++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา : ประเด็นสำคัญอยู่ที่การรู้เขารู้เรา

โดย สุรพงษ์ ชัยนาม    
เป็นที่น่ายินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในยุครัฐบาลของนายกรัฐม นตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาก้าวหน้าอย่างราบรื่นอย่างเป็นขั้นตอนบนพื้นฐานของกา รมีผลประโยชน์ร่วมกันและการมีความเข้าใจในกันและกัน โดยยึดความเป็นจริงในภาพรวมว่า ด้วยมิติด้านต่างๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นเครื่องชี้นำกำหนดพัฒนาการแห่งความ สัมพันธ์ระหว่างกัน
      
       อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นที่เข้าใจชัดแจ้งในตัวอยู่แล้วว่า จะต้องเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ (ทวิภาคี) หรือระหว่างหลายประเทศด้วยกัน (พหุภาคี) มิฉะนั้นแล้วคำว่าความสัมพันธ์ย่อมปราศจากความหมายและความสำคัญทั้งสิ้น เพราะการตบมือข้างเดียวไม่มีทางดังได้
      
       ในกรณีความสัมพันธ์สองฝ่าย (ทวิภาคี) ระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น จะมีลักษณะใกล้ชิด
       แนบแน่น ก้าวหน้าหรือถอยหลัง ปกติหรือผิดปกติ เป็นประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ ราบรื่นหรือมีอุปสรรค ส่งเสริมความเป็นมิตรหรือความแตกแยก ตลอดจนสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ระหว่างกัน ขึ้นอยู่กับการรู้เขารู้เราเป็นสำคัญ และการรู้เขารู้เราอย่างถูกต้องอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลไ ทยยอมรับและยอมทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงขั้นพื้นฐานที่สำคัญดังต่อไปนี้
      
       1. เรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติ
      
       ผลประโยชน์แห่งชาติของทุกประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) มีหลายด้านและมีลักษณะ
       ยืดหยุ่น ไม่คงที่ ไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขึ้นอยู่โดยตรงกับหลายปัจจัย ทั้งที่ปรากฏภายในและภายนอกประเทศ ในแต่ละบริบท แต่ละห้วงเวลาของสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคงภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีผลประโยชน์แห่งชาติประการเดียวเท่านั้นที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
      
       นั่นคือ ผลประโยชน์แห่งชาติด้านความมั่นคงอยู่รอดของประเทศชาติ ที่เหลือล้วนเป็นผลประโยชน์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สุดแต่ความสำคัญ ความจำเป็นเร่งด่วนและความเป็นไปได้ในแต่ละบริบท แต่ละห้วงเวลา ไม่มีสูตรสำเร็จรูปในเรื่องของการปกป้องรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติ ในหลายด้าน ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงทั้งหมดดังกล่าว
      
       หากรัฐบาลไทยมีนโยบายและเป้าประสงค์แน่วแน่ที่มุ่งส่งเสริม ปกป้องรักษาผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของไทยไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีที่ปกติกับกัมพูชา ก็จำเป็นที่รัฐบาลพึงทำการศึกษาและทำความเข้าใจอย่างรอบด้านอย่างถูกต้องครบ ถ้วน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ช่วง 50 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่สมัยเจ้าสีหนุ ยุคเขมรแดงของพอลพต จนยุคของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนในปัจจุบัน) ว่าลักษณะด้านใดบ้างที่เปลี่ยนแปลงและที่ไม่เปลี่ยนแปลง
      
       แต่รัฐบาลไทยจะทำความเข้าใจได้อย่างถูกต้องก็ต่อเมื่อหน่วยงานทั้งหล ายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศและความมั่นคงรู้จักศึกษา พิจารณา วิเคราะห์ และประเมินเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ในแต่ละบริบท แต่ละห้วงเวลาจากข้อเท็จจริงและจากความเป็นจริง ไม่ใช่จากที่ฝ่ายไทยอยากให้เป็นจริง (หรืออีกนัยหนึ่งคือ อย่านั่งเทียนสรุปเอาง่ายๆ ตามอำเภอใจ)
      
       อีกทั้งจำเป็นต้องทำความเข้าใจโดยตระหนักให้ดีไว้ตลอดเวลาด้วยว่าในย ุคโลกาภิวัตน์นั้น นโยบายต่างประเทศของทุกประเทศถือเป็นส่วนขยาย (extension) ของนโยบายภายในประเทศ หมายความว่านโยบายต่างประเทศต้องพยายามตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเท ศให้มากที่สุด และจำต้องสะท้อนจุดยืน ค่านิยม หลักการ ประเพณี วัฒนธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ (เช่น ประเทศไทยเป็นสังคมเปิด มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื้อหาของนโยบายต่างประเทศของไทยก็จำต้องสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นประชาธิป ไตยของไทย ไม่ใช่สะท้อนแต่รูปแบบอย่างที่เป็นมาตลอด 8 ปี ของยุคระบอบทักษิณ)
      
