++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

รายงานพิเศษ : นักวิชาการ (เสื้อแดง) อย่าอ้าง “เสรีภาพ” เพื่อทำลาย “สถาบัน”!!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
อมรรัตน์ ล้อถิรธร........รายงาน
      
       เมื ่อวานนี้ (4 ก.พ.) มีข่าว “อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์” นำทีมนักวิชาการ และประชาชนกว่า 1,500 คน เข้าชื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิก “กม.หมิ่นสถาบัน ม.112” โดยอ้างว่า เป็น กม.เผด็จการที่ลิดรอนเสรีภาพทางวิชาการในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งสอดรับกับคำประกาศของนักวิชาการที่ถูกมองว่าอยู่สายเสื้อแดงอย่าง “ใจ อึ๊งภากรณ์” ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน และม็อบเสื้อแดงที่ชูป้ายเย้วๆ โจมตี กม.ฉบับนี้ขณะให้กำลังใจ “จักรภพ-ใจ” ...ไม่ว่าเจตนาของผู้ที่ต้องการยกเลิก กม.ดังกล่าว จะเพื่ออะไรแน่ เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากคดีหมิ่นสถาบัน หรือเพื่อต่อไปจะได้หมิ่นสถาบันได้อย่างเสรีใช่หรือไม่ คงต้องไปฟังเสียงของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิก กม.ฉบับนี้ ที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศด้วย
      
   
      
       กระแสเรียกร้องให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ( ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงการอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี”) ถูกจุดและเคลื่อนไหวโดยกลุ่มคนเสื้อแดงและนักวิชาการสายเสื้อแดง ซึ่งเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ตำรวจนำตัวนายจักรภพ เพ็ญแข 1 ในแกนนำ นปช.และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สมัยรัฐบาล นายสมัคร ส่งฟ้องต่ออัยการฐานกล่าวปาฐกถาหมิ่นสถาบันที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศปร ะจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2550 ได้มีม็อบเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเดินทางไปให้กำลังใจ นายจักรภพ ด้วย พร้อมชูป้ายข้อความโจมตีกฎหมายหมิ่นสถาบันที่นายจักรภพกำลังถูกเล่นงานว่า “ม.112 กฎหมายเผด็จการ ล้าหลัง ทำลายเสรีภาพประชาชน”
      
       1 สัปดาห์ถัดมา (20 ม.ค.) ระหว่างที่ นายใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ สน.ปทุมวัน จากกรณีที่เขียนหนังสือเรื่อง “A Coup for the Rich”ซึ่งเข้าข่ายหม ิ่นสถาบัน ก็มีม็อบเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเดินทางไปให้กำลังใจ นายใจ เช่นกัน พร้อมชูป้ายโจมตีกฎหมายหมิ่นสถาบัน ม.112 ป้ายเดียวกับที่นำไปชูให้กำลังใจนายจักรภพก่อนหน้านี้
      
       ขณะที่ นายใจ ในฐานะผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ก็โจมตีกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน โดยกล่าวหาว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ม.112 เป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการและการแสดงออก พร้อมอ้างว่า ประเทศอื่นๆ ที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังไม่ใช้กฎหมายแบบนี้เลย ไม่เท่านั้น นายใจ ยังได้ประกาศจะล่ารายชื่อประชาชนให้ยกเลิกการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ด้วย พร้อมเผยว่า มี ส.ส.จากประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศอังกฤษ รวมทั้งนักวิชาการจากทั่วโลกกว่า 128 คน จะลงนามเรียกร้องให้การถอนฟ้องตนในคดีหมิ่นสถาบันด้วย
      
       ล่าสุด วานนี้ (4 ก.พ.) มีความคืบหน้าเรื่องการล่ารายชื่อเพื่อเสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นสถาบัน นำโดยนักวิชาการที่ถูกมองว่าอยู่สายเสื้อแดง เช่น นายนิธิ เอียวศรีวงศ์, นายสมเกียรติ ตั้งนโม มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ที่พยายามใช้ตำแหน่ง “ซี 8” ของตนขอประกันตัว “ดา ตอร์ปิโต” ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบันก่อนหน้านี้), นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายจอน อึ๊งภากรณ์ พี่ชาย นายใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประชาชนทั้งคนไทยและชาวต่างชาติร่วมลงชื่อประมาณ 1,500 ราย (ตัวเลขอ้างอิงของเว็บไซต์บางแห่งที่ดำเนินการล่าชื่อ)
      
