++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

อะไรคือความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดของมนุ ษชาติ?

เคยมีคนตั้งคำถามกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในประเด็นที่คล้ายกับชื่อบทความนี้ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด?”

ผู้ถามคงมีเจตนาที่จะให้ท่านวิจารณ์ตนเอง เพราะผลงานของท่านมีส่วนสำคัญในการประดิษฐ์ระเบิดปรมาณูที่สร้างความเสีย หายอย่างยับเยินและยาวนานให้กับประเทศญี่ปุ่น

ท่านตอบอย่างหน้าตาเฉยว่าคือ “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”

ผมไม่คิดว่าไอน์สไตน์จะแกล้งเปลี่ยนประเด็นให้พ้นตัว แต่เพราะท่านไม่ได้เป็นเพียงแค่นักวิทยาศาสตร์ ท่านเข้าใจการพัฒนาสังคมมนุษย์เป็นอย่างดี

ภายใต้เครื่องมือที่เรียกว่าสูตรดอกเบี้ยทบต้นนั้น มันสามารถทำให้ใครก็ตามที่เริ่มต้นเป็นหนี้เพียง 100 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน หนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.63 ล้านบาท (ตัวเลขไม่ผิดครับ) ในเวลาเพียง 60 เดือนเท่านั้น

ท่านผู้อ่านอาจจะคิดว่า อัตราดอกเบี้ยที่ผมยกมานั้นสูงเกินไป แต่แม่ค้าที่มาออกทีวีไทยในรายการ “ตอบโจทย์” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า แม่ ค้าเสียดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อวัน เสียด้วยซ้ำ คราวนี้เราคงเริ่มเห็นคล้อยตามคำตอบของไอน์สไตน์แล้วนะครับ ระเบิดปรมาณูนั้นเพิ่งแผลงฤทธิ์ไปเพียงสองครั้งเท่านั้น แต่สูตรดอกเบี้ยทบต้นนั้นแผลงฤทธิ์ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดราชการหรือวัน นักขัตฤกษ์

อย่างไรก็ตาม คำตอบนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว เพราะไอน์สไตน์ได้เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2498 ในช่วงเวลาเกือบ 60 ปีมานี้ โลกเราได้เปลี่ยนแปลงไปเยอะมากแล้ว ถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่ คำตอบอาจจะเป็นอย่างอื่นก็ได้

ต่อคำถามคล้ายที่กันว่า “อะไรคือความผิดพลาดครั้งใหญ่ ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษชาติ?” ในที่นี้ผมขอนำคำตอบของ Sir Nicholas Stern อดีตรองประธานธนาคารโลก มาตอบแทนว่า คือ “ความ ผิดพลาดทางการตลาดที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก)”

ประโยคในฉบับภาษาอังกฤษคือ “Climate change is the greatest market failure the world has seen.”

มีประเด็นที่ต้องทำให้กระจ่าง 2 อย่างคือ (1) ทำไมการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศหรือที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า “ปัญหา โลกร้อน” นั้นจึงมีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด และ (2) ทำไมปัญหาโลกร้อนจึงเป็นความผิดพลาดทางการตลาดที่ใหญ่ที่สุดทางการตลาด

ประเด็นแรก งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร “Nature” (3 ก.ย. 2008) ระบุว่า “ถ้าอุณหภูมิของน้ำที่ผิวบนของทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส จะทำให้ความถี่ในการเกิดพายุ (ชนิดความเร็วระดับสูงสุดและรองสูงสุด) ถึง 31% คือจะเพิ่มขึ้นจากปีละ 13 ลูกเป็น 17 ลูก ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2100 อุณหภูมิของน้ำทะเลจะเพิ่มเป็น 2 องศาเซลเซียส”

รายงานอีกชิ้นหนึ่งที่ศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ประกัน ภัยของบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอังกฤษ (ชื่อย่อว่า CGNU) ได้ศึกษาและทำนายอนาคตไว้อย่างน่ากลัวมากว่า “ความสูญเสียจาก ภัยธรรมชาติทั่วโลกในปี ค.ศ. 2065 (หรืออีก 54 ปี) จะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลกรวมกัน” นั่นแปลว่าทรัพย์สินที่อุตส่าห์หามาได้ตลอดชีวิตจะหายไปในพริบตา เรื่องนี้พ่อค้าหลายรายในอำเภอหาดใหญ่ทราบซึ้งดี

ไม่เพียงความถี่และความรุนแรงของพายุเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลทะเลอันดามันของไทยระบุว่า ปะการังในหลายพื้นที่ตายไปเป็นจำนวนมากเพราะอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น บางบริเวณตายเกิน 90% หรือ 100% ซึ่งจะนำความสูญเสียมาสู่ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการประมง

พร้อมๆ กันนี้ หนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษรายงานว่า “ความ อุดมสมบูรณ์ของผึ้งที่พบกันทั่วไปในสหรัฐอเมริกา 4 ชนิดลดจำนวนลงถึง 96% ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา” โดยที่ผึ้งเป็นผู้ผสมเกสรให้แก่พืชเศรษฐกิจของโลกถึง 90% นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่อาจจะทำให้โลกขาดแคลนธัญพืชในอนาคต

กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศออสเตรเลีย (ที่ไม่ค่อยมียุง) ได้ทำโปสเตอร์รณรงค์ชิ้นหนึ่งความว่า “โลก ร้อน คนไม่ชอบ แต่ยุงชอบ” และ “คนเราถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น 2 องศา เราก็แย่แล้ว ถ้าโลกเราร้อนขึ้น 2 องศา โลกก็สาหัสเช่นกัน”

ประเด็นที่สอง เรื่องความล้มเหลวทางการตลาด คืออะไร?

สถาบันทางนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกต่างสรุปตรงกันว่า สาเหตุของโลกร้อนนั้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิ ลซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติมากถึง 66% ของสาเหตุทั้งหมด แล้วมันเกี่ยวกับความผิดพลาดทางการตลาดตรงไหน ?

ก็เพราะพ่อค้าเชื้อเพลิงฟอสซิลได้สมคบกับรัฐบาลให้การสนับสนุน ส่งเสริม โฆษณา รวมทั้งใช้เงินวิจัยจากภาษีของประชาชนให้ชาวโลกหันมาใช้แหล่งพลังงานที่มี จำนวนจำกัด ขณะเดียวกันก็ละทิ้งแหล่งพลังงานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ คือพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มีมากมายไม่จำกัด ส่งผลให้ปริมาณพลังงานฟอสซิลลดลงอย่างรวดเร็วแต่ราคาสูงขึ้น

ที่สำคัญกว่านั้น พลังงานฟอสซิลได้ส่งผลกระทบจนถึงขั้นเกินขีดจำกัดเชิงนิเวศน์ (ecological limit) ดังที่กล่าวมาแล้ว นักเคลื่อนไหวคนสำคัญของโลกท่านหนึ่งกล่าวอย่างมีวิชาการว่า

“พลังงานที่คนทั้งโลกใช้ตลอดทั้งปีนั้น เท่ากับพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกเพียงแค่ 8 นาทีเท่านั้น” ทำไม มนุษย์จึงไม่หลุดออกมาจากระบบการตลาดแบบนี้เสียที เราค่อยมาคุยกันต่อนะครับ.

prasart2552@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น