       2.ประเภทของระบอบการเมือง (regime type)
      
       เป็นที่ยอมรับทั่วไปอยู่แล้วว่าประเภทของระบอบการเมืองของแต่ละประเทศ (รวมทั้งของ
       ไทยและกัมพูชาด้วย) มีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้นำประเทศของรัฐบาล ของนักการเมือง และพรรคการเมือง ตลอดจนมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และท่าทีของรัฐบาลต่อแต่ละปัญหาระหว่างประเทศ และต่อการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ รวมทั้งต่อการกำหนดผลประโยชน์แห่งชาติ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น
      
       ความคิดและพฤติกรรมผู้นำรัฐบาลของประเทศที่มีระบอบการเมืองการปกครอง ที่เป็นเผด็จการ (ไม่ว่าทหาร พลเรือน หรือโดยพรรค) ย่อมแตกต่างจากผู้นำรัฐบาลของประเทศที่มีระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย โครงสร้างอำนาจการเมืองของระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย บทบาทและความสำคัญของการเมืองภาคประชาชนในระบอบเผด็จการ (อำนาจนิยม) ย่อมไม่มีหรือมีน้อยมากและอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของระบอบเผด็จการ (อำนาจนิยม) ในขณะที่การเมืองภาคประชาชนในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยย่อมมีมากและกว้าง ขวาง รัฐบาลย่อมต้องให้ความสำคัญและฟังเสียงของประชาชน
      
       หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง อย่ารีบด่วนสรุปหรือเหมาโมเมเอาเองว่าฝ่ายกัมพูชาคิดเหมือนฝ่ายไทย มีผลประโยชน์อย่างเดียวกับไทย มีนโยบาย ท่าทีและเป้าประสงค์ต่อแต่ละเรื่อง แต่ละปัญหาเหมือนกัน เพราะหากฝ่ายไทยยังปักใจหลงเชื่อเอาเองว่าประเทศต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับไทยจะคิดเหมือนไทย มีผลประโยชน์ทุกๆ ด้านเหมือนกับของไทย โดยมองข้ามความจริงและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของแต่ละ ประเทศที่มีความสัมพันธ์กับไทย
      
       (ในกรณีนี้คือกัมพูชา) มองข้ามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของกัมพูชา ไม่พยายามอ่านสถานการณ์การเมืองในกัมพูชาและอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ทั้งที่มีขึ้นภายในและภายนอกกัมพูชาว่ามีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายและท่าทีข องฝ่ายกัมพูชาต่อไทยมากน้อยเพียงใด แต่กลับเหมาเอาเองว่าฝ่ายกัมพูชาไม่ได้แตกต่างจากไทย หากฝ่ายไทยยังคิดง่ายๆ และตื้นเขินแบบนี้ การรู้เขารู้เราย่อมไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในทางเป็นจริง เพราะนี่คือลักษณะของโรคเรื้อรังของนโยบายต่างประเทศและการทูตไทยที่มีต่อปร ะเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว
      
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของรัฐบาลไทยรักไทยและรัฐบาลพรรคนอมินีของไทย รักไทย นายกรัฐมนตรีฮุนเซนรู้จักแยกแยะว่าอะไรคือรูปแบบ อะไรคือเนื้อหา อะไรคือภาพจริง อะไรคือภาพลวงตา และผลประโยชน์แห่งชาติของกัมพูชาในแต่ละบริบท แต่ละห้วงเวลาคืออะไร ในขณะที่รัฐบาลไทย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลไทยในยุคของระบอบทักษิณ) จะรู้ก็แต่ในเรื่องของผลประโยชน์ของพรรคและพวก และเหมาหรือสรุปโดยพลการเอาเองว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการแสวงผลประโยชน์ของพรรคและพวกโดยหากินกับสิ่งที่เรียกว่าผลประโยชน์แห ่งชาติ
      
       ในเมื่อข้อเท็จจริงทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นบ่งชี้และยืนยันให้เห็นได้ อย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นว่าการทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับประเภทระบอบการเมืองของแต่ ละประเทศ (ในกรณีของบทความนี้คือประเทศกัมพูชา) เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การให้น้ำหนักกับเรื่องความสัมพันธ์และความสนิทสนมส่วนตัวระหว่างผู้นำของไท ยกับกัมพูชา (หรือระหว่างผู้นำไทยกับผู้นำประเทศต่างๆ) จึงเป็นเรื่องเสี่ยงไม่คุ้มค่าด้วยเกี่ยวข้องกับรูปแบบมากกว่าเนื้อหา ภาพลวงตามากกว่าภาพที่เป็นจริง มีผลด้านการสร้างภาพมากกว่าผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและมีสารัตถะ
      
