จาก The Book of Goals
ไม่มีความรู้สึกใดที่จะมีผลต่อการกระทำ
และทำให้คุณไร้ซึ่งเหตุผลไปได้มากเท่าความกลัว
เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากที่จะเผชิญกับบางสิ่ง เช่นการเลือกอาชีพ การหางานหรือความพยายามจะทำงานให้ดี คนเป็นล้านๆคนทนทำงานที่เขาไม่ชอบต่อไป เพราะสิ่งที่แย่กว่าการทำงานนั้นๆ คือ การหางานใหม่ เหตุใดคนเราจึงรู้สึกกลัว เมื่อเรารู้สึกกลัวแล้วเกิดความแตกต่างอย่างไรลองพิจารณาถึงช่วงเวลาในอดีต สมัยยุคโบราณที่ทั้งชายทั้งหญิงอาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้ระบบทหารที่มีเขี้ยวเสือเป็นอาวุธในการปกครอง มนุษย์ถ้ำเผ่าต่างๆมีปฏิกิริยาต่อเสือ 1 ใน 3 แบบต่อไปนี้ : เผ่าแรกเป็นพวกที่นับถือระบบทหารที่ใช้เขี้ยวเสือเป็นอาวุธศึ่งมีมาแต่ดั้งเดิม ชนเผ่านี้ เมื่อเจอเสือจะพอใจและกล่าวคำยินดีว่า "เจ้าแมวน่ารัก" ชนเผ่านี้สูญพันธุ์ไปหมดในระยะแรก มนุษย์สมัยเราไม่มีความเกี่ยวข้องกับพวกนี้ ต่อมามีอีกชนเผ่า ที่เราเรียกว่า พวกนักรบ เมื่อพวกนี้เจอเสือ จะต่อสู้กับมัน มีชนเผ่านี้อยู่เหลือมาบ้าง และท้ายสุด ก็มีชนเผ่าที่เราเรียกว่า นักบิน (ซึ่งพวกนี้ยังหลงเหลือมากในปัจจุบัน ) เมื่อเห็นเสือจะพูดว่า "เสือ แย่แล้ว" ซึ่งต่อมาพวกนี้ได้เรียนรู้ที่จะต่อสู้หรือหลบหนี
ปฏิกิริยาของมนุษย์แต่ดั้งเดิม คือ "การต่อสู้" หรือ "หลบหนี" ก็ยังคงครอบงำอารมณ์ในชีวิตของเรา เมื่อเราถูกคุกคาม อาจเหมือนกับเราเจอเสือ หรือรถบรรทุกเลี้ยวตัดหน้าเรา หรือเมื่อถูกสัมภาษณ์โดยฝ่ายบุคคล ร่างกายของเราจะตอบโต้ด้วยฮอร์โมน Adrenalin ทำให้เรารู้สึกกลัววิตกกังวล หรือโกรธมาก
ความกลัวและความวิตกกังวลดังกล่าว มีผลกระทบต่อเรา ถึงแม้ว่าเราจะมีความศิวิไลซ์มากเท่าใด เราก็ยังซ่อนความรู้สึกกลัวไว้ภายในอยู่ดี ซึ่งความกลัวดังกล่าวต่อต้านเรา สมมติว่าผมบอกคุณว่า ผมจะจ่ายให้คุณ 10 ดอลลาร์ ถ้าคุณเดินข้ามไม้กระดานที่ผมวางไว้บนพื้น ซึ่งมันกว้าง 6 นิ้ว ยาว 10 ฟุต ใครๆก็เดินได้ สามารถได้เงิน 10 ดอลลาร์ มาอย่างสบายๆ ทีนี้ถ้าผมพาดไม้กระดานอันเดิมไว้ระหว่างตึก 2 ตึก และเสนอราคาให้คุณเพิ่มเป็น 100 หรือ 1000 ดอลลาร์ ทั้งๆที่คุณเดินผ่านไม้กระดานแผ่นเดิม ระยะทางเท่าเดิม คุณจะยอมรับข้อเสนอนี้หรือไม่ ผมพนันว่าคุณคงไม่ยอมรับแน่ๆ จะเห็นได้ว่าคุณมีความกลัว คุณคงหายใจไม่ทั่วท้อง และมีอาการเข่าอ่อน ความกลัวเอาชนะความมั่นใจของคุณได้
สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณคิดที่จะเปลี่ยนอาชีพและหางาน คุณกำลังกลัวความกลัวนี้ ทำให้คุณไม่ยอมตัดสินใจลาออกจากงานที่คุณเกลียด ความกลัวบังคับคุณให้ยอมรับงานแรกที่ผ่านเข้ามา ความกลัวทำให้คุณไม่พยายามจะเปลี่ยนอาชีพ คุณจำเป็นต้องตระหนักว่าคุณกำลังจะจัดการกับสิ่งที่น่ากลัว อารมณ์ของคุณกำลังจะบั่นทอนความสามารถที่จะทำให้คุณทำอะไรอย่างมีสติและเต็มความสามารถ
ในการทำงาน
คุณไม่สามารถขจัดความกลัว ความโกรธ หรืออารมณ์อื่นๆออกไปได้หมดสิ้นเลย แต่คุณสามารถเรียนรู้ที่จะลืมมันไปชั่วขณะเมื่อคุณกำลังมีภาระกิจทีต้องทำอยู่ได้
ลองวัดความเครียดของคุณดู ความกลัวเป็นสิ่งที่ทำให้คุณเครียด และการเปลียนแปลงในเรื่องงานทำให้คุณเครียดได้มากพอๆกับนวนิยายชีวิตหนักๆและเรื่องยุ่งยากอื่นในชีวิต จากสเกลวัดความเครียดของ Thomas H. Holmes และ R.H. Rahe ได้แสดงถึงการวัดความเครียดและความสัมพันธ์ของผลกระทบหลายๆอย่าง ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เราเครียด Holmes และ Rahe ได้ทำนายว่า ถ้าคุณมีคะแนนความเครียด รวมสำหรับช่วง 12 เดือน เกิน 300 คะแนน คุณกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยบางอย่างภายในปีหน้าซึ่งเป็นผลจากความเครียด และแน่นอนที่สุดว่า ถ้าคุณสามารถจัดการกับภาวะความเครียดนี้ได้ คุณจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในชีวิตและสุขภาพของคุณเอง
