++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปลุกกระแสทำนาแนวใหม่ มมส.นำนัก นศ.ทำนาโยน-ลงแขกดำนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 สิงหาคม 2553 09:47 น.
มหาสารคาม - มหาวิทยาลัยมหาสารคามปลุกกระแสวิธีปลูกข้าวแบบใหม่ด้วยการทำนา “โยนกล้า” ช่วยป้องกันข้าววัชพืชและเพลี้ยกระโดด ชี้ข้อแตกต่างทำนาทั่วไป ลดต้นทุนการผลิตกว่าร้อยละ 50 พร้อมนำนิสิตลงแขกดำนา สร้างประสบการณ์และความสมานฉันท์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับโรงเรียนมหาวิชานุกูล และเกษตรกรผู้บุกเบิกการทำนาโยน ซึ่งเป็นวิธีการทำนาแบบใหม่ คือการโยนต้นกล้า ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกรกลุ่มเล็กๆ เนื่องจากเป็นนวัตกรรมการทำนาที่ช่วยป้องกันปัญหาการเกิดข้าววัชพืช และการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถทำนาได้ต่อเนื่องปีละ 3-4 ครั้งต่อปี ในเขตชลประทาน

โดยไม่ต้องใช้สารเคมีทุกชนิด ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ซึ่งนับเป็นทางเลือกใหม่ของการทำนาแบบยั่งยืน และทำให้อาชีพชาวนาเกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น การทำนาโยนจะช่วยประหยัดปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกหลายเท่าตัว พื้นที่นา 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเพียง 5 กิโลกรัม ได้ผลผลิต 880 กิโลกรัม แต่การทำนาหว่านน้ำตมจะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวถึง 30 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ผลผลิต 780 กิโลกรัม

อีก ทั้งการทำนาโยนยังช่วยประหยัดเวลามากกว่านาดำ เพราะสามารถโยนต้นกล้าได้วันละไม่ต่ำกว่า 5 ไร่ต่อคนงาน 1 คน ขณะที่การทำนาดำได้วันละ 1-2 งานต่อคนงาน 1 คน ประหยัดค่าแรงงานวันละ 1,500 บาท หากคำนวณค่าใช้จ่ายทุกกระบวนการผลิต การทำนาโยนจะลดต้นทุนได้มากกว่า ร้อยละ 50 ของการทำนาทั่วไป

แต่ก็มีข้อจำกัดในขั้นตอนการเตรียมเพาะกล้าบนถาดหลุม และสามารถทำได้เฉพาะในพื้นที่ควบคุมน้ำได้ ซึ่งเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานปลูกข้าวด้วยวิธีนี้ได้ 3-4 ครั้งต่อปี

นอกจากนี้ยังได้นำนิสิตลงแขกดำนา เพื่อให้นิสิต ได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง นอกเหนือจากการเรียนภาคทฤษฏีในห้องเรียน อีกทั้งเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งการจัดโครงการครั้งนี้ มีอาจารย์ และนิสิต ร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น