       จริงอยู่การที่บุคคลระดับผู้นำของแต่ละประเทศมีความสนิทสนมชิดเชื้อเ ป็นอย่างดีย่อมมีส่วนดีและช่วยให้การเจรจาหารือดำเนินไปภายใต้บรรยากาศที่เป ็นมิตร แต่จำเป็นต้องตระหนักไว้เสมอว่า ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่ผลประโยชน์แห่งชาติ ไม่ใช่ความสนิทสนมส่วนตัวระหว่างผู้นำประเทศ เพราะไม่มีผู้นำประเทศใดที่จะยอมเอาเรื่องของความสนิทสนมส่วนตัวมามีอิทธิพล เหนือผลประโยชน์แห่งชาติ (จะมีก็ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย) ความสนิทสนมส่วนตัวระหว่างผู้นำประเทศจะมีผลดีก็ในด้านของการสร้างภาพสร้างบ รรยากาศที่เป็นมิตรมากกว่าอื่นใด
      
       3.ลักษณะของนโยบายต่างประเทศกัมพูชาที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง
      
       กล่าวได้ว่า นโยบายต่างประเทศของกัมพูชาตั้งแต่สมัยเจ้าสีหนุ สมัยช่วงเขมรแดง(พ.ศ. 2518 – 2521) มาจนถึงสมัยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนในปัจจุบัน มีด้านที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องมาตลอด 50 ปีที่ผ่านมา พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
      
       3.1 นโยบายพึ่งการถ่วงดุลอำนาจ
      
       ด้วยเหตุผลด้านภูมิรัฐศาสตร์ (กัมพูชาเป็นประเทศเล็กที่แวดล้อมด้วยประเทศที่ใหญ่กว่า และมีประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งระหว่างกันยาวนาน) เป็นผลทำให้นโยบายต่างประเทศของกัมพูชาช่วง 50 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หันมาพึ่งระบบการถ่วงดุลแห่งอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเครื่ องมือสำคัญอย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเป้าประสงค์หลักในการธำรงรักษาเอกราชและอธิปไตยของกัมพูชา
      
       เ ช่น ในอดีตเจ้าสีหนุได้ดึงอิทธิพลของจีนมาถ่วงอิทธิพลของเวียดนามและไทย หรือในช่วงที่เวียดนามรุกรานและยึดครองกัมพูชา พ.ศ. 2521 – 2532 รัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยซึ่งรวมเขมร 3 ฝ่ายที่ต่อต้านการยึดครองกัมพูชาของเวียดนามก็ได้เชื้อเชิญให้อาเซียนและสหป ระชาชาติเข้ามาสนับสนุนรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย หรือ CGDK ทำการต่อสู้กับเวียดนามทางการเมืองและการทูต)
      
       และล่าสุดกรณีความขัดแย้งกับไทยในเรื่องเขตแดนและการขึ้นทะเบียนปราส าทพระวิหาร นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ก็ได้หวนกลับมาใช้การพึ่งพานโยบายถ่วงดุลอำนาจอย่างชัดเจน โดยฝ่ายกัมพูชาได้พยายามทำให้ปัญหาขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาแปรสภาพจากกา รเป็นปัญหาทวิภาคีมาเป็นปัญหาของประชาคมระหว่างประเทศอีกด้วย (internationalize bilateral problem) โดยการเปิดเวทีความขัดแย้งที่มีกับไทยให้ขยายกว้างออกไปด้วยการนำประเด็นขัด แย้งที่มีกับไทยไปเสนอต่อเวทีการประชุมระดับโลกและระดับภูมิภาค (เช่น เวทีของการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเวทีการประชุมขององค์การอาเซียน) เพื่อหวังให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้าข้างและเห็นใจกัมพูชา อันถือได้ว่าเป็นการสร้างแนวร่วมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อมากดดันประเทศไทยทางการเมือง และเพื่อเป็นเกราะคุ้มกันให้กัมพูชาในกรณีฝ่ายไทยใช้วิธีการแก้ปัญหานอกกรอบ ของการเจรจา ก็จะมีผลทำให้ประชาคมโลกมองว่าฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรังแกกัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ฝ่ายไทยต้องตระหนักไว้เสมอ
      
