ขึ้นไป
ฉะนั้น หากใครไม่สนใจธรรมะก็จนใจ! สุดที่จะช่วยได้! มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นแก่ชีวิต แทนที่มัน
จะมาผลักดุนให้เลื่อนชั้นตัวเอง คนพวกนี้กลับจะดัน ไม่เห็นหนทาง ถ้าจะให้คิดก็ต้องคิดผิด
พระพุทธเจ้า จัดคนประเภทแม่ชีโยเน็นนี้ ว่าเป็นชาติม้าอาชาไนย กล่าวคือเพียงชําเลือง
เห็นแค่เงาที่เขาเงื้อแส้ขึ้นเท่านั้น ก็รู้ว่าควรทําอย่างไรแค่ไหนเสียแล้ว ฉะนั้นพอเธอชนเข้ากับ
ปัญหาเงื่อนแรกโดยบังเอิญ เธอก็มีเรื่องที่จะปรารภเพื่อเริ่มขุดคุ้ยสาวสืบไปยังต้นตอของจริง
เหมือนบุคคลเลิกเสื่อขึ้น เพื่อค้นหาอะไรอย่างตื่นใจ แปลกตาต่อโลกทั้งมวลที่ตนเผชิญอยู่ เธอ
ออกบวชเป็นแม่ชี จึงไม่ใช่มีสาเหตุของอาการโรคจิต ความสํานึกส่วนลึกก็ไม่มีอะไรสับสนลวง
ตัวเองอยู่เลย, ตรงกันข้ามเมื่อคว้าได้เงื่อนอันแรกแล้ว เลยทําให้เหตุการณ์ที่คับขัน หรือ
Page 4
ข้อผิดพลาด ฉากต่อๆ มา กลายมาเป็น แบบเรียนเร็ว ให้แก่เธอไปจนหมดสิ้น นับว่าชีวิตเธอ เป็น
ชีวิตที่ควรยกขึ้นเป็นตัวอย่างของกุลสตรี ที่มีหลักเกณฑ์บูชาความคิด
ขอให้แน่ใจสักข้อหนึ่งว่า พระอริยเจ้าในพุทธศาสนาของเรานี้ มิใช่เป็นบุคคลที่อ่อน
ความคิด หรือไม่ต้องรู้จักอะไรที่เป็นกฎเกณฑ์เหตุผลของธรรมดาโลก เอากันว่าท่านแม้ไม่เปรื่อง
ปราชญ์อย่างปัญญาโลก แต่ก็ต้องไม่ถึงกับเป็นคนตายด้านต่อโลก ไม่นิยมความรอบรู้ทันบ้านทัน
เมืองเขา จนกระทั่งเดินไปตามถนนก็เถล่อถล่าให้รถชนโดยที่นึกว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้ก็หาไม่
ท่านยังต้องเป็นผู้รู้แจ้งโลกอยู่ตามขั้นตามภูมิ ตามที่ตนได้กระทําผ่านแบบฝึกหัดมาแล้ว
อย่างจะเห็นได้ในกรณีของแม่ชีโยเน็นนี้ แม้จะมีวิถีชีวิตสุดสายได้ฉับพลัน ในเวลาเพียงอายุไม่
เท่าไหร่ แต่เธอต้องไต่จากเหตุการณ์ในชีวิตมามากและครบถ้วน ยิ่งกว่านั้นก็ยังต้องอาศัยอาจารย์
ต่ออีกถึง 13 ปี ฉะนั้นในสมัยนี้ หากจะมีใครหวังจะเร่งด่วน ลัดตรงในทางปฏิบัติธรรมอย่างไร โดย
ขอข้ามไม่ต้องรู้โลกมาเป็นลําดับ ย่อมเป็นไปไม่ได้เรื่องที่จะมาอ้างว่าได้เข้าปฏิบัติหลับตาเท่านั้น
เท่านี้วันแล้ว ก็เสร็จกิจอย่างนี้จะไม่มีในพุทธศาสนา เพราะเรื่องชีวิตจริงนี้ ไม่ใช่เที่ยวทําอะไรให้
ครบๆ ในเวลาเท่านั้นเท่านี้ ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว แต่ต้องเพียรทําไปเป็นหลักสูตรระยะยาว ไม่ต้องไป
จํากัดว่า 10 ปี 20 ปี 30 ปี เพราะทุกระยะ จนกว่าจะตายสิ้นสุดร่างอันนี้ก็ให้เป็นไปเพื่อความอยู่เป็น
ผาสุกด้วย เพื่อความรู้รอบเป็นส่วนตัวด้วย, แล้วก็เท่านั้นเอง โลกนี้ สาธุชนทุกคนต้องอยู่ด้วย
ปัญญา และต้องทํากับมันอย่างใจเย็น ทุกสิ่งกว่าจะสิ้นจะสุดกันได้ต้องกินเวลา ต้องอาศัยกาลอายุ
สําหรับสังเกตสังกาศึกษา ถ้าเป็นไปตามหลักตายตัวเช่นนี้แล้ว พวกเราก็ไม่ควรจะมีคนอยากเป็น
อาจารย์ทั้งที่ตนก็ยังอ่อนต่อโลก ยังถูกลวงด้วยความคิดของตน จนประมาณตัวผิด ด้วยประการฉะนี้
จากหนังสือ เล่านิทานเซ็นเล่าเรื่องโดย อ.อภิปัญโญ เผยแพร่โดย ธรรมสภา
จากคุณ : ความรักครั้งสุดท้าย - [ 29 ก.พ. 47 ]
คัดลอกจาก http://www.dharma-gateway.com/
ผู้คัดลอกและเรียบเรียง hs6kjg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น