++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2550

ปรัชญาแพทย์จีน การทำงานคู่กันของสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน

ปรัชญาแพทย์จีน ที่น่าสนใจก็คือการทำงานคู่กันของ
สิ่งที่มีลักษณะตรงกันข้ามแตกต่างกัน แต่กลับทำงานร่วมกัน ส่งเสริมซึ่งกัน
และกัน นั่นคือ ปรัชญาแห่งหยิน-หยาง อวัยวะภายในร่างกายคนเรานั้น
ทำงานเป็นคู่โดยลักษณะของคู่ที่แตกต่างกันของรูปร่าง อวัยวะตัน มีคู่เป็น
อวัยวะกลวง อวัยวะตันเป็นหยาง แต่มีพลังเป็นหยิน อวัยวะกลวงเป็นหยิน
แต่มีพลังเด่นเป็นหยาง แพทย์จีนจึงได้ค้นพบการทำงานของอวัยวะภายใน
แบ่งกัน เป็น 5 คู่ ดังนี้
อวัยวะตัน
อวัยวะกลวง
ปอด
ลำไส้ใหญ่
หัวใจ
ลำไส้เล็ก
ไต
กระเพาะปัสสาวะ
ม้ามตับอ่อน
กระเพาะอาหาร
ตับ
ถุงน้ำดี
หน้าที่
ของอวัยวะภายในในทัศนะแพทย์จีน
ปอด-หายใจเอาอากาศและก๊าซออกซิเจนไปใช้ในการ
ฟอกเลือด ในขณะที่ลำไส้ใหญ่ทำงานคู่กับปอด
ในการขับถ่ายอุจจาระ
และทำหน้าที่ช่วยฟอกเลือด
โดยการซึมซับน้ำตามผนังลำไส้ใหญ่
หัวใจทำงานคู่กับลำไส้เล็ก (อวัยวะกลวง)
หัวใจทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมเลือดและจุดแก่นในการ
ขับเคลื่อนเลือดกระจายออกสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ในขณะที่ลำไส้เล็กช่วยดูดซึมสารอาหารและแปรรูป
เป็นวัตถุดิบในการสร้างเม็ดเลือดเป็นจุดเริ่มต้นของเลือด
ไตทำงานคู่กับกระเพาะปัสสาวะ (อวัยวะกลวง)
ไตมีส่วนสำคัญในการฟอกเลือดและสกัดกลั่นน้ำจากเลือดเพื่อควบคุมคุณ
สมบัติของเลือดให้มีเกลือแร่ที่สมดุล
ในขณะที่กระเพาะปัสสาวะทำงานควบคู่กับไตในการช่วยมีส่วนในการกำจัด
ส่วนเกินของเหลวและน้ำออกจากร่างกาย
ในรูปของปัสสาวะ
กระเพาะอาหาร (อวัยวะกลวง)
ทำงานคู่กับม้ามในการมีส่วนในการสกัดน้ำตาลอันเป็นวัตถุดิบของแหล่งพลังงานในร่างกาย
โดยกระจายสู่เซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ โดยการผลิตและขับดันสารอินซูลินและสาร
กลีโคเจน (Glycogen) ในขณะที่กระเพาะทำหน้าที่ช่วยแยกน้ำตาลออกจากอาหาร เมื่อผ่านสู่
กระเพาะ โดยกระบวนการช่วยของน้ำย่อย ตับทำหน้าที่ควบคู่กับถุงน้ำดี (อวัยวะ
กลวง)
โดยตับช่วยสกัดกลั่นกรองสารที่เป็นหยิน
เช่น ไขมัน น้ำตาลจากเลือดและปรับเปลี่ยนให้
เป็นน้ำดีในขณะที่อวัยวะกลวงที่เป็นถุงน้ำดี
ช่วยเก็บสะสมน้ำดีเพื่อเอาไว้ใช้ในการละลายไขมัน
การทำงานเป็นคู่ของอวัยวะภายในของร่างกายนี้ถือเป็น
วิสัยธรรมชาติที่สร้างสิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะขัดแย้งกัน
แต่ทำงานร่วมกัน และดำรงอยู่ได้ภายใต้ความขัดแย้ง
ด้วยปรัชญาหยิน-หยาง ของขั้วพลังปฐมภูมิในธรรมชาติ
ทำให้รูปร่างของสิ่งต่างๆ อาจดูแตกต่างกัน
แต่ด้วย ความแตกต่างนี้เองกลับส่งเสริมและสัมพันธ์ในแง่ของ
การอุปถัมภ์และเกื้อกูลเพื่อดำรงความเป็น
หนึ่งเดียวกันในที่สุด จากปรัชญาหยิน-หยางนี้ทำให้แพทย์จีนสามารถ
ค้นพบวงจรของการหมุนเวียนของพลัง เมื่อจุติและปรากฏเป็นสสารหรือธาตุ
อันเป็นแนวทาง นำไปสู่การทำงานครบวงจรของธาตุทั้ง 5 คือ
ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุโลหะ ธาตุน้ำ
ซึ่งกลายเป็นธาตุภูมิประจำตัวของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับ
อิทธิพลจากการปรับเปลี่ยนของพลังธรรมชาติที่มีฤดูกาล
และภูมิอากาศ ภูมิประเทศ รวมทั้งปัจจัยของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง
จึงเป็นต้นกำเนิดของตระกูลพืชนานาชนิด อันเปรียบเป็นบุพการีของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
คือตระกูลสิ่งมีชีวิตที่มีเลือดเป็นสารจำเป็นในการดำรงชีพ
ในขณะที่เลือดนี้ เองเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งที่มีวิญญาณเป็นพลังขั้นละเอียดสุด
เลือดและจิตวิญญาณและความฝัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประกอบในตัวมนุษย์ให้
คนเราจำเป็นต้องศึกษา ค้นคว้า หาคำตอบให้กับคำถามที่ทุกคนต้องถามตน
เองในใจอยู่เสมอว่าทำไมเราจึงเกิดมาเป็นมนุษย์
และหน้าที่ที่แท้จริงของมนุษย์เราคืออะไร?
โดยคุณ : ภูมิปัญญาตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น