       ด้วยเหตุผลสำคัญ กล่าวคือ ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของกัมพูชาในเรื่องนี้คือ การยั่วยุให้ไทยคิดหาทางออกด้วยการออกนอกกรอบของการเจรจา (militarization of foreign policy) ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ย่อมจะทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบทางการเมืองและการทูตทันที ไทยจะรักษาผลประโยชน์แห่งชาติได้จำเป็นต้องควบคุมให้ปัญหาขัดแย้งระหว่างไทย กับกัมพูชาอยู่ในกรอบของการเจรจาระดับทวิภาคี (สองฝ่าย) เป็นสำคัญ ไม่ปล่อยให้บานปลายกลายเป็นปัญหาระดับสากล เพราะโดยธาตุแท้แล้ว ปัญหาเขตแดนและการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเป็นปัญหาทวิภาคี ไม่ใช่พหุภาคี
      
       4.การพึ่งปัจจัยชาตินิยม
      
       ปัจจัยเรื่องของชาตินิยมเป็นเครื่องมือนโยบายต่างประเทศของทุกประเทศ ส่วนจะนำมาใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงื่อนไข บริบทและศักยภาพของแต่ละประเทศในแต่ละยุคสมัย แต่ละห้วงเวลา แต่กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า ช่วง 40 ปีแรกของยุคสงครามเย็น ปัจจัยชาตินิยมได้กลายเป็นอาวุธสำคัญและทรงอานุภาพสูงของกลุ่มประเทศอดีตเมื องขึ้นในทวีปเอเชียและแอฟริกาที่ทำการต่อสู้กับฝ่ายประเทศตะวันตกเจ้าอาณานิ คมเพื่อเรียกร้องเอกราชและอธิปไตย และปัจจัยชาตินิยมได้กลับมามีอิทธิพลสูงอีกครั้งในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือที่ด้อยพัฒนาที่ได้รับผลก ระทบร้ายแรงจากพลังโลกาภิวัตน์ในด้านต่างๆ
      
       ในส่วนที่เกี่ยวกับกัมพูชานั้น ปัจจัยชาตินิยมนับว่ามีอิทธิพลต่อการกำหนดและการดำเนินนโยบายต่างประเทศของก ัมพูชาอย่างมากมาตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของการเมืองภายในกัมพูชาและการเมืองระหว่างประเทศ ดังเป็นที่ประจักษ์ตลอดมาว่าทุกครั้งที่มีการหาเสียงช่วงฤดูการเลือกตั้งในก ัมพูชาทุกพรรคการเมืองจะแข่งขันแสดงความเป็นชาตินิยมเหนือพรรคคู่แข่ง รวมทั้งนำเรื่องของความเจริญรุ่งโรจน์ของอาณาจักรขอมในอดีตมาเป็นเครื่องมือ หาเสียง โดยปลุกระดมประชาชนให้เกิดความรักชาติและความหวังที่จะทำให้กัมพูชากลับมาเป ็นประเทศที่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต
      
       (ในประเด็นนี้สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงพนมเปญถูกเผาเมื่อ 5 ปีก่อน คือตัวอย่างของการตกเป็นเหยื่อของพิษร้ายของปัจจัยชาตินิยม และความขัดแย้งภายในการเมืองของกัมพูชา) และสำหรับความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ครั้งล่าสุดนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ฝ่ายกัมพูชาใช้ปัจจัยชาตินิยมช่วงการหาเสียงเลือกตั้ ง และช่วงมีปัญหาเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารแต่ฝ่ายเดียวของกัมพูชา อันเป็นเครื่องมือสำคัญที่ฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาใช้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของปร ะชาชนกัมพูชาที่มีต่อปัญหาต่างๆ ภายในประเทศไปสู่ภายนอกประเทศ
      
       สรุป
      
       น โยบายต่างประเทศจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นนโยบายต่างประเทศที่รู้เขาร ู้เราอย่างแท้จริงได้ อย่างน้อยที่สุดจำต้องนำความจริงและข้อเท็จจริงที่ปรากฏในข้อ 1 – 4 ข้างต้น มาประกอบการพิจารณาอย่างจริงจัง จึงจะเป็นนโยบายต่างประเทศที่สามารถปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติได้


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000013613

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มีนาคม 2556 เวลา 07:25

    Kids testament Get а pleasаnt-tаsting beneficiаl
    fourth dimеnsion computation for tаsks lіke deѕigning nеw
    dгugs. This is оne is an animal of somе
    genial, аnԁ she hаs tо Ѕtаrtle оvеr poρpycock,
    or bеnd to Forfend being hit by otheг stuff.
    Thеy are usually identical activeness-pаcked,
    сar based eхсlusively on lookѕ,
    beсаuse it doeѕn't look to Regard gameplay in one case the smashing begins.

    My site - froxh.com

    ตอบลบ