       ทั้งนี้ ไม่เพียงการล่าชื่อจะเป็นไปเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นสถาบัน โดยอ้างว่า เป็นกฎหมายที่ทำลายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพทางวิชาการ และเสรีภาพทางความคิด แต่ยังเรียกร้องให้รัฐบาลยุติคดีต่างๆ ที่กลุ่มคนที่คัดค้านการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถูกดำเนินคดีอยู่ โดยผู้ล่าชื่ออ้างว่า คมช.แอบอ้างสถาบันเพื่อสร้างความชอบธรรมและปิดบังเจตนาเผด็จการของตนเอง รวมทั้งนำกฎหมายหมิ่นสถาบันมาใช้ในลักษณะที่คุกคามประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภ าพของประชาชน เช่น การดำเนินคดีนายจักรภพ เพ็ญแข, นายใจ อึ๊งภากรณ์, นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ที่สงวนสิทธิ์ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีตามความเชื่อของตนเอง, กรณี “ดา ตอร์ปิโต” ที่พูดพาดพิงสถาบัน รวมทั้งกรณีนายโจนาธาน เฮด นักข่าวบีบีซีประจำประเทศไทย (ที่เขียนบทความพาดพิงสถาบันซ้ำแล้วซ้ำเล่า) และนายแฮรี่ นิโคลายส์ อดีตนักข่าวและคอลัมนิสต์ชาวออสเตรเลีย (ที่ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญาฐานหมิ่นสถาบันเมื่อวันที่ 19 ม.ค.) ฯลฯ
      
       เมื่อนักวิชาการและประชาชนจำนวนหนึ่ง ซึ่งถูกมองว่า อยู่สายเสื้อแดงลุกขึ้นมาเข้าชื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นสถาบัน โดยอ้างว่า เป็นกฎหมายเผด็จการที่ทำลายเสรีภาพทางวิชาการ-การแสดงความคิดเห็นและการแสดง ออก เราลองไปฟังมุมมองของฝ่ายอื่นๆ ในสังคมที่เทิดทูนสถาบันกันบ้างว่า จะรู้สึกอย่างไรกับข้อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้
      
       พ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ มุ่งกิจการดี พนักงานสอบสวน สน.บางมด ที่พยายามปกป้องสถาบันด้วยการแจ้งความดำเนินคดี นายจักรภพ เพ็ญแข ฐานหมิ่นสถาบัน รวมทั้งแจ้งความดำเนินคดี นายโจนาธาน เฮด นักข่าวบีบีซีประจำประเทศไทย ฐานหมิ่นสถาบันอีก 2 คดี บอกว่า ไม่เห็นด้วยที่กับข้อเรียกร้องของนักวิชาการและประชาชนกลุ่มหนึ่งที่จะให้ยก เลิกกฎหมายหมิ่นสถาบัน เพราะประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์มายาวนานแล้ว หากไม่มีกฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ ก็จะยิ่งทำให้มีการพูดหมิ่นสถาบันหรือสร้างความเสื่อมเสียแก่สถาบันมากยิ่งข ึ้น พ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ ยังชี้ด้วยว่า ประเทศอื่นที่มีพระมหากษัตริย์ก็ยังมีกฎหมายหมิ่นสถาบันเพื่อลงโทษคนที่พูดห มิ่น แต่นักวิชาการบางส่วนของไทยกลับจะให้ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ โดยอ้างแต่ว่าลิดรอนเสรีภาพทางวิชาการ แต่ไม่พูดถึงหน้าที่ที่ตนเองพึงกระทำ
      
