++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่องเสียดินแดน…ปัญหาที่คนไทยต้องเข้าใจ

โดย สิริอัญญา 5 สิงหาคม 2553 15:19 น.
บ้านเมืองของเรานี้แปลกมาก ไม่ยอมรับความจริงกัน แม้ว่าอดีตนายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย ได้ออกมาเตือนไปหยกๆ ว่าต้องกล้าหาญที่จะพูดความจริง แต่ก็ยังมีการโกหกหลอกลวงอยู่ร่ำไปจนผู้คนสับสนว่าเรื่องราวและข้อเท็จจริง เป็นอย่างไรกันแน่

นั่นคือปัญหาการเสียดินแดนแก่เขมร ที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งได้ยืนยันมั่นเหมาะว่า ไม่มีการเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ในขณะที่ภาคประชาชนยืนยันว่าเราเสียดินแดนไปแล้ว และเร่งให้รัฐบาลเอาดินแดนของเราคืนมา

เมื่อสับสนกันอยู่เช่นนี้จึงเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีภายในชาติ พวกหนึ่งก็เข้าข้างความเห็นหนึ่ง อีกพวกหนึ่งก็เข้าข้างอีกความเห็นหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าปรองดองจึงเป็นเพียงวาทกรรมหรือมายาภาพทางการเมือง ในขณะที่ความจริงนั้นได้เกิดความแตกแยกแตกสามัคคีเพิ่มขึ้น

จน กระทั่งทำให้ชาติบ้านเมืองอ่อนแอลงมากกว่าครั้งไหนๆ ซึ่งจะปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ไม่ได้ โดยเฉพาะปัญหาการเสียดินแดนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ของชาติบ้านเมือง จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความรู้ ความเห็นให้ตรงกันทั้งแผ่นดิน

ทุกผู้คนจะต้องถือเอาชาติบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ไม่พึงยึดถือเอาประโยชน์ตน ประโยชน์พวก ประโยชน์พรรคเป็นใหญ่กว่าประโยชน์ของชาติก็จะขจัดปัญหาความแตกแยกแตกสามัคคี ในเรื่องนี้ไปได้เปราะหนึ่ง

ดังนั้นวันนี้จึงต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้กันให้ถ่องแท้ เพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นภายในชาติ จะได้เป็นกำลังอำนาจแห่งชาติในการปกปักรักษาชาติบ้านเมืองสืบไป

เรื่องแรกที่จะต้องทำความเข้าใจคือการเสียดินแดนนั้นเสียได้โดยลักษณะใดบ้าง?

คำตอบก็คือ การเสียดินแดนให้กับต่างชาตินั้นจะเสียไปโดย 2 กรณี คือ

กรณีที่หนึ่ง ดิน แดนถูกต่างชาติเข้ารุกรานยึดครองและไม่สามารถหรือไม่ยอมผลักดันขับไล่ผู้ รุกรานออกจากดินแดนได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ กรณีนี้เรียกว่าการเสียดินแดนโดยพฤตินัย ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการเสียดินแดนโดยนิตินัยในภายภาคหน้า

ยก ตัวอย่างหมู่เกาะสแปรตลีย์ซึ่งเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลายประเทศที่ต่างก็อ้าง ความเป็นเจ้าของ แต่ในทางพฤตินัยนั้นประเทศจีนถือว่าเป็นดินแดนของตน และได้เข้ายึดครองต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน กระทั่งได้ตั้งเป็นหน่วยงานของกองทัพหน่วยหนึ่งในพื้นที่นั้นไปแล้ว

นั่นหมายความว่าโดยพฤตินัยประเทศจีนได้เป็นเจ้าของอธิปไตยเหนือหมู่ เกาะ สแปรตลีย์ ส่วนชาติอื่นที่อ้างสิทธิก็ได้แต่โหวกเหวกโวยวายไม่ต่างกับเสียงนกเสียงกา ซึ่งไม่มีคุณค่าทางความเป็นจริงแต่ประการใดเลย

ในปัญหาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหารนั้น นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ประจำจำนวนหนึ่งได้หลอกลวงคนไทยตลอดมาว่า ไทยยังครอบครองเป็นปกติสุขอยู่

แต่วันนี้ความจริงปรากฏชัดเจนแล้วว่าพื้นที่นั้นได้ถูกเขมรยึด ครองอย่างสมบูรณ์ไปแล้ว มีการตั้งวัด ตั้งชุมชนและตั้งกองทหารอย่างมั่นคงแล้ว หากไม่รีบผลักดันออกไปและปล่อยให้เวลาเนิ่นนานไปก็เป็นอันแน่นอนว่าการเสีย ดินแดนโดยพฤตินัยได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ต่อไป

