++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

ล้วงความลับ 4 ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
   

       ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายนัก “ห้องสมุด” ก็นับเป็นคลังแห่งความรู้ที่ใกล้ตัวชาวมหาวิทยาลัยมากที่สุด และแม้ว่ายุคนี้นาทีนี้ห้องสมุดจะโดนความเป็นเทคโนโลยีแห่งโลกไร้พรมแดน อย่าง Search google แซงหน้าตำแหน่งเรื่องความสะดวกในการสืบค้นและการเข้าใช้ ทว่า ห้องสมุดก็ยังคงความเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
      
       ที่น่าสนใจคือ ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของนิสิตนักศึกษาอย่างน่าบอกต่อ
      
      
       เริ่มที่หอสมุดแห่งแรกที่จะพาไปแวะชมก็คือ “หอสมุดปรีดี พนมยงค์” ม.ธรรมศาสตร์(มธ.)
      
       “ สุกัญญา มกุฎอรฤดี” หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ให้ข้อมูลว่า หอสมุดปรีดี พนมยงค์จะทำหน้าที่เป็นหอสมุดกลางหรือศูนย์กลางระหว่างห้องสมุดคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยจะเน้นในความหลากหลายของสหวิชา และมีหนังสือให้ได้เลือกอ่าน เลือกใช้กันถึงประมาณ 2 ล้าน 9 แสนเล่ม
      
       “ เด็กที่เรียนที่วิทยาเขตรังสิตก็จะใช้ห้องสมุดคณะ แต่บางทีก็กลับมายืมที่นี่บ้าง วิทยาเขตอื่นๆ ก็เช่นกัน เพราะเวลาหาอะไรไม่เจอก็จะมาที่หอสมุดกลางก่อน โดยสามารถจะเช็คสถานะหนังสือ และสื่อทรัพยากรสารนิเทศกันทางฐานข้อมูลออนไลน์”
      
       นอกจากนั้น หอสมุดแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการชี้แหล่งค้นคว้าต่อ บริการตอบคำถาม รวมทั้งแบบตัวเล่มและฐานข้อมูลออนไลน์ โดยส่วนใหญ่ที่นิยมเข้ามาใช้บริการกันก็จะเป็นด้าน อินเทอร์เน็ตและเอนเตอร์เทนเมนท์ โดยมุมด้านวิชาการที่นักศึกษาใช้เยอะมักเป็นหมวดบริหารฯ ส่วนหมวดเบ็ดเตล็ดที่นักศึกษานิยมเข้าใช้คือ มุม นวนิยาย
      
       อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ลูกแม่โดมท่านั้นที่แวะเวียนไปใช้บริการ คนภายนอกต่างก็แวะเวียนเข้าไปใช้บริการ รวมทั้งกิจกรรมเสริมต่างๆ ที่ทางหอสมุดได้จัดเอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการจัดฉายภาพยนตร์ที่มีคุณค่า
      
       “เรา จัดกิจกรรมบริการโสตทัศน์ในห้องกิจกรรมเรวัติ พุทธินันท์ที่จะฉายหนังเก่า และหนังฝรั่งที่มีคุณค่าที่จัดเก็บไว้ ตรงนี้คนภายนอกก็จะมามีส่วนร่วมได้ และที่โดดเด่นซึ่งคนภายนอกรู้กันอีกอย่างก็คือหากใครต้องการค้นคว้าหา หนังสือด้านสังคมศาสตร์และการเมืองที่ทางเราก็จะมีการจัดเก็บมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะไว้ให้บริการ”
      

ห้องเก็บวิทยานิพนธ์ หอสมุดจุฬาฯ
       หอสมุดแห่งที่ 2 ที่จะพาไปสัมผัสกันก็คือ หอสมุดกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือเนื้อหาของหนังสือในหอสมุดจะเน้นในความหลากหลายไว้ บริการลูกพระเกี้ยว โดยหมวดวิทยาศาสตร์จะมีนิสิตเข้าใช้บริการค่อนข้างเยอะ ส่วนที่มีการจัดเก็บเป็นจำนวนมาก คือหมวดวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยที่บุคคลภายนอกก็นิยมแวะเวียนนำมาศึกษาประกอบธุรกิจ
      
