++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ป้องกันอย่าให้เป็นไข้เลือดออกกันนะ

วิธีรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเบื้องต้น

ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออกและไม่มีวัคซีนป้องกันการรักษาโรคนี้เป็นแบบการรักษาตามอาการและประคับประคอง ซึ่งจะได้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก

การรักษา มีหลักปฏิบัติดังนี้

1. ในระยะไข้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในรายที่ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว อาจให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน และเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราวเวลาที่ไข้สูงเท่านั้นเนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ไข้ก็อาจขึ้นสูงได้อีก จนกว่าเชื้อไวรัสจะหมดจากกระแสเลือด ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันขึ้น (Antibody)
2. ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียนทำให้ขาดน้ำและขาดเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ
3. จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ภาวะช็อกมักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลง หรือภายใน 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลด มักเกิดประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย ควรแนะนำให้พ่อแม่ทราบอาการนำของช็อก ซึ่งอาจจะมีอากาซึม เบื่ออาการ ไม่รับประทานข้าว หรือดื่มน้ำติดต่อกันหลายวัน อาจมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา หรือมีอาการปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ควรแนะนำให้รีบส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการเหล่านี้
4. เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริตและอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริตเป็นระยะ ๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลงและฮีมาโตคริตเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย
5. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัดให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะ ๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลงตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการหรือแสดงอาการช็อก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถึงแม้อาการไม่มากก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา

การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ กำจัดหรือลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพยายามหาทางป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด

โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ ควรปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อนอะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าใปวางไข่ได้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ หมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็ก ๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ ใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานกระถางต้นไม้นั้น เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกระถางต้นไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก 7 วัน
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้ การนำยางรถยนต์เก่ามาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แทนการวางทิ้งไว้เฉย ๆ จะช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ดี เช่น นำมาทำเป็นที่ปลูกต้นไม้ ที่ปลูกพืชผัก สวนครัว เป็นที่ทิ้งขยะ เป็นเก้าอี้ เป็นฐานเสา เป็นรั้ว เป็นชิงช้า หรือทำเป็นที่ปีนป่ายห้อยโหนสำหรับเด็ก ๆ แต่จะต้องดัดแปลงยางรถยนต์เก่านั้นให้ขังน้ำไม่ได้ หากจะทำเป็นที่ทิ้งขยะ เป็นชิงช้าหรือเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น จะต้องเจาะรูให้น้ำระบายไหลออกไปได้ง่าย หากจะทำเป็นรั้วก็ควรฝังดินให้ลึกพอที่ด้านล่างของยางรถยนต์นั้นไม่สามารถขังน้ำได้ ฯลฯ
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะ ๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่มืด ๆ อับ ๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตุว่ารดน้ำมากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า พยายามเทน้ำทิ้งบ่อย ๆ
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ เลี้ยปลางกินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาแกมบูเชีย ปลากัด ปลาดสอด ปลาหัวตะกั่ว ฯลฯ โดยใส่ไว้ในโอ่งหรือบ่อซีเมนต์ที่ใส่น้ำสำหรับใช้ (ไม่ใช่สำหรับดื่ม) ปลาเหล่านี้จะช่วยกินลูกน้ำในน้ำ เป็นการช่วยควบคุมยุงลายได้ทางหนึ่ง
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ ใช้ทรายอะเบทในน้ำ ทรายชนิดนี้เป็นทรายเคลือบสารเคมีในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต ใช้ใส่ในน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย อัตราส่วนที่ควรใช้คือ ทรายอะเบท 1 กรัมต่อ น้ำ 10 ลิตร ทรายอะเบทนั้นได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าปลอดภัยสำหรับการใส่ในน้ำดื่มแต่มีข้ออ่อนตรงที่คาคาค่อนข้างแพง และยังหาซื้อได้ยากจึงควรใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ ใช้เกลือแกง น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก ซึ่งเป็นของคู่บ้านคู่ครัวอยู่แล้ว เอามาใช้ในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จานรองขาตู้กับข้าว

ป้องกันตนเองจากยุงลาย

เมื่อโดนยุงลายจู่โจมเข้าให้แล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำ คือ หาวิธีต่าง ๆ ที่จะป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ซึ่งทำได้หลายวิธี

o ควรกรุหน้าต่าง ประตู และช่องมด้วยมุ้งลวดตรวจตราซ่อมแซมฝาบ้าน ฝ้าเพดาน อย่าให้มีร่อง ช่องโหว่หรือรอยแตก เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาในบ้าน
o เวลาเข้า - ออกควรใช้ผ้าปัดประตูมุ้งลาดก่อน เพื่อไล่ยุงลายที่อาจจะเกาะอยู่ตามที่ต่าง ๆ
o เก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะยุงลายชองไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่าง ๆ ที่รก ๆ
o ขณะอยู่ในบ้านควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างเพียงพอ
o ยุงลายจะชอบกัดตอนกลางวัน และมักเป็นช่วงที่คนหลับ ดังนั้นเวลาหลับควรกางมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด เปิดพัดลมส่วยเบ่า ๆ ก็ช่วยไล่ยุงได้หรือถ้าหากที่บ้านมียุงมากจริง ๆ ก็ต้องพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้าสวมใส่สักหน่อย ซึ่งควรใส่กางเกงขายาว เสื้อมีแขน เพื่อให้เหลือพื้นที่เปล่าเปลือยและเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดน้อยที่สุด
o ใช้ยากันยุง ซึ่งมีวางขายอยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น..

