๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยสำหรับผู้ที่เห็นโทษของกิเลส เห็น
โทษของความวุ่นวายในเพศคฤหัสถ์ ออกบวชเป็นบรรพชิต การกระทำและความเป็น
อยู่ของท่านจึงต่างจากคฤหัสถ์ การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับบรรพชิตต้องเป็น
เวลาที่สมควรคือ ตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงเที่ยงวัน เลยเวลาเที่ยงไปเรียกว่าเวลาวิกาล เป็น
เวลาที่ไม่สมควรในการบริโภค อาหารสำหรับนักบวชทั้งหลาย และอาหารที่บริโภคใน
เวลาที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ บางท่านฉันเพียงมื้อเดียวก็
อยู่ได้เพราะเพศบรรชิตไม่ต้องทำกิจการงานหนักเหมือนคฤหัสถ์ เพียงศึกษาพระธรรม
วินัยและปฏิบัติขัดเกลากิเลสเท่านั้น
๒. จิตของเราปุถุชนในชีวิตประจำวันโดยมากเป็นไปกับอกุศล ถ้าเห็นสิ่งที่ดีก็
ชอบเป็นโลภะ ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ดีก็เกิดโทสะ เมื่อพบกับคนที่น่าสงสาร เราก็สงสาร
ขณะนั้นจิตเศร้าหมองขุ่นใจ เป็นประเภทโทสะ เป็นอกุศล ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้
หลายนัย ว่าเมื่อพบกับคนยากจนเข็ญใจมีความทุกข์ ควรพิจารณาอย่างไร เช่น
พิจารณาว่าสังสารวัฏอันยาวไกลนี้ แม้เราก็เคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว หรือเกิดความ
กรุณาเขา ช่วยเหลือเขาหรือพิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นต้น
..."ความเป็นผู้รู้ประมาณ ความไม่หลงติดในโภชนะเป็นความดี ด้วยว่า
บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔
บุคคลผู้รู้จักประมาณเท่านั้น ย่อมไม่จมลงในอบายทั้ง ๔..."
(ภิกษุ) บริโภคของสดหรือของแห้ง ไม่ควรให้อิ่มเกินไป เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จัก
ประมาณในอาหาร มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่ ๔-๕ คำก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำแทน
เป็นการเพียงพอเพื่อจะอยู่อย่างผาสุก
สำหรับ (ภิกษุ) ผู้มีจิตตั้งมั่น เวทนาของ (ภิกษุนั้น) ผู้เป็นมนุษย์ มีสติอยู่ทุกเวลา
ผู้ได้โภชนะแล้วรู้จักประมาณ ย่อมเป็นเวทนาที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อยๆ ย่อยไป
เลี้ยงอายุ บุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหารเพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไป เหมือน
บริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร เหมือนใช้น้ำมันหยอดเพลารถฉะนั้น บุคคลผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในโภชนะ กระทำกรรมอันลามกด้วยอำนาจความอยากในรส ย่อมจมลงใน
อบายทั้ง ๔ ส่วนชนเหล่าใดย่อมรู้จักประมาณในโภชนะ ชนเหล่านั้นย่อมไม่จมลงทั้ง
ในทิฏฐธรรม (ความเป็นไปในปัจจุบัน ภพนี้) ทั้งในสัมปรายภพ
สุกชาดกที่ ๕
ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔
หน้า ๔๐ - ๔๕
การที่มีผู้กล่าวว่า ร่างกายคนเราต้องการอาหาร ๓ มื้อนั้น ขอให้พิจารณาด้วยนะ
