++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ในขณะที่หลายคนต่างยินดีกับการครบรอบ 80 ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ... พวกเขาเหล่านั้น เคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า 80 ปี ผ่านมาประชาชนได้อะไร...?


พระองค์ทั้งสอง มองการณ์ไกล บ้านเมืองไว้มิผิดจริงๆๆ...
***บทความควันหลง
ในขณะที่หลายคนต่างยินดีกับการครบรอบ 80 ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ... พวกเขาเหล่านั้น เคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า 80 ปี ผ่านมาประชาชนได้อะไร...? /@มิน h

หวงอำนาจ vs ชิงสุกก่อนห่าม
โดย ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง

การจัดงานรำลึกครบรอบ 80ปีวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เพิ่งผ่านไป มีความพยายามหาคำตอบว่า ประชาธิปไตยไทยในรอบ 80 ปีที่ผ่านมาก้าวหน้าไปถึงขนาดไหน คุ้มกับที่ต้องใช้เวลามา 80 ปีแล้วหรือไม่อย่างไร มีความพยายามกล่าวหาว่า พระมหากษัตริย์ในช่วงเวลานั้น “หวงอำนาจ” จึงทำให้เกิดคณะก่อการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตย ขณะเดียวกันก็มีคำถามใหม่เกิดขึ้นว่า ที่ประชาธิปไตยไม่พัฒนาเท่าที่ควรเป็นเพราะการ “ชิงสุกก่อนห่าม” หรือเปล่า
วันนี้จึงต้องเอาเรื่องประวัติศาสตร์มาเขียนซึ่งสรุปได้ว่า พระมหากษัตริย์ไทยขณะนั้นมีความรู้เรื่องประชาธิปไตยเป็นอย่างดี ในหลวงรัชกาลที่ 5 มีความรอบรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างดีเพราะเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศที่จะให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยจากลัทธิล่าอาณานิคม สิ่งที่ทรงห่วงมากที่สุด คือ การศึกษาของประชาชนที่ยังไม่รู้เรื่องและยังไม่พร้อมในการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2427 พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการรวม 11 คน กราบบังคมทูลถวายแผนการปฏิรูปการเมืองให้ประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตยตะวันตกความยาวถึง 60 หน้า ซึ่งพระองค์ไม่ได้ถือโทษโกรธขึ้งแต่ประการใด ในพระราชสาส์นตอบคณะดังกล่าว ทรงชี้แจงผู้ร่วมคิดการกลุ่มนี้ให้เข้าใจสถานะของบ้านเมืองขณะนั้น ความควรไม่ควรประการใด จังหวะเวลาที่เหมาะสม
ในพระราชสาส์นตอบสะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ท่านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยอย่างดี ทรงเน้นว่าไม่เคยที่จะยึดอำนาจไว้แบบ “แอบโซลูต โมนากี” และเห็นด้วยเรื่อง “คอนสติตูชาแนล โมนากี” โดยให้มี “คอนสติติวชัน” มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่าง “ลิยิสเตอตีฟ เคาน์ซิล” กับ “เอกเสกคิวตีฟ” มี “คาบิเนต” บริหารประเทศ ให้มี “คอเวอนเมนต์ รีฟอม” สิ่งหนึ่งที่ทั้งพระองค์ท่านและผู้เสนอมีความเห็นตรงกันประการหนึ่งคือ ยังไม่ถึงเวลาให้มีการการเลือกตั้งผู้แทนในลียิสเลตีฟ เคานซิล เพราะประชาชนยังไม่พร้อม
ในหลวงรัชกาลที่ 6 ซึ่งศึกษาจากอังกฤษ มิได้โปรดที่จะมีอำนาจเพื่อพระองค์เอง ทรงนิยมระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ ถ้าทรงคิดแต่ทางทฤษฏีเท่านั้น พระองค์ก็ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2454 แล้ว แต่ได้รับคำแนะนำจากท่านผู้ใหญ่คนไทย และที่ปรึกษาอังกฤษและอเมริกันว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ที่จะออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนในรัฐสภาที่จะให้ได้ประโยชน์ส่วนรวมแก่ชาติโดยแท้จริง อย่างไรก็ดี ทรงเตรียมการด้วยการฝึกอบรมให้พวกปัญญาชน หรือ อินเทลลิเจนเซีย ซึ่งจะต้องบริหารประเทศต่อไปมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย ด้วยการตั้ง “ดุสิตธานี” เป็นเมืองจำลองสำหรับฝึกงานประชาธิปไตย โดยมี “คณะนคราภิบาล” บริหาร มีพรรคการเมืองชื่อ “โบว์น้ำเงิน” และพรรค “โบว์แดง” แต่ละพรรคมีหนังสือพิมพ์ของตนเอง คือ “ดุสิตสมัย” และ “ดุสิตรีคอร์ดเดอร์” หาเสียงแข่งกันให้ได้รับเลือกเข้าไปใน “สภานคราภิบาล”
