++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

อาหารบำรุงสมอง

อาหารมีสำคัญต่อการพัฒนาสมอง ไม่แพ้การพัฒนาทางร่างกาย
เป็นความจริงที่ยอมรับกันทั่วไป พ่อบ้านแม่เรือนหลายคนตระหนักในความ
สำคัญของอาหาร ฉะนั้นเวลาใกล้ สอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบครั้ง
สำคัญ เช่น สอบไล่ สอบเข้าชั้น ประถม 1 ม.1 หรือแม้กระทั่งสอบเข้ามหา-
วิทยาลัย จึงทุ่มเทบำรุงลูกหลาน ปรน เปรอเรื่องอาหารการกินเป็นการใหญ่ หาก
ได้ยินมาว่าอาหารใดช่วยบำรุงสมอง ก็จะสรรหามาทำให้กิน ด้วยหวังว่า
อาหารเหล่านั้นจะช่วยให้ความคิดแล่น ความจำดี สมองโปร่งใส จนทำให้ผลการ
สอบดีขึ้น

อาหารที่เชื่อกันว่าบำรุงสมองมีหลายอย่าง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ น้ำซุป
ไก่ เป็นต้น ที่ขึ้นชื่อที่สุดเห็นจะเป็นปลา ผู้ใหญ่มักชักชวนให้เด็ก กินปลา
โดยอ้างว่าปลาบำรุงสมอง กินปลาแล้วจะฉลาดขึ้น และถ้ากิน หัวปลาได้ก็จะ
ยิ่งฉลาด หากอาหารสามารถบำรุงสมองได้เช่นนั้นจริง คงจะไม่มีเด็กสอบ
ตกถึงปีละล้านคนเป็นแน่ ปลาเป็นอาหารพื้นบ้าน เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่รังเกียจปลา
กินปลาเก่งกันทั้งนั้น หลายคนชอบกินหัวปลามากกว่าพุงปลาด้วยซ้ำ
การเร่งบำรุงเรื่องอาหารตอนใกล้สอบ หรือระหว่างสอบ อาจช่วยให้
เด็กมีสมาธิดีขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่ตามปกติกินนอนไม่เป็นเวลา กินอาหาร
น้อย หรือกินอาหารไม่มีประโยชน์ อาหารอาจช่วยให้ดูหนังสือทน สมอง
ปลอดโปร่ง เนื่องจากท้องอิ่ม ไม่มีความหิวมารบกวนนั่นเอง
แต่จะหวังให้อาหารช่วยให้ฉลาดขึ้น คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะสายเกินไป
เสียแล้ว อาหารช่วยบำรุงสมองได้ในระยะที่สมองเติบโต หรือ ในระยะเริ่ม
แรกของชีวิตเท่านั้น เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน สมองเติบโตเต็ม ที่เสียแล้ว
ไม่ว่า จะทำนุบำรุงเรื่องอาหารเพียงใดก็ย่อมไม่ได้ผล
ความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ ถึงกรรม
พันธุ์จะเป็นตัวกำหนดขีดขั้นของสติปัญญา แต่เด็กจะมีสติปัญญาเฉลียว
ฉลาดได้เต็มขั้นตามที่กรรมพันธุ์กำหนดหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม
อาหารจัดเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่ง เมื่อมีอาหารบริบูรณ์ นั่นคือ มีสาร
อาหารครบถ้วน และในปริมาณที่ร่างกายต้องการ เซลล์สมองสามารถเจริญ
เติบโตได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นรากฐานที่มั่นคง เมื่อได้รับการศึกษา ได้เล่าเรียน
ฝึกฝน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดได้เต็มขั้นตามที่กรรมพันธุ์
กำหนด ตรงกันข้าม เมื่อขาดแคลนอาหารทั้งในด้านปริมาณหรือคุณภาพ
เซลล์สมองไม่อาจเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ การแบ่งเซลล์หรือขนาดของ เซลล์อาจ
น้อยลง เมื่อสมองหยุดเติบโตแล้ว จำนวนเซลล์ในสมองของ เด็กเหล่านี้อาจ
น้อยกว่าเด็กที่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอถึงร้อยละ 15 ถึง 20
อาการเศร้า ซึมและเชื่องช้าที่ปรากฏภายนอก เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้ผลของจำนวน
เซลล์ที่น้อยกว่าปกติ ซึ่งทำให้การรับส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทของสมอง
ช้าลง แม้จะได้รับการศึกษาเล่าเรียน มีโอกาสได้รับการฝึกฝนและอบรม
เท่าเทียมเด็กอื่น ก็ไม่อาจมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเต็มขีดขั้นที่กรรมพันธุ์กำหนด
ได้ หรืออีกนัยหนึ่งถึงพ่อแม่จะฉลาดหลักแหลมเพียงใด
ลูกก็ไม่มีโอกาส ฉลาดเท่าเทียมพ่อแม่ ขบวนการเติบโตของเซลล์สมองมีหล
ายขั้นตอนและซับซ้อน แต่พอจะสรุปได้ดังนี้ ในช่วงแรกซึ่งเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ เซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
แต่มีขนาดของเซลล์คงที่ ต่อมาจะมีทั้งการแบ่งเซลล์และเพิ่มขนาดไปพร้อมๆ
กัน ในขณะเดียวกันเซลล์ก็จะเริ่มสะสมโปรตีน จนกระทั่งได้ขนาดใหญ่เต็มที่
เมื่ออายุครบ 1 ขวบ จำนวนเซลล์สมอง ของเด็กจะเท่ากับของผู้ใหญ่
การขาดอาหารในช่วงที่เซลล์สมองแบ่งตัว จึงมีผลยั่งยืนไปตลอด ชีวิต
การทำนุบำรุงด้วยอาหารภายหลังจะไม่ช่วยให้จำนวนเซลล์มากขึ้น แต่ถ้าขาด
อาหารในระยะที่เซลล์เติบโตหรือขนาดของเซลล์ใหญ่ขึ้นการ เสริมอาหารใน
ช่วงนั้น โดยให้อาหารที่มีโปรตีนสูงจะช่วยให้เซลล์ที่มีอยู่แล้วมีโอกาสเติบโต
ขึ้นได้ เต็มที่ แต่ไม่อาจเพิ่มจำนวนเซลล์ได้
ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าการขาดอาหารมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสมองตั้ง
แต่ก่อนเด็กเกิด นับตั้งแต่ปฏิสนธิขึ้นในครรภ์ของแม่เลยทีเดียว