       “ เราพูดถึงสิทธิ เราก็ต้องดูหน้าที่ด้วยสิ ว่าไปจำกัด ไม่ได้จำกัดอะไรเลย กฎหมายนี้ก็มีมาตั้งนาน ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย ประเทศในยุโรปอย่างประเทศนอร์เวย์ สวีเดน เขาก็ยังมีกษัตริย์ และยังมีการพูดหมิ่น เขายังได้รับโทษเลย ยังมีอยู่เยอะเลยในยุโรป ไม่เห็นมีปัญหาอะไร แล้วคุณในเรื่องวิชาการ ถ้าคุณจะเขียน คุณก็เขียนไม่ให้หมิ่นสิ แสดงความคิดเห็นไม่ให้หมิ่นสิ เพราะกฎหมายหมิ่นเบื้องสูงเนี่ย จริงๆ แล้วมันก็ซ้อนอยู่ในเรื่องหมิ่นประมาทอยู่แล้ว เพียงแต่โทษมันหนักขึ้น อย่างหมิ่นประมาท โทษคนทั่วไปหมิ่นคนทั่วไปก็ผิดอยู่แล้ว แต่ทีนี้เราเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ เราก็ควรจะยกย่อง ก็เลยไปกำหนดโทษให้มันสูงขึ้น เพื่อไม่ให้คนมาหมิ่น ถ้าเกิดว่าคุณไม่หมิ่นคุณจะเขียนยังไงก็ได้ ผมดูแล้วไม่เห็นเกี่ยวกันเลย”
      
       “(ถาม-มีข้อสังเกตอะไรมั้ย ที่อยู่ๆ ก็มามีการเสนอให้ยกเลิก กม.หมิ่นสถาบันกันตอนนี้?) ผมมีข้อสังเกตว่า คนที่พูดเนี่ยดูเหมือนว่าจะได้รับโทษซะละมั้ง คนที่พูดๆ หมิ่นๆ ไว้เนี่ย จะมีโทษและพยายามจะแก้ไขให้ได้ให้พ้นโทษ และอีกประการหนึ่ง ถ้าเลิกได้นี่ ก็พูดกันสนุกเลย แล้วใครจะไปร้องทุกข์ล่ะ สมมติว่า ยกเลิกเนี่ย ก็ไปใช้ กม.ปกติใช่มั้ย กับคนทั่วไปใช่มั้ย คนทั่วไปหมิ่นเนี่ย คนอื่นไปร้อง (แจ้งความ) ไม่ได้ ต้องตัวคนนั้นร้อง พระมหากษัตริย์จะไปฟ้องร้องได้ยังไง ท่านเป็นที่เคารพสักการะอยู่เนี่ย แล้วจะไปฟ้องประชาชนได้ยังไง แล้วไม่มีคนร้อง คนอื่นจะร้องก็ร้องไม่ได้ ทุกวันนี้มันเป็นอาญาแผ่นดิน ประชาชนคนไหนก็ร้องได้”
      
       พ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ ยังพูดถึงกรณีที่มีเว็บไซต์เข้าข่ายหมิ่นสถาบันนับหมื่นเว็บ แต่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพิ่งปิดได้แค่ 2 พันเว็บ ว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบปล่อยปละเรื่องนี้มานาน เพิ่งจะมาดำเนินการช่วงนี้ แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก เพราะเว็บหมิ่นยังเกลื่อนไปหมด พ.ต.ท.วัฒนศักดิ์ ยังยืนยันด้วยว่า จากการตรวจสอบเว็บไซต์ต่างๆ ที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบัน รวมทั้งการหมิ่นโดยชาวต่างชาตินั้น พบว่า มีการทำกันเป็นขบวนการ และมีเครือข่ายเยอะมาก ดังนั้น ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกกฎหมายหมิ่นสถาบันแน่นอน
      
       ด้าน ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงกรณีที่นักวิชาการนำโดย นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ และประชาชนอีกจำนวนหนึ่งเข้าชื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นสถาบัน ว่า ต้องถามว่า ถ้ายกเลิกกฎหมายฉบับนี้แล้ว จะเสนอกฎหมายอะไรขึ้นมาแทนหรือไม่ เพราะจะให้พระมหากษัตริย์อยู่นอกกรอบการคุ้มครองของกฎหมายคงไม่ได้ อ.จรัส ยังจี้ต่อมสำนึกของนักวิชาการด้วยว่า ควรใช้สิทธิเสรีภาพโดยไม่ไปละเมิดบุคคลอื่น
      
