++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

4 จว.อีสานใต้น่าห่วง “โรคเรื้อน” ระบาดต่อเนื่อง - บุรีรัมย์พบผู้ป่วยใหม่พุ่งมากสุด

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - 4 จว.อีสานใต้น่าห่วง “โรคเรื้อน” ระบาดต่อเนื่อง ล่าสุดมีผู้ป่วยขึ้นทะเบียน 150 ราย บุรีรัมย์พบผู้ป่วยรายใหม่มากสุดถึง 28 ราย โคราชอันดับสอง 9 ราย ชี้พบเด็กมีความพิการเหตุค้นพบล่าช้า ด้าน สคร.5 รุกค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เพื่อรักษาทันท่วงทีให้หายขาดก่อนพิการและแพร่เชื้อ เผยจ่ายคนแนะนำผู้ป่วยเข้ารักษารายละ 2,000 บาท

วันนี้ (13 ม.ค.) ที่คลินิกโรคเฉพาะทาง (ข้างวัดบูรณ์) อ.เมือง จ. นครราชสีมา นพ.สมชาย ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 (สคร.5) จ.นครราชสีมา เป็นประธานพิธีเปิดงาน “สัปดาห์ราชประชาสมาสัย 2554” เพื่อน้อมเกล้าฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสนับสนุนงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อนจนเกือบหมดไปจากประเทศไทย และเร่งค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่

นพ.สมชาย ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จ.นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคเรื้อนในประเทศไทยว่า จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก ในปี 2498 ได้คาดประมาณว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเรื้อนประมาณ 140,000 ราย คิดเป็นอัตราความชุกโรค 50/10,000 ราย แต่หลังจากมีการรณรงค์กำจัดโรคเรื้อนทำให้อัตราความชุกลดลงโดยในปี 2552 มีอัตราความชุกโรค 0.11/10,000 ประชากร โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เหลือเพียง 300 คน ในจำนวนนี้มีความพิการ 41 คน และขึ้นทะเบียนรักษาเป็นผู้ป่วยรายเก่าจำนวน 762 คน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับสถานการณ์โรคเรื้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบ คุมโรคที่ 5 จ.นครราชสีมา ประกอบด้วย 4 จังหวัด อีสานตอนล่าง ได้แก่ จ.นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ และสุรินทร์นี้ พบผู้ป่วยรายใหม่ 50 ราย ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียน 150 ราย อัตราความชุกของโรค 0.23/10,000 ประชากร โดย จ.บุรีรัมย์ พบผู้ป่วยรายใหม่มากสุดถึง 28 ราย ในพื้นที่ 8 อำเภอ รองลงมา คือ จ.นครราชสีมา พบผู้ป่วยรายใหม่ 9 ราย ในพื้นที่ 5 อำเภอ, จ.ชัยภูมิ มีผู้ป่วยรายใหม่ 8 รายในพื้นที่ 5 อำเภอ และ จ.สุรินทร์ มีผู้ป่วยรายใหม่ 5 รายในพื้นที่ 5 อำเภอ

ทั้งนี้ ในบางจังหวัด เช่น นครราชสีมา, ชัยภูมิ และสุรินทร์ พบผู้ป่วยพิการเป็นเด็กถึง 3 ราย นั่นหมายถึงว่าการค้นพบผู้ป่วยค่อนข้างล่าช้าจนมีผู้ป่วยตกค้างหลงเหลืออยู่ ในชุมชนซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อไปบุคคลอื่นได้ก่อนที่จะได้รับ การรักษา

นอกจากนี้ยังพบว่า จ.บุรีรัมย์ และสุรินทร์พบผู้ป่วยรายใหม่ที่เป็นเด็กแต่ยังไม่พิการ สะท้อนให้เห็นว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเรื้อนอย่างต่อ เนื่อง ฉะนั้นจึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่อย่างต่อ เนื่องประมาณ 5 ปี เพื่อจะนำไปสู่การควบคุมโรคเรื้อนอย่างยั่งยืนต่อไป

สำหรับผู้มีอาการน่าสงสัยว่าป่วยเป็นโรคเรื้อน คือ ผิวหนังเป็นวงด่างขาวหรือแดงมีอาการชาหรือเป็นปื้น แผ่น ผื่น มีตุ่มนูนแดงหนาไม่คัน หยิกไม่เจ็บให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาฟรีจนหายขาดป้องกันความพิการโดย ขณะนี้มีสูตรยาใหม่เป็นยาผสม 3 ชนิด แทนการใช้ยา แดปโซน ชนิดเดียว ลดระยะเวลารักษาจาก 3-6 ปี เหลือเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้ป่วยรักษาอยู่ที่บ้านกับครอบครัวได้โดยไม่ต้องเข้าอาศัยในสถานพยาบาลหรือ นิคมโรคเรื้อน

“ขณะนี้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จ.นครราชสีมา ได้ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนได้ร่วมกันรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ที่ตกค้างในพื้นที่เสี่ยงของทุกจังหวัดด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน พื้นที่โดยช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนและการคัดกรองผู้ป่วย โรคเรื้อนในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งผู้ที่แนะนำผู้ป่วยเข้ามาทำการรักษาจะได้ค่าใช้จ่ายแนะนำรายละ 2,000 บาทด้วย” นพ.สมชายกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น