++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ความกังวล 10 อย่าง (ปลิโพธ)

ความกังวล 10 อย่าง (ปลิโพธ)

....เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้น ก็ควรตัดปลิโพธ (ความกังวล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ 10 อย่าง ที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ปลิโพธ (ความกังวล) 10 ปลิโพธ เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิด

ความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดีมี ๑๐ อย่าง คือ

๑ อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่

๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฎฐาก

๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ

๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ

๕. กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงานเช่น การก่อสร้าง

๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื้อด้วยกิจธุระ

๗. ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น

๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง

๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน

๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนา เท่านั้น)

พระอาทิกัมมิกโยคาวจร แปลว่า นักปฏิบัติผู้เริ่มต้นในการเจริญพรหมวิหาร อันดับแรก ต้องตัด ปลิโพธ คือ ความกังวล ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานในการสอนกรรมฐานทุกข้อ เริ่มแรกจะต้องตัดความกังวลเสียก่อน คนเราถ้ามีห่วงกังวลจะปฏิบัติกรรมฐานได้ยาก พอจะปฏิบัติกรรมฐาน หากยังมีความกังวลในเรื่องต่างๆ เช่น พอมาวัด จะมาปฏิบัติกรรมฐาน ก็นึกกังวลว่า

ลืมปิดเตาแก๊สรึเปล่า ลืมล็อคประตูรึเปล่า ลูกๆ อยู่ที่บ้านจะซนรึเปล่า งานที่ทำจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มาปฏิบัติกรรมฐานจะกลับไปทำงานก็คงจะดี หรือนอนซักงีบก็เข้าท่า การกังวลในทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งล้วนเป็นปลิโพธทั้งหมด

โดยปลิโพธในแบบฉบับที่อธิบายไว้มีทั้งหมด 10 ประการ โดยเน้นไปที่พระ

อาวาโส จ กุลํ ลาโภ คโณ กัมฺเมนจ ปญฺจมํ ในที่สุด คือ ห่วงวัด โดยเฉพาะเจ้าอาวาส ยิ่งไปไหนไม่ได้ โบราณกล่าวไว้ว่า “อยากเป็นเปรตให้เป็นมรรคนายก อยากตกนรกให้เป็นสมภารเจ้าวัด” เพราะห่วงไปหมด ไปไหนก็ไม่ได้ ห่วงวัดวา ถ้าเป็นพ่อบ้านแม่บ้านก็ห่วงบ้าน ห่วงตระกูลนั่นแหละ จะไปธุดงค์หน่อย ก็ห่วงโยมพ่อโยมแม่ ห่วงโยมอุปัฏฐาก ห่วงลาภ โดยเฉพาะ ลาภสักการะ ไปแล้วเดี๋ยวไม่ได้ จะบิณฑบาตรเต็มบาตรได้อย่างนี้ในที่อื่นหรือเปล่าก็ไม่รู้ นี่เรียกว่า ห่วงลาภ ส่วนการห่วงหมู่คณะ ห่วงลูกศิษย์ ห่วงหน้าที่การงาน จะปลีกวิเวกไปปฏิบัติธรรม ก็ห่วงว่าแล้วใครจะสอนลูกศิษย์ สารพัดความห่วงกังวล

การปฏิบัติกรรมฐานต้องตัดห่วงกังวลออกไปเสียก่อน เรียกว่า ต้องเอาหัวชนฝา หมายความว่า ตัวใครตัวมัน เวลามาเกิดก็มาคนเดียว ไม่ได้เกี่ยวกับใคร เราเป็นผู้ผู้เดียวที่เกิดมา เป็นผู้ผู้เดียวที่แก่ เป็นผู้ผู้เดียวที่เจ็บ แล้วก็เป็นผู้ผู้เดียวที่ตาย เวลาเราจะตาย ใครก็ไม่สามารถช่วยได้ สามีสุดที่รัก ลูกที่น่ารัก มายืนห้อมล้อมกันอยู่รอบเตียง แล้วก็มีดวงตาที่แสนจะเวทนาสงสารเรา แต่ก็ช่วยเหลือเราไม่ได้ เช่น เมื่อเช้าในข่าว แม่พาลูกซึ่งเป็นไส้ติ่ง ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งแพทย์ไม่ยอมผ่าตัดทันที แต่ให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ห้าผ่าตัดแทน ซึ่งปรากฏว่าไส้ติ่งแตกแล้ว ทำให้เกิดการติดเชื้อ พอรุ่งเช้า แม่ไปเยี่ยมลูกที่โรงพยาบาล เข้าไปหอมแก้มลูก ลูกก็ลืมตา แต่ตาลอยและทำปากขมุบขมิบ อยากจะพูดกับแม่แต่ก็พูดไม่ได้ แล้วในที่สุดลูกก็สิ้นใจ ทำให้แม่รู้สึกแค้นใจ ว่าทำไมแพทย์ถึงทำแบบนี้ ทำให้ตัดสินใจไปฟ้องศาล โดยที่ศาลแจ้งว่ามีค่าธรรมเนียม 50,000 บาท ซึ่งแม่ก็ไม่มีเงินเลยประกาศขายไต เพราะไม่อยากให้ลูกตายฟรี พอลองมานั่งคิดดูว่า เวลาเราจะนอนตายขึ้นมา ถึงแม้ว่าแพทย์จะดี จะเก่งขนาดไหน มีเงินมากมายขนาดไหน สามี ภรรยา ลูกหลานจะห้อมล้อมอยู่รอบเตียงขนาดไหน ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้

เพราะฉะนั้น ตัดความกังวลให้หมด เวลาเราจะปฏิบัติกรรมฐาน ให้คิดว่าไม่มีอะไรเป็น

ที่พึ่ง นอกจากธรรมะเท่านั้นที่เป็นที่พึ่ง ผู้อื่นไม่สามารถช่วยอะไรได้ เราเป็นผู้ผู้เดียวเท่านั้น ที่จะสร้างที่พึ่งให้แก่ตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า แนวความคิดในการตัดปลิโพธ ความห่วงกังวล ต้องตัดไปให้หมด อย่าไปมัวพะวงห่วงนั่นห่วงนี่ เพราะถ้ามัวห่วงกังวลก็จะทำให้กรรมฐานไม่ก้าวหน้า

การปฏิบัติกรรมฐาน ต้องมีตัวเองเป็นที่พึ่ง เรียกว่า การตัดปลิโพธ โดยปลิโพธ ก็มีทั้ง

การห่วงอาวาสที่อยู่ ห่วงตระกูล ห่วงลาภ ห่วงหมู่คณะ ห่วงการงาน ห่วงการเดินทางไกล ห่วงญาติสนิทมิตรสหาย การเจ็บป่วย หรือแม้แต่การศึกษาเล่าเรียน เป็นรูปแบบฉบับที่ พระพุทธโฆษาจารย์ ได้อธิบายในเชิงปฏิบัติ คือ เลิกห่วงชาวบ้าน แล้วก็ห่วงตัวเองให้มากๆ เพราะว่าตัวเราเองนั้น ถ้าตาย

ก็ยังไม่แน่ใจได้เลยว่าจะพ้นนรกหรือเปล่า เพราะว่าเรายังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล ยังไม่ได้เป็น

พระโสดาบัน ก็ต้องตัดปลิโพธในเชิงปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น