สิ่งที่ทรงห่วงคือ ถ้าประชาชนไม่มีการศึกษา จะไม่เข้าใจระบอบนี้ แทนที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย อาจกลายเป็นระบอบ “คณาธิปไตย” ซึ่งน่าจะเป็นภัยอยู่ไม่น้อย อาจเป็นเครื่องมือหากินของชนกลุ่มหนึ่งที่จะนำความเสื่อมมาสู่ชาติ และเป็นภัยแก่ชาติอย่างใหญ่หลวงได้ ในที่สุด ความห่วงในของพระองค์ได้ปรากฎเป็นจริงมาจนถึงทุกวันนี้
หลังจากครองราชย์ได้เพียงปีเดียว ได้มี “ คณะผู้ก่อการ ร.ศ.130” ซึ่งประกอบด้วยทหาร พลเรือน เตรียมก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทั้งหมดถูก พล.อ.เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาท กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ พระอนุชาและองค์รัชทายาท จับกุมได้ทั้งหมด
ในหลวงรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงศึกษาที่อังกฤษเช่นกัน ได้เตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้แล้วโดยเมื่อปี 2472 ให้กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศไปศึกษาเตรียมการ ต่อมา ได้ให้พระยาศรีวิศาลวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) กับ นายเรมอนด์ สตีเวนสัน ที่ปรึกษาอเมริกัน ได้ร่างรัฐธรรมนูญถวาย ระหวางที่เสด็จรักษาพระเนตรที่สหรัฐ พระองค์ทรงกล่าวกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศเป็นนัยว่าอาจพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนไทยในเร็ววันนี้ พระองค์มีแผนจะพระราชทานในวันที่ 6 เมษายน 2475 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 150 ปีการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เมื่อนำเข้าปรึกษากับอภิรัฐมนตรี ได้มีทั้งผู้เห็นด้วยและคนคัดค้าน คนที่ค้านให้เหตุผลเรื่องต้องให้การศึกษาแก่ประชาชนจนมีความรู้ความเข้าใจก่อน จึงทรงระงับไว้จนคณะราษฎรยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยที่พระองค์ท่านทรงทราบความเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้มาโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางแต่อย่างใด
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ทำให้นึกไปถึงพระราชดำรัสเมื่อสละราชย์ที่ว่า “ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร” ช่างเหมือนกับเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้เสียจริง
พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตไม่ได้คิดเฉพาะ “ทฤษฎี”ประชาธิ ปไตยเท่านั้น แต่ทรงคิดถึงความเป็นจริงทาง “ปฏิบัติ” ด้วย นี่คงเป็นคำตอบชัดเจนที่ว่าทรงหวงอำนาจจริงหรือไม่ ส่วนใครจะชิงสุกก่อนห่ามหรือไม่ก็ว่ากันไป เพราะเราไปแก้ประวัติศาสตร์ไม่ได้
ก่อนจบบทความนี้ มีข่าวดีมาบอกท่านผู้อ่าน กล่าวคือ คืนวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 เวลา สี่ทุ่มครึ่ง ลองเปิดโทรทัศน์ ททบ.ช่อง 5 จะพบรายการดี ๆที่มียี่ห้อ “กันตนา” เป็นประกัน นอกจากนั้น ลองคลิ๊กเข้าไปดูในเว็บไซต์ www.รวมใจไทยเป็นหนึ่ง.com ท่านจะพบคลิปวีดีโอสั้น ๆ ที่หลายคลิปเมื่อท่านดูแล้วอาจน้ำตาซึมโดยไม่รู้สึกตัวและสงสัยว่าทำไมคนไทยจึงรักพระเจ้าอยู่หัวมากมายถึงขนาดนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น