++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

พัฒนาการแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์มุ่งลดอัตราการป่วย – ตาย จากการทำงาน


กรมการแพทย์รุกงานอาชีวเวชศาสตร์ เน้นถ่ายทอดความรู้ เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงาน พร้อมสร้างเครือข่ายระดับประเทศ นายแพทย์ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมวิชาการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ภายใต้ชื่อ "ใต้ร่มพระบารมี นพรัตนราช-ธานี 25 ปี เพื่อสุขภาพที่ดีของปวงประชา" ว่า ปัจจุบันแนวโน้มการเกิด โรคจากการทำงานมีอุบัติการณ์สูงขึ้น เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดปัญหาอาชีวอนามัยกับทุกกลุ่มอาชีพ ทั้งการเจ็บป่วยชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งนี้จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นโรคจากการท ำงานจำนวน 250 ล้านคน และมีคนตายจากโรคดังกล่าวปีละประมาณ 10 ล้านคน สำหรับในประเทศไทยพบโรคจากการทำงานที่สำรวจโดยกองทุนเงินทดแทนประมาณ 1 หมื่นรายต่อปี จากจำนวนทั้งหมด 7 ล้านคน ซึ่งโรคที่พบมากที่สุดคือ อาการปวดหลัง คอ ไหล่ เอว เข่า สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการนั่งไม่ถูกวิธีหรือยืนเป็นเวลานานเกิน 8 ชั่วโมง ซึ่งถ้ายืนเกิน 3 ชั่วโมงควรนั่งพักบ้างเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนโรคที่เกิดขึ้นรองลงมาคือ โรคผิวหนัง ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น สารเคมี สารพิษ ฝุ่นละออง แสงแดด ความร้อน หรือความเครียด เป็นต้น สำหรับกรมการแพทย์ปฏิบัติงานเชิงรุกด้านอาชีวเวชศาสตร์โดยร่วมมือกับกระทรวง แรงงานจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้านการตรวจรักษาโรคจากการทำงานหรืออาชีวเวชศาส ตร์ขึ้นที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์กลางในพัฒนาวิชาการ การศึกษาวิจัย ห้องปฏิบัติการและฝึกอบรมพยาบาล เพื่อเฝ้าระวัง การเกิดโรคดังกล่าว รวมทั้งการตรวจวินิจฉัย การรักษาการฟื้นฟู และการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย โดยดำเนินการเชิงรุก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีด้วยโรคจากการทำงาน โรงพยาบาลจะมีการติดตามโดยส่งแพทย์และพยาบาลเข้าไปที่สถานประกอบการนั้นเพื่ อค้นหาว่ามีผู้ป่วยรายอื่นด้วยหรือไม่ เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค รวมทั้งวางแผนงานด้านอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากการทำงานกับบุคคลอื่นต่อไป สำหรับทีมงานด้าน อาชีวเวชศาสตร์มีทั้งแพทย์และพยาบาล ซึ่งแพทย์มีหน้าที่วินิจฉัย ตรวจรักษา ฟื้นฟูโรคจากการทำงาน และพยาบาลมีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพป้องกันและดำเนินการและดำเนินงานด้านชีวอน ามัย นอกจากนี้อธิบดีกรมการแพทย์ยังแนะนำว่า สำหรับการป้องกันที่สำคัญคือ การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงที่มี ในโรงงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคจากการทำงานได้ทันท่วงที - ขอขอบคุณ -


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น