++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กรรมการคู่ขนาน สร้างหลักประกันสุขภาพที่ อบต.โพธิ์ไทร กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

เรียบเรียงโดย กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

                ความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำมูลและลำน้ำโดม ที่ไหลแบ่งเขตตำบลโพธิ์ไทร ทำให้พื้นที่ห่งนี้มีความชุ่มฉ่ำ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม หาดทรายกลางแม่น้ำใต้เขื่อนบาง ก่อรูปร่างให้เกิดเกาะแก่ง เช่น แก่งกบ บ้านท่าช้าง ที่สามารถพัฒนาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติหรือหนองโจด หนองน้ำสาธารณะซึ่งเหมาะสำหรับจัดงานประเพณี เช่น งานลอยกระทง ที่สามารถจัดเป็นสวนสุขภาพ
            นอกจากนี้ บ้านบ๋าฮี ต.โพธิ์ไทร ยังได้รับรางวัลอยู่ดีมีสุขอีกด้วย

            คณะกรรมการกองทุนฯ 2 ชุด ถูกจัดแบ่งสำหรับการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ คู่ขนานกับคณะกรรมการหลัก ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมนโยบายและคณะกรรมการซึ่งเป็นคณะทำงาน จะทำหน้าที่ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
            คณะกรรมการชุดที่ 1 กำหนดตามแนวทางของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามคู่มือ เน้นงานสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้ตาม สิทธิอันพึงมีพึงได้และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลบริหาร จัดการระบบสุขภาพได้โดยถือว่า สุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน
            คณะกรรมการชุดที่ 2 มีเป้าหมายสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ ในการติดตามและประเมินผลงานด้านงบประมาณ สถานะทางการเงินและการบริหารจัดการอื่นๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและสอดคล้องกับเจตนารมณ์กองทุนฯ ส่วนหนึ่งมาจากตัวแทนหมู่บ้านกลุ่มต่างๆ
            ชุดที่ 1 เน้นงานเชิงนโยบาย
            ชุดที่ 2 เน้นงานภาคปฏิบัติ
            คณะกรรมการหลักจะร่วมกันกำหนดนโยบาย การบริหารงบประมาณและอนุมัติแผน โดยแผนมาจากการเสนอของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนแต่ละหมู่บ้านจะเสนอผ่านตัวแทนของตนและ คณะทำงานชุดที่ 2 จะเป็นผู้นำแผนดังกล่าวไปดำเนินการ ประเมินผล และบริหารจัดการงบประมาณ
            ทั้งนี้ ในแต่ละหมู่บ้าน จะมีคณะอนุกรรมการร่วมพิจารณา ผ่านการทำประชาคมก่อนนำเสนอคณะกรรมกาาหลักประกันเพื่อ พิจารณาจัดสรรงบประมาณอีกครั้ง
            สำหรับการจัดสรรงบประมาณจะพิจารณาสนับสนุนสิทธิประโยชน์ ผ่านเงื่อนไข  ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขและบริหารจัดการสัดส่วนเงิน ตามความพร้อมของแต่ละชุมชน
            กล่าวคือ ทางคณะกรรมการต้องการให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มและเสนอโครงการ ส่งเสริมสุขภาพแต่เนื่องจากเป็นปีแรก คณะกรรมการลงความเห็นว่า คนส่วนยังไม่พร้อม  ขาดความเข้าใจในการดำเนินการ ดังนั้น จึงจัดสัดส่วนการสนับสนุน ชุดสิทธิประโยชน์เป็นร้อยละ 70 การดำเนินการโครงการร้อยละ 20 และงบการบริหารจัดการร้อยละ 20
           
            ระบบการเบิกจ่าย กองทุนฯ จะโอนเงินเข้าสถานบริการสาธารณสุข ตามการจัดซื้อชุดสิทธิประโยชน์และโครงการที่เสนอ

            ปัจจัยความสำเร็จ
            - เป็นการริเริ่มและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย โดยทั้งสององค์กรร่วมรับหลักการจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพและนำมาประชุม ขยายผลในการทำงานร่วมกัน และบุคลากรทั้ง 2 องค์กรมีมุมมองว่า สุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นผลดีต่อประชาชน
            - เป็นปฏิบัติการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคลากรร่วมทีมมีความกระตือรือร้น แม้ว่า จะเป็นเรื่องใหม่และองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง แต่ด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการที่เป็นชุดทำงาน ทำให้ต่างเติมเต็มและเรียนรู้ไปด้วยกัน เกิดมุมมองที่หลากหลาย เช่น การนำแนวคิดการตลาดมาประยุกต์ใช้โดยนายกองค์การได้แจกมุ้งและรองเท้า แก่ผู้ที่สามารถทำกิจกรรมได้ตามกำหนด
            - กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ มีเป้าหมายสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร จากข้อมูลและบริบทขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ไทร พบว่า มีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับสุขภาพ คือ
            1. สร้างเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
            2. ดูแลสภาพแวดล้อมโดยการจัดการขยะ
            3. ส่งเสริมระบบบริการผ่านอาสาสมัครสาธารณสุข
            4. ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยการจ่ายเบี้ยยังชีพ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต
            - เสริมคุณภาพและศักยภาพของทีม สร้างกลยุทธ์เข้าถึงประชาชน ให้มีการเผยแพร่ข่าวสารได้รวดเร็ว เพื่อทำความเข้าใจกลไกในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ดังเช่น  การให้อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นทีมสัมภาษณ์ในโครงการตรวจสุขภาพประชาชน
            บทสรุปหนึ่งที่ควรพัฒนาต่อ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น
            ถือเป็นความสำเร็จในรูปแบบคณะทำงานคู่ขนาน แบ่งงานแต่ไม่แบ่งแยก

ข้อมูลพื้นฐานประกอบการเขียนโดย
สุรีย์ ธรรมิกบวร


           

ที่มา ถอดบทเรียน การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
(กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. และเทศบาล) ในพื้นที่ต้นแบบทั่วประเทศ กรณีศึกษา ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง
เลข  ISBN : 978-974-379-047-8
ธันวาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น