พวกเราได้เคยรวบรวมสเกล ซึ่งปรากฏอยู่ด้านล่าง และได้พิมพ์เป็นตัวหนาสำหรับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โปรดสังเกตว่าลำดับของการถูกไล่ออกจากงานอยู่ใต้การเสียชีวิตของคู่สมรส หรือการหย่าร้าง การแยกทาง การถูกจำคุก การตายของคนที่สนิทสนมกับครอบครัว การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย และการแต่งงาน
การนำสเกลนี้มาใช้ โดยได้รับอนุญาตจาก Holmes, T.H. และ R.H Rahe แล้ว ซึ่งเรานำมาจากคอลัมภ์ "The social Readjustment Rating Scale" ของวารสาร "Journal of Psychosomatic Research, 11:3; 1967, Pergamon Press ltd., Oxford, England."
สเกลวัดความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต
ลำดับที่ | เหตุการณ์ในชีวิต | แต้ม | คะแนนของคุณ |
1 | การเสียชีวิตของคู่สมรส | 100 | _______ |
2 | การหย่าร้าง | 73 | _______ |
3 | การแยกกันอยู่กับคู่สมรส | 65 | _______ |
4 | การถูกจำคุก | 63 | _______ |
5 | การตายของคนที่สนิทสนมกับครอบครัว | 63 | _______ |
6 | การบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย | 53 | _______ |
7 | การแต่งงาน | 50 | _______ |
8 | การถูกไล่ออกจากงาน | 47 | _______ |
9 | การกลับมาคืนดีกับคู่สมรส | 45 | _______ |
10 | การเกษียณ | 45 | _______ |
11 | การเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว | 44 | _______ |
12 | การตั้งครรภ์ | 40 | _______ |
13 | ปัญหาทางเพศ | 39 | _______ |
14 | การมีสมาชิกใหม่ในครอบครัว | 39 | _______ |
15 | การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ (การรวบบริษัท การล้มละลาย ฯลฯ) | 39 | _______ |
16 | การเปลียนแปลงสถานะทางการเงิน | 38 | _______ |
17 | การเสียชีวิตของเพื่อนสนิท | 37 | _______ |
18 | การเปลี่ยนสายอาชีพ | 36 | _______ |
19 | การเปลี่ยนแปลงความถี่ของการมีข้อโต้เถียงกับคู่สมรส | 35 | _______ |
20 | การจำนองหรือการกู้เงินเกินกว่า 1 ล้านบาท | 31 | _______ |
21 | การถูกยึดทรัพย์สินที่จำนองไว้ หรือเงินกู้ | 30 | _______ |
22 | การเปลี่ยนแปลงภาระความรับผิดชอบเรื่องงาน | 29 | _______ |
23 | การย้ายออกจากบ้านของบุตร | 29 | _______ |
24 | การมีปัญหากับลูกเขย หรือลูกสะไภ้ | 29 | _______ |
25 | ความสำเร็จส่วนตัว | 28 | _______ |
26 | คู่สมรสเริ่มหรือหยุดทำงาน | 26 | _______ |
27 | การเปลี่ยนแปลงสถานะความเป็นอยู่ | 25 | _______ |
28 | การทบทวนพฤติกรรมของตนเอง | 2 | _______ |
29 | การมีปัญหากับนาย | 23 | _______ |
30 | การเปลี่ยนเวลาทำงานหรือภาวะการทำงาน | 20 | _______ |
31 | การเปลี่ยนที่อยู่ | 20 | _______ |
32 | การเปลี่ยนโรงเรียน | 20 | _______ |
33 | การเปลี่ยนการพักผ่อน | 16 | _______ |
34 | การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในโบสถ์ | 19 | _______ |
35 | การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางสังคม | 18 | _______ |
36 | การจำนอง หรือเงินกู้ต่ำกว่า 1 ล้านบาท | 17 | _______ |
37 | การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน | 18 | _______ |
38 | การเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มาพบปะกัน | 15 | _______ |
39 | การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน | 15 | _______ |
40 | วันหยุด | 13 | _______ |
41 | ช่วยคริสมาสต์ | 12 | _______ |
42 | การฝ่าฝืนกฏหมายเล็กๆน้อยๆ | 11 | _______ |
รวม | _______ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น