++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก : คิดผิดคิดใหม่ได้

โดย ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ 29 กันยายน 2553 15:34 น.
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ
เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก

กระทรวงศึกษาธิการกำลังปวดหัวกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กนัก เรียนลดลงมากขึ้นทุกวัน โดยสาเหตุหนึ่งมาจากปริมาณการเกิดของเด็กในชุมชนลดลง และอีกประการหนึ่งผู้ปกครองเลือกส่งลูกไปเรียนที่โรงเรียนขนาดใหญ่หรือไม่ก็ โรงเรียนในเมืองที่มีความพร้อมมากกว่า

หากไปดูหมู่บ้านแถบชานเมืองตอนเช้าจะมีรถตู้รับส่งเด็กนักเรียนเข้า ไปเรียนในเมือง ตอนเย็นก็ไปรับกลับบ้าน ค่ารถเดือนๆ หนึ่งมิใช่น้อย ค่าเล่าเรียนก็สูงกว่า ค่ารถรับส่ง ค่าอาหารการกิน ค่าใช้จ่ายแพงกว่า บวกกับค่าไปกวดวิชาอีกหนักหนาสาหัสทีเดียว แต่พ่อแม่ก็ต้องยอมจ่ายเพื่อลูกจะได้มีโอกาสในการแข่งขันสอบเอนทรานซ์เข้า มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้

ยังไม่ต้องพูดกันว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะมีการมีงานทำหรือไม่ จะมีชีวิตที่ดีหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีคำตอบ คำถามจึงอยู่ที่ว่าโรงเรียนขนาดเล็กที่เด็กค่อยๆ ลดจำนวนลงจะมีทางออกอย่างไร

เท่าที่ทราบกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายออกมาแล้วว่าต้องยุบ โรงเรียนขนาดเล็กเพราะไม่คุ้มต่อการลงทุน โดยปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าข่ายถูกยุบมากถึงเกือบ 20,000 โรง

คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาบางท่านได้แสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชนว่าควร เร่งยุบโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อนำงบประมาณมาเพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการครู จะดีกว่า ซึ่งเหมือนเป็นการส่งสัญญาณให้เร่งยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

ทั้งนี้ก่อนที่ท่านๆ ทั้งหลายจะประกาศยุบ ลองย้อนทบทวนอดีตสักนิด จะพบว่าการก่อตั้งโรงเรียนแต่ละแห่งนั้นมิได้ตั้งกันอย่างง่ายดาย แต่เกิดจากความเรียกร้องต้องการของชุมชน มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้จัดตั้งโรงเรียนในชุมชน ในหลายแห่งชาวบ้านมาช่วยกันหาไม้มาช่วยกันก่อสร้างโรงเรียน ชุมชนสนับสนุนโรงเรียนมาโดยตลอดเพื่อให้โรงเรียนเป็นที่ประสิทธิประสาทวิชา ความรู้ให้ลูกหลานได้มีปัญญา เก่งกล้าสามารถ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในอนาคต

แต่ปัจจุบันกลับจะมีการให้ยุบโรงเรียนเพียงเพราะจำนวนเด็กลดลง ดังเสียงสะท้อนถึงความน้อยใจของผู้นำชุมชนที่ว่า “แต่พอเด็กลดลงทางกระทรวงฯ ก็มีนโยบายยุบโรงเรียนโดยไม่มีการปรึกษาหารือให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจแม้แต่น้อย”

อีกทั้งยังไม่พิจารณาว่าการยุบโรงเรียนนั้นจะสร้างผลกระทบมากมายตาม มาจากการที่เด็กต้องเดินทางไปเรียนไกลขึ้น ยิ่งถ้าเป็นชั้นประถมต้นๆ พ่อแม่ต้องไปรับไปส่งหรือต้องเสียค่ารถรับส่งเพิ่มขึ้นอีก หากเป็นชุมชนห่างไกลฤดูฝนเด็กเดินไกลๆ เสื้อผ้า หนังสือเปียก เจ็บป่วย เวลาที่เด็กจะอยู่บ้านช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้านก็น้อยลง ความปลอดภัยในการเดินทางก็ลดลง และเด็กต้องปรับตัวกับโรงเรียนใหม่ที่ไม่ใช่ชุมชนตนเอง ด้านพ่อแม่ต้องคอยกังวลห่วงใยลูกสารพัด

และผลกระทบที่สำคัญมากคือการไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางนโยบายที่มีผลกระทบต่อวีชีวิตโตยตรง

ด้วยเหตุนี้ นโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจึงเป็นการสวนทางกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติปี 2542 และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการจัดการ ศึกษา

สภาการศึกษาทางเลือกที่เป็นการรวมตัวกันของโรงเรียน สถาบัน องค์กร และกลุ่มการศึกษาทางเลือกอันหลากหลายทั่วประเทศได้มีการประชุมใหญ่สมาชิกสภา การศึกษาทางเลือก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา จึงพิจารณาและมีมติคัดค้านนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

กล่าวคือไม่ควรมีการตั้งธงว่าต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็ก และเสนอให้มีนโยบายที่สร้างสรรค์โดยให้องค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยจัดให้มีกระบวนการปรึกษาหารือระหว่างภาครัฐ ผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน เพื่อร่วมกันหาทางเลือกในการจัดการศึกษาอย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพของแต่ ละพื้นที่ โดยทางสภาการศึกษาทางเลือกพร้อมที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนชุมชนในการจัดการ โรงเรียนขนาดเล็กจากฐานประสบการณ์ที่มีกันมาอย่างหลากหลายเพื่อให้เกิดการ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างเต็มศักยภาพของชุมชน และพลังความร่วมมือของภาคีองค์กรสนับสนุนต่างๆ ที่เห็นความสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา

ทั้งนี้ ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีนโยบายใหม่ที่สร้างสรรค์ อย่างแรกคือการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อ วิถีชีวิตตนเอง นี่เป็นหลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน อันดับต่อมาคือการพัฒนาความเข้มแข็งองค์กรชุมชนที่ดึงพลังทุนทางสังคมที่มี อยู่มากมายในชุมชนท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาให้ลูกหลานเกิดการ พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน และที่จะเกิดแน่นอนคือนวัตกรรมการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับแต่ละบริบทพื้นที่ ซึ่งสามารถนำไปขยายผลต่อยอดออกไปได้อีก

ดัง นั้น จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องหยุดทบทวนการตัดสินใจใหม่ และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส สร้างการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ก่อนที่จะสายเกินกาล

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น