       “ป กติสิทธิเสรีภาพของมนุษย์เราเนี่ย มันต้องไม่ไปละเมิดใคร ไม่ใช่ผมเที่ยวไปยืนด่าแม่ใครบนถนนเนี่ย ผมไม่ชอบคุณอภิสิทธิ์ ผมไปนั่งด่าแม่คุณอภิสิทธิ์บนถนน มันก็ไม่ถูก เขาก็เสียหายน่ะ พูดจริง-พูดเท็จก็ไม่รู้ คำถามคือ สถาบันก็เป็นก็เป็นบุคคลประเภทหนึ่ง ใครจะไปกล่าวหาผิด-ถูกก็ไม่รู้ ไปกล่าวหาเนี่ย มันต้องมีการคุ้มครอง ในที่สุดก็ไม่ควรจะอยู่นอกกรอบกฎหมายที่จะไม่คุ้มครอง ก็เหมือนกับคนทั่วๆ ไป เหมือนผม ใครมากล่าวหาผม ก็ถือว่าผมเสียหาย มันต้องมีการลงโทษคนที่กล่าวหาผม ถ้าเกิดว่าไม่จริง คำถามก็คือ ถ้าอาจารย์เขาเสนอว่าก็ให้ใช้กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่ากันไป ใครไปว่าก็ให้ สมมติว่าใครไปพูดจาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ สมมติน่ะนะ แล้วก็ให้ท่านไปฟ้องเอาเองก็แล้วกัน ท่านก็ทำเรื่องไปฟ้องตำรวจเอา ไปแจ้งความตำรวจอย่างนั้นหรือเปล่า”
      
       “(ถาม-ถ้าให้ไปใช้กฎหมายแพ่ง-อาญาอะไร ในทางปฏิบัติพระองค์ก็คงไม่ลงมาแจ้งความเองอีกอยู่ดี?) นั่นน่ะสิ ผมอยากรู้ว่า ท่านอาจารย์เสนออะไร ต้องตั้งคำถามว่า แล้วเราจะเอายังไงกับเรื่องนี้ ถ้าทุกคนในสังคมนี้เท่ากันหมด รวมทั้งศาล ใครจะหมิ่นศาลก็ได้ ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา ก็ไปยืนด่าแม่ศาล จะเอามั้ย องค์กรอื่นก็เหมือนกัน ไม่ต้องคุ้มครอง เพื่อเสรีภาพทางวิชาการ ผมอยากทราบว่าผู้หลักผู้ใหญ่นักวิชาการเขาจะเสนออะไรให้กับทางออก ผมเข้าใจว่า ถ้าผมนับถือศาสนาพุทธเนี่ย แล้วคนศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น คนไม่มีศาสนาก็ได้ ไปด่าศาสนาพุทธนี่ ผมจะยอมมั้ย ผมอาจจะไม่ยอมนะ ทีนี้ก็บอกว่าก็ให้ศาสนาพุทธไปฟ้องเอาเองก็แล้วกัน ใครไปว่าพระพุทธเจ้ามีเมียน้อยก็ ก็ให้พระพุทธเจ้าไปฟ้องเองก็แล้วกัน ผมไม่แน่ใจว่ามันจะเวิร์กมั้ย”
      
       อ.จรัส ยังชี้ด้วยว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่มีความหมาย และมีคุณค่าต่อคนไทยจำนวนมาก ดังนั้น หากมีใครทำอะไรที่กระทบสถาบัน แล้วไม่มีกฎหมายที่เปิดช่องให้ประชาชนทั่วไปฟ้องร้องแทนสถาบันได้ อาจทำให้เกิดปัญหาว่า คนที่กระทำการหมิ่นสถาบันจะถูกประชาชนรุมประชาทัณฑ์ แทนที่จะได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงกันในศาล
      
