++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

นักวิจัย มช. คิดค้นสารเร่งเจริญพันธุ์พืช ส่งเสริมธุรกิจเกษตรอินทรีย์

นักวิจัยคณะวิทย์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาพัฒนาหัวเชื้อจากรามายคอร์ไรซา จุลินทรีย์สร้างสารเร่งการเจริญของพืช นับเป็นวิธีปลูกเชื้อที่ดี เพื่อนำไปเป็นต้นกล้าป้อนธุรกิจเกษตรอินทรีย์
      
       ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เพราะกลัวอันตรายสารตกค้างจากสารเคมีและยาปราบศัตรูพืช ที่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางการแพทย์ การเกษตรและสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นผลตกค้างในดิน แหล่งน้ำและผลิตผล ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการซื้อผลผลิตที่มีราคาแพง
      
       การจัดการเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินและการเจริญเติบโตที่ดีของพืช อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการวิธีบำรุงดินที่มี ประสิทธิภาพสามารถทำได้หลายวิธี และสามารถช่วยลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน แต่การเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืชโดยใช้จุลินทร์กลุ่มไรโซเบียมและหัวเชื้อ จากรามายคอร์ไรซา รวมทั้งการใช้จุลินทรีย์สร้างสารเร่งการเจริญของพืช ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการทำความเข้าใจโดยเฉพาะกลไกของความสัมพันธ์ของพืชและ จุลินทรีย์ซึ่งมีอยู่แล้วในธรรมชาติแต่ถูกทำลายด้วยวิธีการทางการเกษตรที่ ไม่เหมาะสม นอกจากนี้การตอบสนองของพืชต่อมายคอร์ไรซาก็มีความแตกต่างกันทั้งชนิดของพืช เองและชนิดของมายคอร์ไรซ่า
      
       ศ.ดร.สายสมร ลำยอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในประเทศไทยมีการนำเข้ามายคอร์ไรซ่ามาจำหน่ายหลายบริษัท แต่ก็มีราคาแพงมาก เช่น เอนโดมายคอร์ไรซ่าที่ใช้กับกล้าส้ม กล้าสน และพืชผัก ราคากิโลกรัมละ 1,200 บาท
      
       จากการสำรวจ พบว่ามี ความต้องการใช้มายคอร์ไรซ่ากับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องราคาและไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์มายคอร์ไรซา ที่แน่นอนได้ จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาการนำไปใช้ในทาง ปฏิบัติต่อไป
      
       ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่ ศ.ดร.สายสมร ลำยองและคณะ ในโครงการการพัฒนามายคอร์ไรซาเพื่อเกษตรอินทรีย์ โดยคณะวิจัยได้สำรวจความหลากหลายของเชื้อราอาร์คูบัสคูลาร์มายคอร์ไรซากับ สบู่ดำ ในพื้นที่ 6 จังหวัดของไทย รวมทั้งศึกษาเชื้อดังกล่าวกับกาแฟอราบิก้าในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พบว่าพืชมีการเจริญเติบโตดี นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณสปอร์ในกระถางโดยใช้ดินเป็นหัวเชื้อ มีข้าวโพด ข้าวฟ่าง และดาวเรืองเป็นพืชอาศัย พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณสปอร์ได้ดี
      
       "คณะวิจัยยังได้ตรวจ เปอร์เซ็นต์การเข้ารากพืชของมายคอร์ไรซา 5 สกุล ในถั่วพุ่ม ข้าวโพด ลูกเดือย ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง และต้นปะดะ พบว่ามีการติดเชื้อในรากสูงยกเว้นข้าวไร่ อีกทั้งได้สำรวจความหลากหลายของเชื้อดังกล่าวและความสัมพันธ์ที่มีต่อพืช ท้องถิ่นในป่าเขตร้อนของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพและดอยปุย พบว่าพืชพื้นเมือง 24 ชนิดมีความสัมพันธ์กับเชื้อดังกล่าว และเชื้อบางชนิดสามารถอาศัยร่วมกับพืชได้หลายชนิด" ศ.ดร.สายสมร กล่าวทิ้งท้าย
      
       ขณะนี้มีบริษัทเอกชนจำนวนมากให้ความสนใจเชื้อรามายคอร์ไรซา และขอให้คณะวิจัยเพิ่มปริมาณการผลิตหัวเชื้อเพื่อนำไปเป็นส่วนผสมในการผลิต ปุ๋ยชีวภาพต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรายติดต่อให้คณะวิจัยผลิตหัวเชื้อและถ่ายทอดเทคโนโลยี วิธีปลูกเชื้อเพื่อนำไปเพาะต้นกล้า โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ สัก ยางพารา กฤษณา รวมทั้งผลิตหัวเชื้อเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรต่อไป จึงนับเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น