คะว่าเป็นความจริงแท้แน่นอนหรือเปล่าค่ะ ไม่ใช่ว่ามีนักวิชาการคนใดคิดขึ้นก็ใช่ว่าจะ
เหมาะควรเหมือนกันทุกคนไป ดิฉันเชื่อว่าการรับประทานอาหารนั้นก็เพื่อประโยชน์ใน
การยังชีวิตให้เป็นไป ควรรับประทานเมื่อหิวเท่านั้น บางท่านอาจแค่วันละมื้อก็พอ บาง
ท่านอาจเพียง ๒ มื้อ ตามความเหมาะสมแตกต่างกันไป ปัจจุบันนี้เราไปเน้นกันมากใน
เรื่องรับประทานให้เยอะให้มาก เดี๋ยวไม่แข็งแรง แล้วก็ติดกันมากว่าต้องให้อร่อย ยิ่ง
อร่อยก็ยิ่งรับมาก กระเพาะอาหารและอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารก็ทำงานหนักตามไป
อาหารเลี้ยงชีวิตที่มากเกินไปก็ไม่ใช่ก่อให้เกิดผลดี ทำให้อึดอัดไม่สบาย เป็นทุกข์กาย
ได้ แล้วก็สะสมพอกพูน ทั้งอาหารส่วนเกิน ทั้งนิสัยชอบรับประทานมาก ทำให้ไม่รู้จัก
อิ่ม การรู้จักประมาณในการบริโภค เป็นการขัดเกลากิเลสที่ติดข้องมากมายในแต่ละวัน
--
ข้าวมื้อเช้าบำรุงฉันเพื่อกำจัดความหิว
ข้าวมื้อเที้ยงบำรุงกายให้เป็นไป
ข้าวมื้อเย็นบำรุงกาม...จึงพระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ค่ำวันหนึ่งพระสงฆ์ก็บิณฑบาตตามปกติ คือ การบิณไปเรื่อยไม่เฉพาะเจาะจง ว่าจะไปรับอาหารที่ไหน ใครมีศรัทธาก็ตักบาตรตามมีตามเกิด ไม่กำหนดว่าอาหารอะไรก็อย่าง พระสงฆ์รูปหนึ่งก็บิณฑบาตรไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านหลังหนึ่งมีลักษณะยกพื้นสุงมีประตูสองด้านมองเห็นคน เดินสัญจร ไปมาวันนั้นลูกสาวของบ้านนั้น กำลังปรุงอาหารเย็นอยู่ในครัว บริเวณภายนอกมืดสนิทแล้ว เวลาจะมองอะไร ต้องใช้ไฟส่อง หรือที่เรียกกันว่า เข้าไต้เข้าไฟแบบสมัยโบราณพระสงฆ์ไปถึงบ้านนั้น จึงเลือกยืน ณ บริเวณหน้าประตูครัวด้านหนึ่ง ขณะที่ยืนอยู่ในที่มืดนั้น ฟ้าแลบแปลบ ปลาบขึ้นมา ลูกสาวเจ้าของบ้านหันมองไปทางแสงฟ้าแลบพอดีเห็นพระสงฆ์ยืนอยู่ ตกใจสุดขีดคิดว่าผีหลอกจึงสาดน้ำล้างจาน ใส่จนเปียกปอน ข่าวพระสงฆ์ถูกชาวบ้านสาดด้วยน้ำล้างจานในเวลาวิกาล แพร่ไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งความทราบถึงองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเรียกประชุมพระสงฆ์จำนวนห้าร้อยรูปในธรรมสภา ทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ได้แสดงความเห็น กันอย่างกว้างขวางในเรื่องนี้ สุดท้ายก็มีบทสรุปว่า พระสงฆ์ไม่พึงฉันอาหารในเวลาวิกาลคือตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบัญญัติว่า พระภิกษุสามเณรไม่พึงฉันอาหารในเวลาวิกาล และได้ถือปฏิบัติกันตั้งแต่นั้นมา เพื่อเป็น การรบกวนพุทธศาสนิกชนให้น้อยที่สุด เพราะพระพุทธเจ้าทรงย้ำเตือนอยู่บ่อยๆว่า พระสงฆ์พึงทำตนเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่ เบียดเบียนใครๆให้ลำบาก
นี้คือความเป็นมาของบทบัญญัติที่ว่า ทำไมพระสงฆ์จึงไม่ฉันอาหารในเวลาวิกาล หรือที่พูดกันง่ายๆว่า พระไม่กิน ข้าวเย็น จริงๆหากเป็นเวลบ่ายไปแล้วก็กินไม่ได้ ตามพระพุทธบัญญัตินี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น