       “ อ.นิธิ (เอียวศรีวงศ์) นี่ท่านก็เป็นนักสังคมวิทยาไม่ใช่เหรอ นักมานุษยวิทยาไม่ใช่เหรอ ถ้าท่านเป็น ท่านคงเข้าใจคำว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่ให้ความหมายกับสังคม เช่น สมมติว่า ผมเป็นคนที่มีความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมชื่นชมสิ่งที่สถาบันทำ แล้วคนไปด่าสถาบันเนี่ย ผมรู้สึกผมเสียหายมั้ย คำถามคือ ด้วยกฎหมายที่มีอยู่เนี่ย ผมฟ้องคนๆ นั้นได้มั้ย เพราะว่า อ.ใจ พูดถึงสถาบันไม่ดี ผมฟ้อง อ.ใจ ได้มั้ยว่าผมเนี่ยเดือดร้อน คำตอบก็คือ ถ้าบอกว่าผมฟ้องไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้เขียนว่าเป็นเรื่องของบุคคลกฎหมายเขียนว่าใครเสียหายก็ไปฟ ้องเอาเอง คนอื่นไปฟ้องไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย คำถามคือ ถ้าเราปล่อยให้เกิดปัญหานี้ขึ้น สังคมจะเป็นยังไง ผมคิดว่า อ.ใจ อาจจะไม่ต้องขึ้นศาลนะ อาจจะถูกกระทืบตายข้างถนนน่ะ อันนี้สมมตินะ”
      
       “ถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น จะทำยังไง ความวุ่นวายมันจะเกิดขึ้นขนาดไหน ผมคิดว่าคนเสนอจะต้องให้ทางออกกับเรื่องพวกนี้ กฎหมายที่มีอยู่มันพอหรือยังที่จะทำให้เราอยู่ด้วยกันได้ มันไม่ใช่ระหว่างนาย ก.กับ นาย ข.ไม่ใช่ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับอาจารย์ หรือนักวิชาการเป็นนาย ก.นาย ข.แต่เป็นเรื่องของความหมายของสถาบันที่มีคุณค่า ความรู้สึกของคนทั่วไปรู้สึกเป็นของมีคุณค่า อาจารย์ นาย ก.นาย ข.ไม่เห็นว่ามีคุณค่าก็เป็นเรื่องของเขา แต่คนอื่นเขาเห็นว่ามีเนี่ย ผมเข้าใจว่าตัวเองไปว่าเนี่ย คนที่เดือดร้อนไม่ใช่สถาบัน แต่เป็นคนที่เขาเห็นว่ามีคุณค่า นั่นคือปัญหา อันนี้ความเป็นเจ้าของสถาบัน ตัวสถาบันพระมหากษัตริย์ เจ้าของจริงๆ ไม่ใช่ตัวสถาบันนะ แต่คนไทยจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าเป็นของมีคุณค่าสำหรับเขาน่ะ เขาเป็นเจ้าของนะ ปัญหาก็คือ มันจะสร้างปัญหาขึ้นมาเยอะทีเดียว”
      
       อ.จรัส ยังพูดถึงกระแสหมิ่นสถาบันที่เพิ่มขึ้นมากทั้งทางเว็บไซต์และใบปลิวตามจังหว ัดต่างๆ ว่า ส่วนตัวแล้วค่อนข้างประหลาดใจที่กระแสหมิ่นสถาบันเกิดขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ ส่วนสาเหตุคาดว่า มาจากหลายปัจจัย 1.เป็นเรื่องของความท้าทาย โดยบางคนอ้างว่าสถาบันเป็นเรื่องล้าสมัย และมองตัวเองว่าเป็นพวกก้าวหน้า 2.เป็นกระแสที่เมื่อถูกปลุกขึ้นมา โดยข้อมูลที่จริงบ้าง-เท็จบ้าง หรือเท็จทั้งหมด ขณะที่ผู้ที่ถูกปลุกหรือได้รับข้อมูลนั้น ก็ไม่หาข้อมูลเพิ่ม และมีนิสัยเชื่อตามๆ กัน คิดตามๆ กัน เมื่อคนเราเดินตามกระแสง่ายๆ จึงเกิดปัญหาขึ้น
      
       เมื่อถามว่า หากยกเลิกกฎหมายหมิ่นสถาบัน จะทำให้เกิดกระแสหมิ่นสถาบันเพิ่มขึ้นหรือไม่ อ.จรัส บอกว่า ไม่กล้าคิดเช่นนั้น แต่เชื่อว่า จะทำให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมมากขึ้น เพราะขณะนี้ที่ไม่มีการเผชิญหน้าระหว่างคนที่กระทำการหมิ่นสถาบันกับประชาชน ที่ต้องการปกป้องสถาบัน ก็เพราะยังมีช่องทางทางกฎหมายให้ประชาชนฟ้องร้องแทนสถาบันได้
      
