++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

คำ ว่า "วาสนา"

หมายถึง การประพฤติทางกาย ทางวาจา ...ที่ "สั่งสมมาจนชิน" คำว่า "วาสนา" ที่ใช้กันในภาษาไทย
หมายถึง ความเป็นใหญ่ เป็นโตต่าง ๆ แต่ คำ ว่า "วาสนา" ใน พระพุทธศาสนา หมายถึง "การสั่งสม" จนกระทั่งเป็น "ความประพฤติที่เคยชิน" ซึ่ง เป็นอาการ ที่ปรากฏ...ทางกาย ทางวาจา ต่าง ๆ
.
ผู้ที่ละ "วาสนา" ในส่วนที่ไม่ดี ได้นั้น มีบุคคลเดียว.... คือ "พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า"
"พระอรหันต์ทั้งหลาย".....ดับกิเลสได้ จนหมดสิ้น ไม่มีเชื้อของกิเลสใด ๆ เหลืออยู่ อีกเลย
แต่กระนั้น......ก็ยังละ "วาสนา" ไม่ได้.! เพราะมี "การสั่งสม" มา....เนิ่นนาน ในสังสารวัฏฏ์
ด้วยสามารถ แห่ง "ชวนวิถีจิต"

เรื่องของ "วาสนา"
คำว่าวาสนาในภาษาไทยหมายถึง บุญบารมีที่สั่งสมมานาน ทำให้คน ๆ นั้นมีความ พรั่งพร้อมสมบูรณ์ทุกด้านดังคำกล่าวถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ว่า "เขามีวาสนา" หรือ "เป็นวาสนาของ เขา"
แต่ในความหมายทางธรรม "วาสนา" หมายถึง นิสัยสันดานที่ฝังลึกอยู่ในจิตจนถอนไม่ขึ้น ว่ากันว่า ถึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังละ "วาสนา" ไม่ได้ ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
---> มีตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายเรื่อง เรื่องที่หนึ่งเกี่ยวกับพระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ท่านผู้นี้เป็นนักปรัชญาเก่าสังกัดสำนักปรัชญาเมธีชื่อสัญชัยเว ลัฏฐบุตรเจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในเมืองราชคฤห์ ต่อมาได้ลาอาจารย์พร้อมกับสหายรักชื่อโกลิกะ(ต่อมาคือพระมหาโม คคัลลานะ) มาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นสาวกของพระพุทธองค์เมื่อบวชแล้วก็ ได้รับแต่งตั้งจากพระองค์ให้เป็น
พระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเลิศในทางปัญญามาก ท่านให้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนภิกษุสงฆ์แทนพระ พุทธเจ้าในบางครั้ง และเป็นกำลังในการช่วยพระพุทธองค์เผยแพร่พระ พุทธศาสนา พระสารีบุตรท่านมี "วาสนา" ที่ละไม่ได้อยู่อย่างหนึ่ง คือเวลาท่านพบแม่น้ำลำธารที่มีสายน้ำไหลเย็น ท่ามกลางบรรยากาศอันสงบร่มรื่นท่านจะละอาการสงบ เสงี่ยมชั่วขณะ กระโดดหยอย ๆ ด้วยความดีใจ ดังหนึ่งเด็กน้อยได้ของเล่นใจอย่างนั้นแหละ พระสงฆ์อื่นเห็นอาการไม่สำรวมของพระอัครสาวกต่างก็พากันซุบซิบว่า พระเถระผู้ใหญ่อย่างท่าน ไม่น่าทำอย่างนี้เลย เรื่องทราบถึงพระกรรณของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ว่า อย่าได้ตำหนิสารีบุตรเลย กิริยาอาการอย่างนั้นเป็น "วาสนา" ที่สั่งสมมานานของสารีบุตร แม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ละไม่ได้ เพราะว่าในชาติปางก่อนโน้นสารีบุตรเคยเกิดเป็นลิงติดต่อกัน
หลายร้อยหลายพันชาติ จึงติดนิสัยกระโดดโลดเต้นของลิงมาข้อความข้างต้น นี้ไม่มีพระไตรปิฎกดอกครับ แต่มีในหนังสือรุ่นหลังพระไตรปิฎก (คืออรรถกถา - หนังสืออธิบายพระไตรปิฎก) จะ เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด ก็แล้วแต่จะพิจารณาเกิด อีกเรื่องหนึ่ง อ่านแล้วตื่นเต้นดี คือมีพระเถระรูปหนึ่งเป็น
พระอรหันต์ทรงอภิญญานามว่า พระปิลินทวัจจะ ท่านชอบพูดคำว่า "วสลิ" (แปล เป็นไทยว่า "ไอ้ถ่อย" ) จนติดปาก พบใครไม่ว่าจะระดับใด ท่านจะทักด้วยคำว่า "สบายดีหรือไอ้ถ่อย"
ประชาชนทั่วไปรู้ว่าท่านพูดไม่เพราะเช่นนั้นเอง แต่จิตใจท่านเต็มไปด้วยเมตตา จึงไม่ได้ถือสาท่าน ตรงกันข้าม ถ้าใครได้รับคำทักทายจากท่านด้วยถ้อยคำไพเราะ เขาผู้นั้นจะเดือดร้อนมากกว่า ทำไมหลวงพ่อไม่พูดกับเขาเหมือนเดิม เป็นยังงั้นไป
วันหนึ่งพ่อค้าขายดีปลีคนหนึ่งบรรทุกดีปรีเต็มเกวียน เดินทางเข้าเมืองที่เพื่อค้าขาย ระหว่างทางพบท่านปิลินทวัจฉะท่านถามว่า "บรรทุกอะไรมา ไอ้ถ่อย" ได้ยินพระพูดไม่ไพเราะอย่างนั้น พ่อค้าแกก็ฉุนตงิด ๆ ตะโกนตอบเสียงดังว่า "บรรทุกขี้หนูโว้ย ไอ้ถ่อย" ทันใดนั้นดีปลีเต็มลำเกวียนได้ กลายเป็นขี้หนูทันทีแต่เจ้าตัวยังไม่รู้พอเข้า เมืองจอดเกวียนเพื่อขนดีปลีออกมาขาย เขาก็แทบลมจับ เพราะ มีแต่ขี้หนูเต็มเกวียนช่างมหัศจรรย์พันลึกอะไรเช่นนั้น เขาได้ วิ่งแจ้นตามไปกราบขอขมาท่านพระปิลินทวัจฉะ
เขาได้ผิดไปแล้วที่พูดคำหยาบกับพระคุณเจ้า ได้โปรดยกโทษให้ด้วย "ไม่เป็นไร ไอ้ถ่อย ข้ายกโทษให้"ท่านตอบด้วยจิตเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เรื่องนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า เป็น "วาสนา" ของปิลินทวัจฉะเอง แก้ไม่ได้ แต่เธอไม่มีเจตนาจะพูดคำหยาบ

อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ผมจำสมณศักดิ์ท่านไม่ได้แล้ว ท่านชอบพูดคำว่า "ดีเนาะ หลวง"
ติดปาก ไม่ว่าพูดกับใคร ไม่ว่าเรื่องดี หรือเรื่องร้าย ท่านจะบอกว่า "ดีเนาะ ๆ" อยู่เรื่อย วันหนึ่งสีกานางหนึ่งร้องไห้ฟูมฟายไปหาท่าน เรียนท่านว่า ลูกชายซึ่งเพิ่งเรียนจบนายร้อย จปร. ใหม่ๆ ประสบอุบัติเหตุตายเสียแล้วหลวงพ่อท่านก็ตอบว่า "ดีเนาะ" ว่ากันว่าสีกานางนั้น โกรธหลวงพ่อแทบเป็นแทบตาย
แต่ต่อมาพอรู้ว่าเป็นคำพูดติดปากท่านเท่านั้นเอง จึงไม่ถือโกรธท่าน เมื่อคราวโรงแรมใหญ่ที่โคราชถล่มทับคนตายเป็นจำนวนมาก มีตึกอีกหลังหนึ่งติดกับโรงแรม โย้เย้ทำท่าจะพังลงมาอีก มีคนนิมนต์หลวงพ่อคูณไปดูหลวงพ่อคูณท่านคงเห็นด้วยตาในของท่าน จึงบอกว่าตึกนี้ไม่พังแน่นอน หนังสือพิมพ์เอาภาพและคำพูดของท่านมาลงว่า "หลวงพ่อคูณ เกจิอาจารย์ดังบอกว่า "กูว่าไม่พัง" บางท่านถามด้วยความหงุดหงิดใจว่าพระสงฆ์องค์เจ้าพูดกูๆ มรึงๆ ได้หรือ นี่แสดงว่าท่านผู้ถามนี้ไม่รู้ว่า "วาสนา" นั้นละกันไม่ได้ หลวงพ่อคูณท่านพูดคำนี้ติดปาก ไม่ว่าพูดกับใคร คำพูดฟังดูอาจหยาบ แต่ จริงๆ แล้ว กูๆ มรึง ๆ เป็นภาษาไทยแท้ไม่คิดว่าหยาบมันก็ไม่หยาบ ที่สำคัญท่านพูดด้วยจิตเมตตา เล่าว่าท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งพอท่านพูดคำว่า กู มรึง ก็รู้สึกโกรธไหว้แล้ว ลงกุฏิกลับไปเลย สตาร์ทรถอย่างไร ๆ ก็ไม่ติด
จนกระทั่งมีผู้เข้าไปกระซิบว่า ให้ไปขอขมาหลวงพ่อก่อน พอเขา ไปกราบขอขมา หลวงพ่อพูดว่า "
เออมรึงกลับได้"เท่านั้นแหละครับ คราวนี้สตาร์ทชึ่งเดียวติดวิ่งฉิวไปเลย นี่แหละครับที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า"วาสนา" หรือสิ่งที่ติดแน่นอยู่ใน ส่วนลึกแห่งจิตสันดาน แม้พระอรหันต์ก็แก้ไม่ได้ ไม่จำต้องพูดถึงปุถุชนดอกครับ
**********************************************************
ข้อมูลที่ใช้ในการเรียบเรียง : ผี สาง คาง แดง โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น