อาหารบำรุงสมองของเด็กจึงเป็นอาหารในระยะตั้งครรภ์ของแม่ และ
อาหารของเด็กแรกเกิดจนอายุครบหนึ่งปี
ในขณะตั้งครรภ์ จึงไม่ควรอดอาหารเพื่อลดความอ้วน หากตาม ปกติ
กินอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่เคยเอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน
ต้อง เร่งทำนุบำรุงร่างกายเป็นพิเศษ อย่างน้อยที่สุดต้องกินอาหารหลักให้ครบทั้งห้าหมู่
เพิ่มอาหารที่ให้โปรตีนสูง ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ และนม หากมีรายได้น้อย อาจ
พึ่งโปรตีนจากถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถึงจะกิน
นมวัวไม่ได้เพราะท้องเสีย ควรเลี่ยงไปกิน นมถั่วเหลืองแทน
อาหารบำรุงสมองของทารกแรกเกิดที่ดีที่สุดก็คือ นมแม่ หากไม่
สามารถให้นมลูกได้ อาจพึ่งนมกระป๋อง แต่ต้องไม่ใช่นมข้นหวาน ซึ่งขาดโปรตีน
เมื่อเด็กอายุครบ 6 เดือนแล้ว ควรให้อาหารเสริม ซึ่ง ไม่ใช่ข้าวกับกล้วยเท่า
นั้น ควรหัดให้เด็กกินไข่ เนื้อ ปลา ผัก และผล ไม้ต่างๆ
และถือโอกาสปลูก ฝังนิสัยการกินที่ดีเสียตั้งแต่เนิ่นๆ
หากในระยะตั้งครรภ์ และในปีแรกของชีวิต ไม่ได้เอาใจใส่ทำนุบำรุง
สมองของเด็ก เมื่อเด็กสอบตกซ้ำชั้น ย่อมโทษเด็กหรือโทษครูไม่ได้เต็มปาก
คงต้องโทษตัวเองมากกว่า พ่อบ้านแม่เรือนที่กำลัง
จะมีลูก หรือลูกอายุไม่ครบขวบ ขณะนี้ยังไม่สาย
เกินไปที่จะให้อาหารบำรุงสมอง สำหรับเด็กที่อายุเลยช่วงนี้ไป แล้ว ถึงแม้จะ
สายเกินที่จะบำรุงสมองไปแล้ว แต่อาหารก็ยังช่วยให้ลูก หลานมีสมาธิดีดู
หนังสือทน สมองปลอดโปร่ง ทั้งความเอาใจใส่ของพ่อแม่ที่แสดงออกด้วย
การดูแลเรื่องอาหาร ก็จะเป็นกำลังใจช่วยส่งให้ เขาผ่านพ้นระยะวิกฤติใน
ระหว่างการสอบไปด้วยดี โดยคุณ :อรวินท์ โทรกี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น