       “ แต่ก่อนมันมีอย่างนี้อยู่แล้ว มีการตั้งใจจะหมิ่นกันอยู่แล้ว ตั้งใจจะพูดวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่แล้ว เท็จจริงยังไงเราก็ไม่ค่อยได้พิสูจน์กันจริงจัง แต่ถ้าเกิดมีการยกเลิก กม.นี้ ผมเดาว่า การหมิ่นที่มีอยู่เนี่ย มันก็จะไม่มีสนามบินจะลง เพราะผมไม่เชื่อว่าสถาบันจะมาเดินฟ้องใคร เพราะปกติก็ไม่ทำอยู่แล้ว ทีนี้ปัญหามีอยู่ว่า ในเมื่อมันไม่มีกฎกติกา ก็คือ ไม่มีการฟ้อง ไอ้คนที่เขารู้สึกเป็นเจ้าของเนี่ย ก็คือ คนทั่วๆ ไปที่มีความศรัทธาในสถาบันเนี่ย ก็จะไม่มีทางออก คือเขาไม่รู้จะทำยังไงกับสิ่งที่เขาทนไม่ได้ เหมือนกับคนมานั่งด่าศาสนาพุทธ ให้พวกที่นับถือศาสนาพุทธฟัง พูดให้มันใกล้เคียงเข้า เหมือนกับเราไป 3 จังหวัดภาคใต้ เราไปด่าศาสนาอิสลาม จะมีชีวิตรอดกลับมาหรือเปล่า ผมเข้าใจว่าคนที่เขา attach กับสถาบัน คนที่เขาชื่นชมศรัทธาเขาเลื่อมใสเนี่ย เขาจะไม่มีทางออก และจะเกิดปัญหาความขัดแย้ง และจะเกิดความรุนแรงขึ้นได้ง่ายมากเลย”
      
       “ตอนนี้ที่มันไม่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างคนที่วิจารณ์กับคนที่รู้สึ กว่าเป็นเจ้าของสถาบัน ที่มันไม่เผชิญหน้ากัน เพราะมันมีกติกาอยู่ โอเค ถ้า you ว่าอย่างนั้น you ก็ขึ้นศาลก็แล้วกัน จริง-ไม่จริงอะไรอย่างนี้ ในเมื่อมันไม่มีกฎกติกา ก็ไอ้คนที่ว่าก็เลยใช้ไปสิ ไอ้คนที่รู้สึกว่าไอ้คนที่ว่า มันว่าไม่ถูก เขา hurt ไง มันก็จะกลายเป็นว่า เป็นเหตุให้คนหาทางออกด้วยการใช้ความรุนแรงกันได้ ทางที่ดีผมว่า คิดให้หนักก่อนที่จะทำ คิดให้หนักว่ามันได้อะไรขึ้นมา คือ วันนี้นักวิชาการใช้เสรีภาพทางวิชาการกันอยู่วันนี้ มันถูกจำกัดจริงหรือเปล่า?”
      
       อ.จรัส ในฐานะนักวิชาการคนหนึ่ง ยืนยันว่า ทุกวันนี้นักวิชาการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเหลือเฟือ และเสรีภาพนั้นก็ไม่ได้ถูกจำกัดหรือถูกลิดรอนด้วยกฎหมายหมิ่นสถาบันแต่อย่าง ใด แต่ปัญหานักวิชาการที่ต้องคดีหมิ่นสถาบัน น่าจะเกิดจากตัวนักวิชาการเองมากกว่า ที่มักจะใช้เสรีภาพทางวิชาการในการพูด-เขียน หรือแสดงความคิดเห็นโดยขาดการวิจัย ทั้งที่นักวิชาการมีเสรีภาพในการวิจัยอย่างเต็มที่ แต่ไม่ค่อยทำ กลับเลือกที่จะแสดงความคิดเห็นโดยใช้ทฤษฎี “ตีความและคิดเอาเอง” มากกว่า จึงได้เกิดปัญหาตามมา!!


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000013680

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น