       “สุภัทรียา จิตรกร” หัวหน้างานสำนักงานเลขานุการ ให้ข้อมูลว่า....
       “หอ สมุดจุฬาฯจะมี 7 ชั้น แต่ชั้นล่างจะเป็นฝ่ายยืมคืนและพื้นที่บริการเครื่องดื่ม ชากาแฟ ตรงนี้ก็จะมีนิสิตสลับวนเวียนกันอยู่ตลอด ส่วนที่ๆ มีนักศึกษาค่อนข้างแน่นทุกวันจะเป็นบริเวณชั้น3 ชั้น 4 ก็จะมีนิสิตไปแวะเวียนที่สุดตรงนั้นก็จะเป็นชั้นของโสตทัศนศึกษาที่นิสิตแวะ ไปดูหนังฟังเพลง ใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนชั้น 4 ก็จะเป็นหมวดมนุษยศาสตร์และวรรณกรรม รวมทั้งห้องหนังสือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทุกคนที่นี่เห็นว่าก็ยังรักการอ่านและยังเข้าห้องสมุดประกอบการค้นคว้า อยู่ หรือช่วงสอบก็จะมีนิสิตเข้ามาอ่านหนังสือกันมากทุกชั้น ”
      
       “ลักษณะ เด่นของที่นี่คือตัววิทยานิยานิพนธ์ หมวดหนังสืออ้างอิงและงานวิจัยที่ทั้งนิสิตและบุคคลภายนอกเข้ามาค้นคว้า ประกอบธุรกิจกันจำนวนมาก โดยนำไปประกอบรายงาน และรวมไปถึงการศึกษาค้นคว้าเพื่อธุรกิจ เรามีฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์วิทยานิพนธ์ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ดังนั้น อยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าใช้ได้ แต่หากจะมาก็จะสะดวกเพราะเราเป็นห้องสมุดที่อยู่ในแหล่งใจกลางเมืองเดินทาง สะดวก”
      
       ถัดมาเป็นหอสมุดของ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
       ซึ่ง “กนกพร อยู่อำไพ” นักบรรณสารสนเทศของหอสมุดอธิบายว่า ภายในห้องสมุดมีหนังสืออยู่ประมาณ 180,000 เล่ม โดยจะเน้นไปที่หมวดสาขาวิชาพื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม โดยเฉพาะหนังสือทางด้านวิศวกรรมจะมีมากเป็นพิเศษเพราะนักศึกษาส่วนใหญ่เข้า ค้นคว้าหมวดนี้เยอะ เช่นเดียวกับมุมนวนิยายรวมไปถึงเน้นจำพวกตำราต่างประเทศที่นักศึกษาเข้าใช้เป็นจำนวนมากเช่นกัน
       “ของบางมดจะไม่มีห้องสมุดคณะ แต่มีห้องสมุดประจำอยู่ทุกๆวิทยาเขต อย่างวิทยาเขตบางขุนเทียนส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือทางด้านสถาปัตยกรรม เป็นต้น”
       กนกพรบอกด้วยว่า อีกมุมหนึ่งที่ทางหอสมุดจัดเอาไว้เป็นพิเศษก็คือ โซนติวเตอร์ เนื่องจากโดยปกตินักศึกษามักจะมาใช้หอสมุดเพื่อติวโปรเจ็กต์ที่เด็กสายวิศว กรรรมจะต้องทำเยอะ นอกจากนี้จะมีมุมผ่อนคลายเอาไว้ด้วย เช่น ชั้นคลินิก หรือ ห้องเรียนรู้ด้วยตนเองที่จะมีโสตทัศน์ไว้ให้บริการ"
      