ยากันยุงชนิดขด ชนิดแผ่น ชนิดน้ำ ซึ่งต้องใช้ความร้อนช่วยในการระเหยสารออกฤทธิ์ ตอนนี้ในท้องตลาดมีวางขายอยู่หลากหลายยี่ห้อมาก

ยากันยุงชนิดใช้ทาผิว ซึ่งมีทั้งชนิดครีม โลชั่น แป้งสารออกฤทธิ์หลักในผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นสารเคมีจำพวก deet และสารสกัดจากพืช

การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มทาผิวที่มี deet เป็นสารออกฤทธิ์หลักนี้ ก่อนซื้อต้องพิจารณาว่ามีสารออกฤทธิ์มากน้อยเพียงใด ผู้ใหญ่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี deet อยู่ระหว่าง 15-20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเด็กไม่ควรเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ และต้องใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ข้างกล่องอย่างเคร่งครัด ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ห้ามทาบริเวณตา (บางยี่ห้อก็ห้ามทาบริเวณผิวหน้า) ผิวที่มีรอยถลอกหรือมีแผลไม่ควรทาซ้ำในช่วงเวลาสั้น ๆ (ส่วนใหญ่ทางครั้งหนึ่งจะกันยุงได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง) ไม่ควรใช้ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ไม่ควรใช้กับแม่ตั้งครรถ์และผู้สูงอายุ นอกจากนี้ไม่ควรทายากันยุงที่มือเด็กเพราะเด็กอาจเผลอขยี้ตาหรือหยิบจับอาหารใส่ปาก ซึ่งจะทำให้สารเคมีเข้สู่ร่างกาย

หลักทายากันยุงแล้วพบว่ามีอาการแพ้ เช่น เป็นผื่น ผิวแดง หรือรู้สึกร้อน ต้องหยุดใช้ทันที ล้างผิวบริเวณที่ทาด้วยน้ำกับสบู่ แล้วรีบไปพบคุณหมอพร้อมนำยากันยุงที่ใช้นั้นไปด้วยเพราะ deet อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ หากใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี deet ผสมอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก (เกิน 30 เปอร์เซ็นต์) และใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ deet จะเป็นอันตรายหากกินเข้าไป บางรายอาจมีอาการทางสมอง ชัก และเสียชีวิตได้ การสูดดมไอระเหยของ deet เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการวิงเวียน เพราะเหตุนี้จึงมีผู้ผลิตยากันยุงปลอด deet โดยใช้สารอื่น ๆ โดยเฉพาะสารที่สกัดได้จากพืช ที่แม้จะไม่ประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้ดีเท่ากับ deet แต่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้มากกว่า เช่น ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส กระเทียม และมะกรูด ฯลฯ ซึ่งตอนนี้ก็หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด

ยาฉีดไล่ยุงชนิดกระป๋อง ที่มีวางขายนั้นมีทั้งแบบที่เป็นกระป๋องทรงกระบอกอัดน้ำยาเคมีสำหรับฉีดพ่นได้ทันทีเมื่อใช้หมดแล้วไม่สามารถเติมน้ำยาเคมีใหม่ได้ และแบบที่เป็นกระป๋องสี่เหลี่ยม ซึ่งต้องเติมน้ำยาเคมีลงในกระบอกฉีดและผู้ใช้ต้องสูบฉีดน้ำยาในขณะพ่นด้วยตัวเอง เมื่อน้ำยาเคมีหมดก็สามารถเติมน้ำยาใหม่ได้

ปัจจุบันสารเคมีกำจัดยุงมีทั้งชนิดสูตรน้ำมันและชนิดสูตรน้ำ ซึ่งชนิดสูตรน้ำจะปลอดภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อมมากกว่า รวมทั้งไม่ทำให้บ้านเรือนเปรอะเปื้อนด้วย

กำจัดยุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า มีทั้งชนิดที่เป็นกับดักไฟฟ้า ใช้ไฟบ้าน 220 โวลต์ โดยหลักการคือใช้แสงไฟล่อให้ยุงบินเข้าไปหากับดัก เมื่อยุงบินไปถูกซี่กรงที่มีไฟฟ้าจะถูกไฟฟ้าช็อตตาย

กำจัดยุงไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ มีรูปร่างคล้ายไม้เทนนิสแต่แทนที่จะเป็นเส้นเอ็นก็เป็นซี่ลวด ซึ่งเมื่อเปิดสวิตช์ก็จะมีกระแสไฟฟ้าผ่าน ผู้ใช้ต้องโบกให้ซี่ลวดถูกตัวยุง ยุงจะถูกไฟช็อตตาย

อย่างไรก็ตาม การกำจัดยุงลายเปรียบเหมือนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการลดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น