++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

จะได้ไหม? หากเปลี่ยนจากตั้งวงเหล้าเป็นตั้งวงเรียน

“ร้าน เหล้ารอบรั้วมหาวิทยาลัย ปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย นักศึกษาบางคนใช้ชีวิตในร้านเหล้ามากกว่าห้องเรียน การที่จะเข้าไปห้ามไม่ให้ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากการใช้ชีวิตค่อนข้างอิสระ ในฐานะที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เป็น 1 ใน หลายมหาวิทยาลัยที่มีร้านเหล้าใกล้สถานศึกษา”

รศ.สุจิระ ขอจิตต์เมตต์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งนับยิ่งทวีความรุนแรง ภายในมหาวิทยาลัยจึงได้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ต้านยาเสพติด กิจกรรมเป็นการอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด มีการสุ่มหาสารเสพติด และเรื่องของร้านเหล้าใกล้มหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยได้มีการรณรงค์ร่วมถึงการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับกฎหมาย บทลงโทษในเรื่องของเครื่องดื่มแอลกฮอล์ โดยจะขึ้นเป็นป้ายคัดเอาท์ในมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาได้เห็น และจะขอความร่วมมือกับชุมชนใกล้มหาวิทยาลัยติดคัดเอาท์ประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในทางเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะส่งเสริมกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยหลังเลิกเรียน

“ปุ๊ก-จตุพร บุญเพ๊ชร์" นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน บอกว่า จะแก้ปัญหาเรื่องร้านเหล้าใกล้มหาวิทยาลัยแก้ไขได้ยาก การสร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษาและสถานประกอบการ เป็นส่วนสำคัญจะช่วยลดปริมาณของร้านลง เช่น มีการจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนในด้านของสถานประกอบมีการทำข้อตกลงกัน ในเรื่องของการเปิด-ปิด “ความบันเทิงในผับไม่ว่าจะเป็นนักร้องมาเล่นดนตรี อยากให้ร้านนมข้างมหาวิทยาลัยดึงความบันเทิงเหล่านี้มาไว้ในร้านนม จะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้นักศึกษาอยากที่จะเข้ามาในร้าน”

“บิว-ระพีพรรณ สหะวิเศษไชยชาญ” นัก ศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ บอกว่า นานครั้งจะเข้าผับ หลังสอบเสร็จเพื่อผ่อนคลาย ในมุมมองของตนเอง ร้านเหล้าใกล้มหาวิทยาลัย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ข้อเสียจะมากกว่า เนื่องจากปัญหาที่ตามมาส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก เช่น เรื่องของการเรียน บางคนเที่ยวจนดึก จึงขี้เกียจไปเรียน หรืออาจจะหลับในห้องเรียน “นักศึกษาบางคนติดเป็นนิสัย นานเข้าก็ลาออกไม่ยอมไปเรียน” วิธีที่จะช่วยลดปัญหาที่ดีที่สุด “ตัวเราเองต้องควบคุมตัวเอง” ถ้าเรารู้จักควบคุมตนเอง สิ่งยั่วยุต่างๆก็จะทำร้ายใจเราไม่ได้ “จิตใจที่เข้มแข็ง จะทำให้เรารู้จักอดทนต่อสิ่งที่มากวนใจ”

“อ๊อฟ-พงศธร ตรีชินะพงศ์” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะศิลปศาสตร์ บอกว่า ร้านเหล้าใกล้มหาวิทยาลัย เป็นการตีตลาด อาศัยช่องว่างของกฎหมายมาทำการค้า นักศึกษามหาวิทยาลัยใช้ชีวิตอย่างอิสระ ไม่ต้องมีใครควบคุม จึงถูกชักจูงได้ง่าย เริ่มต้นจากลูกค้ามาเป็นลูกค้าประจำ วัฒนธรรมไทยในเรื่องของความ สัมพันธ์ระหว่างรุ่นน้องและรุ่นพี่ การแยกโซนระหว่างร้านเหล้ากับที่พักอาศัย หรือทำให้ไกลออกไปจากที่ตั้งมหาวิทยาลัย จะเป็นอุปสรรคในการเดินทาง “เปลี่ยนนิสัยของนักศึกษาจากที่เคยไปทุกวัน นานๆไปครั้ง”

"จอย-หทัย ตันติวิทย์” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม บอกว่า จะไปกลับบ้านและมหาวิทยาลัย แต่ก็เคยไปเที่ยวในผับ เนื่องจากเพื่อนในกลุ่มชวนไป ซึ่งก่อนที่จะเข้าก็มีการตรวจบัตรประชาชน มีมาตรการที่เข้มงวด “แอลกอฮอล์” สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ พิษของมันร้ายแรงสามารถเปลี่ยนนิสัยของคนได้ “ใครที่ไม่เคยดื่มก็ไม่ควรจะดื่ม” ส่วนร้านเหล้าปั่น ที่ผุดขึ้นมากข้างๆรั้วมหาวิทยาลัย ไม่มีอะไรควบคุมได้ งบประมาณในการเปิดร้านก็ไม่มาก ไม่มีมาตรการในการเข้าออก เพราะว่า เป็นร้านเปิด อายุเท่าไรก็เข้าได้อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามาดูแลในส่วนของร้านเหล้าปั่น คุมเข้มในเรื่องเข้าออก

ร้าน เหล้าใกล้มหาวิทยาลัยจะลดลง ทุกส่วนต้องร่วมมือกัน ในการปลูกจิตสำนึก กระตุ้นพฤติกรรมการดื่มของนักศึกษา มหาวิทยาลัยถือว่าเป็นผู้ปกครองที่จะต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ สอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาแทนพ่อแม่ “แต่ อย่างไรก็ตาม ตัวของนักศึกษาเองก็ต้องรู้จักการควบคุมตนเอง คิดถึงพ่อแม่ที่ส่งมาเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่ได้ส่งมาเรียนในร้านเหล้า ก่อนที่จะก้าวเท้าออกจากห้อง คิดถึงใจของพ่อแม่ที่ท่านต้องเสียเหงื่อหาเงิน กว่าจะได้มาแทบขาดใจ อย่าเอาเงินที่ขอท่านมา มาลงในวงเหล้า ที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย"...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น