       และมาปิดท้ายกันที่ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต(มสด.) หรือสำนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ ที่ ในแต่ละวันมีนักศึกษาแวะเวียนกันเข้ามาใช้บริการอย่างไม่ขาดสาย เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 300-400 คนต่อวัน โดยโซนท็อปฮิตที่นักศึกษานิยมเข้าใช้ก็เหมือนกับทุกรั้วมหาวิทยาลัย คือมุมนวนิยาย ที่มีจำนวนผู้เข้าใช้ตีคู่มากับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ รวมถึงหนังสือในหมวดคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
      
       “มุม ที่ขายดีก็ส่วนใหญ่จะอยู่ในหมวดนวนิยาย ตรงนี้จะมีพวกพอกเก็ตบุครวมอยู่ด้วย ซึ่งเวลาที่นักศึกษาว่างๆ เขาก็จะมานั่งอ่านเล่นกัน รองลงมาก็จะอยู่ในหมวดวิชาการ อย่างจำพวกวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือหมวดคอมพิวเตอร์ ที่นักศึกษาสนใจอ่านกันมากเพื่อนำไปประกอบวิชาเรียน ซึ่งเราก็มีหนังสือด้านนี้จำนวนมากตามความต้องการ
       สำหรับ ลักษณะเด่นของห้องสมุดมรภ.สวนดุสิตคือ เน้นตรงความทันสมัยเพราะเป็นห้องสมุดแบบ Virtual Library แห่งแรก ทำให้ไม่ว่านักศึกษาจะทำธุรการใดๆก็จะผ่านระบบออนไลน์ ลงทะเบียนตรวจเช็คสถานะหนังสือ คืนหนังสือก็มีตู้อัตโนมัติ”รักขณาวรรณ ชูทอง เจ้าหน้าที่งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ มสด.ให้ข้อมูล
      
       ที่ น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ การที่ทางมสด.ส่งเสริมความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้วยการแจกคอมพิวเตอร์โน้ต บุ๊กส์ให้กับนักศึกษา ทางห้องสมุดจึงได้จะทำระบบขึ้นมารองรับ โดยนักศึกษาสามารถ Login เข้ามาใช้ฐานข้อมูลของห้องสมุดผ่านโน้ตบุ๊กส์ได้อีกด้วย
      
       “ทาง เรามีสัญญาณ Wireless ให้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักศึกษา การค้นคว้าที่บางอย่างไม่ต้องเดินเข้ามาห้องสมุดด้วยซ้ำเพราะมีข้อมูลออ นไลน์ แต่ส่วนของตัวเล่มจริงๆหรือทรัพยากรสารนิเทศที่อยู่ในห้องสมุดจริงๆที่มี อยู่กว่า 160,000 เล่ม ตอนนี้ก็ยังคงมีนักศึกษาและผู้ใช้บริการภายนอกเข้าใช้อยู่เหมือนเคย ไม่ได้มีจำนวนมากขึ้นแต่ก็ไม่น้อยลง โดยบรรณารักษ์ก็จะมีบทบาทในการเสาะแสวงหาข้อมูลและทรัพยากรสารนิเทศต่างๆที่ ตรงกับสภาพบ้านเมือง อะไรที่อัพเดทใหม่ๆให้กับนักศึกษาได้รับความสะดวก”
      
       ส่วนออฟชั่นเสริมของทางห้องสมุดทางมสด. ก็คืออินเทอร์เน็ตค่าเฟ่ที่สร้างบรรยากาศให้เหมือนร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ พร้อมทั้งมีมุมอ่านหนังสือที่ตกแต่งด้วยสีสันที่สดใส รวมไปถึงนักศึกษาพิเศษ หรือกลุ่มผู้พิการที่นิยมเข้ามาใช้พื้นที่อ่านหนังสือติวกันได้อย่างสะดวก สบาย
      
       “ถามว่าบุคคลภายนอกเข้ามาใช้ห้องสมุดของเราได้ไหม ใช้ได้ เต่ต้องเสียค่าบริการ 10 บาทต่อคน”รักขณาวรรณสรุป

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000021020

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น