++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิราศลอนดอน - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

            ประวัติ - แต่งภายหลังจดหมายเหตุราชฑูตไทยไปลอนดอน หมอบรัดเลย์ ขอซื้อลิขสิทธิ์เป็นเงิน ๔๐๐ บาท พุทธศักราช ๒๔๐๕ พิมพ์ครั้งแรกพุทธศักราช ๒๔๓๔
            ทำนองแต่ง - ใช้กลอนเพลง ตอนท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพ
            ข้อคิดเห็น - สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสไว้ว่า ผู้แต่งกลอนตลาดได้เสมอสุนทรภู่ มีเพียง ๒ คน คือ นายมีกับหม่อมราโชทัย  กลอนนิราศลอนดอนเกลี้ยงเกลา รื่นด้วยรสสัมผัสเข้าใจง่าย และมีกระบวนพรรณนาละเอียดลออไม่แพ้กลอนของสุนทรภู่ หม่อมราโชทัยพยายามหลีกเลี่ยงคำศัพท์ เว้นแต่วิสามานยนามซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงได้ แต่ก็ได้แปลงสำเนียงให้คุ้นหูคุ้นปากของคนไทยมากที่สุด และใช้สัมผัสเข้าช่วยให้ออกเสียงได้ง่ายไม่ขัดเขิน การเปรียบเทียบก็พยายามยกตัวอย่างที่คนไทยรู้จักดี แล้วมาเป็นแนวเทียบเคียง จึงทำให้อ่านเข้าใจแลเห็นภาพแจ่มแจ้ง ประการสำคัญ ที่สุด คือ หม่อมราโชทัยได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวอย่างตรงไปตรงมาไว้มาก เช่น ออกความเห็นว่าค่าครองชีพในลอนดอนสูง ผลไม้มีสู้เมืองไทยไม่ได้ และคนอังกฤษไม่นับถือพุทธศาสนาจึงพูดจาไม่ตรงความจริงได้ ข้อไม่เหมาะสมของนิราศเรื่องนี้มีอยู่บ้าง เช่น เกี่ยวกับจำนวนเลข บางแห่งกล่าวไว้เกินความจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น