คงเหลือแต่ว่าบรรดานักโกหกหลอกลวงคนไทยจะรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างไร

กรณีที่สอง การ เสียดินแดนโดยทางนิตินัย ได้แก่การยอมรับนับถือหรือรับรองโดยนานาชาติว่า ดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นดินแดนของชาติใดชาติหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการรับรองโดยองค์การสหประชาชาติหรือองค์กรชำนัญใดๆ ในองค์การสหประชาชาติหรือโดยคณะกรรมการมรดกโลก

ปัญหาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหารอันเป็นดินแดนของไทยนั้น เขมรได้นำไปขอขึ้นทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกร่วมกับตัวปราสาท ถ้าประเทศไทยไม่ทำหน้าที่ ไม่คัดค้าน ไม่โต้แย้ง ไม่ว่าโดยการเพิกเฉยหรือโดยการรับรองสนับสนุนเขมรด้วยประการใดๆ ก็จะเป็นหลักฐานเกื้อกูลต่อเขมร

และเมื่อใดที่คณะกรรมการมรดกโลกรับเอาดินแดนส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของมรดกโลกซึ่งเป็นของเขมรแล้ว เมื่อนั้นเราก็จะเสียดินแดนโดยนิตินัยไปตลอดกาล

เรื่องที่สอง สิ่งที่เขมรเอาไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกนั้นคืออะไรบ้าง?

สิ่งที่เขมรนำไปขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

ส่วนแรก ได้แก่ ตัวปราสาทพระวิหารส่วนหนึ่ง โดยเขมรอ้างความเป็นเจ้าของโดยอาศัยคำตัดสินของศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 ซึ่งฝ่ายไทยหลอกลวงคนไทยด้วยกันเองว่ายังไม่มีการรับขึ้นทะเบียนส่วนนี้ แต่วันนี้ความจริงปรากฏชัดว่าได้รับขึ้นทะเบียนตัวปราสาทไปแล้วตั้งแต่ปี 2551 คนที่โกหกหลอกลวงต้มตุ๋นคนไทยจะรับผิดชอบอย่างไร

ส่วนที่สอง ได้แก่พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นดินแดนประเทศไทยและเขมรอ้างความเป็นเจ้าของ โดยอ้างแถลงการณ์ร่วมที่นายนพดล ปัทมะ ไปลงนามไว้โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ แล้วประเทศไทยไม่คัดค้าน ไม่โต้แย้งว่าแถลงการณ์ร่วมนั้นใช้ไม่ได้เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ

แม้ถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้คัดค้าน ทั้งๆ ที่เมื่อวันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2553 นายกรัฐมนตรีได้แถลงว่ารัฐบาลมีมติให้ผู้แทนไทยไปคัดค้าน ทั้งๆ ที่ผู้แทนไทยได้เดินทางล่วงหน้าไปก่อนแล้วเกือบ 10 วัน

นอกจากไม่คัดค้านแล้ว ยังไปลงนามในเอกสารประนีประนอมกับเขมรต่อหน้าประธานคณะกรรมการมรดกโลก ยินยอมว่าจะมีการดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนโดยอ้างมติที่ประชุมครั้งก่อนๆ ซึ่งเนื้อหาคือมติให้นำดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรนี้ไปบริหารจัดการเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก

เหตุที่ต้องเลื่อนการประชุมก็เพราะว่าขัดกับระเบียบการพิจารณาเนื่อง จากมีปัญหาความขัดแย้งจากการประท้วงคัดค้านของภาคประชาชนไทย และมีการเตรียมพร้อมทางด้านการทหารของทั้งสองฝ่ายในพื้นที่ ผู้อำนวยการยูเนสโกซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการนี้ได้ประท้วงและให้เลื่อน การประชุมออกไป

การ เลื่อนการประชุมนั้นจึงเป็นผลมาจากเหตุที่ผิดระเบียบการพิจารณาอันเกิดจาก การคัดค้านของภาคประชาชนโดยแท้ ไม่มีใครหน้าไหนที่จะอ้างเอาเป็นชัยชนะหรือผลงานของตนได้นอกจากประชาชน หาไม่แล้วเราก็จะเสียดินแดนทางนิตินัยไปแล้ว

เรื่องที่สาม ผลจากการไปลงนามประนีประนอมของผู้แทนไทยครั้งนี้เป็นอย่างไร?

