++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

นักเศรษฐศาสตร์ สธ.ชำแหละ “สิทธิรักษาฟรี-ขรก.-ประกันสังคม”

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
นักเศรษฐศาสตร์ สธ.ชำแหละข้อต่าง “สิทธิรักษาฟรี-ขรก.-ประกันสังคม” แนะรัฐควรตอบคำถามความเท่าเทียมให้ได้ ก่อนเดินหน้าแก้ปัญหา

นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณ สุข กล่าวถึงแนวคิดการโอนผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมให้อยู่ในความดูแลของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่ที่ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะทำอย่างไร ให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบบริการสาธารณสุขลดน้อยลง จนหมดไปในที่สุด อย่างปัจจุบันมีผู้ประกันตนอยู่ในระบบ 9.7 ล้านคน ขณะที่สิทธิโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือสิทธิรักษาฟรีมีคนในระบบสูงเกือบ 48 ล้านคน และสิทธิสวัสดิการข้าราชการมีคนอยู่ในระบบประมาณ 5 ล้านคน โดยมีเพียงผู้ประกันตนเท่านั้นที่ต้องจ่ายเงินสมทบร่วมกับภาครัฐและนายจ้าง ขณะที่สองสิทธิที่เหลือไม่ต้องจ่ายเงินแต่ได้รับการรักษาที่มากกว่า

นพ.พงศธร กล่าวว่า นอกจากผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบแล้ว สิทธิประโยชน์ยังด้อยกว่ามาก เห็นได้ชัดจากสิทธิในการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเบิกค่ารักษา พยาบาลได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ขณะที่สิทธิบัตรรักษาฟรี และสวัสดิการข้าราชการไม่จำกัด และหากเทียบกับสิทธิรักษาพยาบาลของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่ได้รับเงินเหมาจ่ายรายหัวคนละ 20,000 บาท ยิ่งถือว่าด้อยกว่ามาก เทียบไม่ได้กันเลย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้ประกันตนในปัจจุบันไม่ต่างอะไรกับประชากรชั้น 5 ซึ่งแม้แต่คนรอพิสูจน์สถานะยังมีสิทธิรักษาพยาบาลที่ดีกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งหากมองในแง่ของงบประมาณค่ารักษาพยาบาลที่อุดหนุนรายปีให้แก่ระบบบริการ สุขภาพต่างๆ จะพบว่า ระบบสวัสดิการข้าราชการ รัฐอุดหนุนเงินค่ารักษาพยาบาลสูงเกือบ 70,000 ล้านบาท ขณะที่มีคนในระบบเพียง 5 ล้านคน ส่วน สปสช.รัฐอุดหนุนเงินในระบบ 120,000 ล้านบาท มีคนในระบบ 48 ล้านคน และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีคนอยู่ในระบบ 9.7 ล้านคน แต่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐเพียง 7,100 ล้านบาท สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่รัฐควรตอบให้ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น