เรื่องนี้ยังเถียงกันไม่เลิก แต่ที่ชัดเจนแล้วก็คือผู้แทนไทยไม่ได้คัดค้านแผนที่เขมรเสนอเอาดินแดนไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร ไปบริหารจัดการเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกของเขมร และยังยินยอมรับทราบด้วยว่าให้มีการดำเนินการต่อไปตามขั้นตอน

นี่คือการยอมรับโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่ายอมให้เขมรเอาดินแดนไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร ไปบริหารจัดการและเป็นส่วนหนึ่งของการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และทันทีที่มีการประชุมครั้งหน้า ถ้าไม่มีความขัดแย้งหรือสงครามเราก็จะเสียดินแดนอย่างถาวร

อย่างนี้แล้วยังจะมีหน้ามาแหกตาหลอกลวงคนไทยอีกว่าไม่เสียดินแดน! ช่างหน้าไม่อายแท้ๆ

เรื่อง ที่สี่ MOU 2543 ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำกับเขมร โดยอ้างว่าเป็นกรอบการเจรจาเพื่อปักปันเขตแดน เป็นมูลฐานหรือต้นเหตุที่จะทำให้ไทยเสียดินแดนอย่างมโหฬารเป็นครั้งประวัติ ศาสตร์หรือไม่?

ใช่! MOU 2543 เป็นกรอบการเจรจาและกรอบในการปักปันเขตแดนใหม่ แต่พูดกันไม่หมด การปกปิดเนื้อหาสาระสำคัญที่ควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนชาวไทยก็คือการโกหกหลอก ลวงชนิดหนึ่ง

อะไรคือสิ่งที่ปกปิดไว้และไม่ยอมพูดให้หมด? มีอยู่ 2 เรื่อง คือ

เรื่องที่หนึ่ง กรอบ การเจรจาตาม MOU 2543 นั้นเป็นกรอบการเจรจาภายใต้แผนที่เขมร ที่ได้รับการยอมรับและรับรองโดย MOU ฉบับนี้เป็นครั้งแรก และแผนที่เขมรดังกล่าวนี้ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว มีอัตราส่วน 1:200,000

จากแผนที่ของเขมรนี้ ดินแดนเขมรจะรุกลึกเข้ามาในดินแดนไทยตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานีเรื่อยไปทาง ใต้จนกระทั่งถึงจังหวัดตราด เป็นเนื้อที่ประมาณ 1,800,000 ไร่

ดังนั้นกรอบการเจรจาที่อยู่ภายใต้การยอมรับแผนที่ของเขมรจึงเป็นปฐม เหตุปฐมบทที่จะทำให้ไทยเสียดินแดนครั้งมโหฬารในครั้งนี้และจะส่งผลให้เสีย ดินแดนอาณาเขตในอ่าวไทยไปอีก 1 ใน 3 โดยรวมเอาแหล่งทรัพยากรก๊าซและน้ำมันที่มีมูลค่ามหาศาลของประเทศไทยไปด้วย

เรื่องที่สอง การปักปันเขตแดนภายใต้กรอบ MOU 2543 คืออะไร?

ก็คือการปักปันเขตแดนตามผลของกรอบเจรจาภายใต้แผนที่เขมร และปักปันเขตแดนโดยยึดแผนที่ของเขมรนั่นเอง การยอมรับแผนที่นี้คือการยกเลิกแนวเขตเดิมที่ถือสันปันน้ำเป็นหลัก ลบล้างสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงยอมเอาเสียมราฐ พระตะบองและศรีโสภณไปแลกเพื่อคงพื้นที่จันทบุรี ตราด และเกาะกูดเอาไว้

การรักษาเกาะกูดไว้ในครั้งนั้นก็เพื่อรักษาอ่าวไทยไว้ให้ประเทศไทย แต่เมื่อเสียเกาะกูดไปให้เขมรครึ่งหนึ่งตามแผนที่เขมรก็จะส่งผลให้เสีย พื้นที่อาณาเขตประเทศไทยในอ่าวไทยไป 1 ใน 3 ด้วย

ดัง นั้นในวันนี้พื้นที่จำกัด ก็ต้องทำความเข้าใจไว้แต่เพียงเท่านี้จะได้เลิกโต้เถียงหรือโกหกพกลมกันเสีย ทีหนึ่ง และต้องไม่ลืมว่าการทรยศชาติหรือขายชาตินั้นเป็นเรื่องที่ประเทศไทยไม่มีวัน ให้อภัยเป็นอันขาด!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น