++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สร้างงานและระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อศักดิ์ศรีผู้สูงอายุ

โดย ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ 2 สิงหาคม 2553 16:03 น.
การมีรายได้มั่นคงของวัยชราหมายถึงการอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยไม่ต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจนตกเป็นภาระครอบครัว ชุมชน และสังคมจนเกินไป หากกระนั้นผู้สูงอายุไทยจำนวนมหาศาลกลับไร้รายได้มั่นคงพอเพียงพยุงชีวิต บั้นปลาย แม้ในช่วงวัยทำงานจะยอดขยันหมั่นเพียรและอดออมมัธยัสถ์

ยิ่งกว่านั้นในห้วงยามที่โครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนไป โดยประชากรวัยสูงอายุมีสัดส่วนสูงขึ้น ขณะประชากรวัยทำงานมีสัดส่วนลดลงเช่นนี้ ประชากรสูงอายุที่ไม่มีรายได้หรือเงินออมเพียงพอดำรงชีพจะประสบความยากแค้น ขัดสนและตกเป็นภาระของประชากรวัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นบุตรหลาน หรือภาครัฐที่ต้องจัดสรรเงินรายได้จากภาษีอากรเพื่อดูแลประชากรสูงอายุเหล่า นี้ในที่สุด

การส่งเสริมสร้างงานผู้สูงอายุจึงสามารถตอบโจทย์สังคมไทยที่ก้าวสู่ สังคมสูงอายุ (Aging society) ได้ เพราะปัจจุบันผู้สูงอายุราว 1 ใน 3 ยังคงต้องยังชีพด้วยการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาต่ำ ค่าจ้างแรงงานกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำมากจะเพิ่มขึ้นหลังจากแรกเข้าทำงานไม่ มากและเพิ่มสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปีเท่านั้น โดยจะมีจำนวนมากในภาคอุตสาหกรรมขายส่งขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล/ครัวเรือน อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมโรงแรม-ภัตตาคาร

การสร้างโอกาสทำงานให้ผู้สูงอายุที่สุขภาพดี มีความรู้ความสามารถจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สูงวัยมีรายได้ ไม่ต้องพึ่งพิงบุตรหลานหรือภาครัฐมากนัก ทั้งยังลดทอนปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคตเนื่องจากสัดส่วนประชากรในวัยทำ งานลดลงได้อีกด้วย โดยเบื้องต้นต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และทัศนคติที่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ (Age discrimination) ควบคู่กับกำหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาพ มาตรการจูงใจภาคเอกชนให้จัดฝึกอบรมความรู้ในการทำงานแก่ผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้สูงอายุเลือกทำอาชีพการบริการ อาชีพพื้นฐาน และงานฝีมือได้

ไม่เพียงอุปสงค์อุปทาน (Demand-Supply) ด้านการสร้างโอกาสการทำงานของผู้สูงวัยที่ต้องส่งเสริมเท่านั้น การสร้างหลักประกันทางรายได้โดยรัฐบาลส่งเสริมให้มีการออมในวัยทำงานมากขึ้น ยังเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อลดความลำเค็ญคับแค้นของผู้สูงอายุและภาระ หนักอึ้งของคนข้างหลังด้วยเหมือนกัน โดยใช้โอกาสที่รัฐบาลปัจจุบันดำเนินนโยบายขยายเบี้ยยังชีพ 500 บาทครอบคลุมผู้สูงอายุทุกคนให้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ระบบบำนาญ พื้นฐานเพื่อผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า

ทว่า ถึงที่สุดแล้วรัฐบาลก็ต้องพิจารณาระบบบำนาญทั้งระบบที่มีอยู่ให้ครอบคลุม เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุทุกคนอย่างมีศักดิ์ศรี และไม่สร้างภาระทางงบประมาณมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เหมือนดังข้อเสนอของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และภาคีเครือข่ายวิชาการและประชาสังคมที่จัดประชุมเวทีนโยบายสาธารณะเรื่อง ระบบบำนาญแห่งชาติบนกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม(Participation public policy process: P4) ตลอดมา

ด้วย 6 แนวทางขับเคลื่อนระบบบำนาญแห่งชาติโดยภาคประชาสังคมและ มส.ผส. จะสามารถตอบโจทย์สังคมสูงอายุไทย ในขณะเดียวกันก็ขจัดจุดอ่อนต่างๆ ที่เคยเป็นอุปสรรคขวากหนามสำหรับการรังสรรค์ตาข่ายคุ้มครองทางสังคมแก่คนแก่ เฒ่ายากจนได้ โดย

1) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้าถือเป็นสิทธิบำนาญขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ลด หรือป้องกันความยากจน จึงควรปรับเป็นบำนาญพื้นฐานสำหรับคนไทยทุกคน และกำหนดให้ชัดเจนอยู่ใน พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ...นี้ด้วย โดยผลประโยชน์ควรอยู่ที่ระดับเส้นความยากจน (Poverty line) มีการปรับตามระดับอัตราเงินเฟ้อ และมีระบบกำกับดูแลและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส

2) กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรบูรณาการกันจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยต้องขจัดหลักการพื้นฐานที่ไม่เหมือนกันเสียก่อนกรณีที่กองทุนประกันสังคม เป็นกองทุนภาคบังคับ ขณะที่กองทุนของกระทรวงการคลังเป็นภาคสมัครใจ แต่มีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างหลักประกันรายได้ยามชราภาพแก่แรงงานนอกระบบ

3) พ.ร.บ.ฉบับนี้ควรครอบคลุมแรงงานทั้งในและนอกระบบเพื่อความเท่าเทียมในการได้ รับการสบทบจากรัฐ และง่ายต่อการรองรับแรงงานในระบบประกันสังคมที่เคลื่อนย้ายตลอดเวลา

4) พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติมีขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันในเรื่องของบำนาญตลอด ชีพ ไม่ใช่กองทุนเพื่อการออมทั่วไป จึงควรระบุชื่อตามวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าเป็น พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ตลอดจนพิจารณาเพิ่มเติมสวัสดิการอื่นๆ ให้กับผู้สูงอายุด้วย เช่น เงินค่าฌาปณกิจ

5) การจัดตั้งกองทุนระดับชาติเป็นกลไกในการรับผิดชอบการออมเพื่อบำนาญของผู้สูง อายุ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของกองทุนระดับชุมชนเฉพาะในเรื่องของการจัดสวัสดิการ บำนาญชราภาพ ไม่ได้จัดตั้งมาเพื่อทดแทนกัน หากแต่จะหนุนเสริมกัน จึงควรพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างกองทุนระดับชาติกับกองทุนระดับชุมชนเพื่อ ไม่ให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรออกจากชุมชน พร้อมกับเปิดโอกาสให้กองทุนชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นกลไกหนึ่งในการ บริหารจัดการด้วย

และ 6) ระบบบำนาญแห่งชาติเป็นระบบใหม่สำหรับประเทศไทยจึงต้องการการบริหารจัดการกอง ทุนที่ดี มีการออกแบบที่ดีทั้งในระดับประเทศ และระดับล่างลงไป (ระดับพื้นที่) โดยชุมชนที่บริหารจัดการด้วยตนเองไม่ได้แต่อยากมีระบบบำนาญของชุมชนก็สามารถ เข้าสู่ระบบบำนาญที่รัฐจัดให้ได้ การบริหารจัดการกองทุนโดยรัฐส่วนกลางที่ดีควรโปร่งใสเปิดเผยข้อมูลให้ ประชาชนรับรู้ทุกขั้นตอน

ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำตั้งแต่ต้นของภาคประชาสังคมได้รับการตอบสนอง ที่ดีโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่เป็นหัวเรือใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการจัดสัมมนาให้ความรู้และรับฟังความคิดเห็นเรื่องโครงการ กองทุนการออมแห่งชาติหลายต่อหลายเวทีด้วยกัน อันจะทำให้ได้ข้อสรุปที่สอดคล้องสถานการณ์สังคมสูงอายุไทย และไม่ต่างจากเจตนารมณ์ว่าด้วยการออมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ยั่งยืน และมีศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุไทยที่เป็นเป้าหมายของภาคประชาชนจากกระบวนการทำ งานเชิงนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของ มส.ผส.และภาคีเครือข่าย

ภาย ใต้การสร้างโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุและระบบบำนาญชราภาพที่บริหารจัดการ อย่างมีธรรรมาภิบาล (Good governance) คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยไทยจะไม่แร้นแค้นขัดสนจนเป็นภาระลูกหลานหรือรัฐบาลมาก มายดังแล้วมา เพราะจะมีรายได้มั่นคงเพียงพอพยุงชีวิตให้อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์แม้ในสังคมที่การเกื้อกูลถูกกร่อนกัดเกือบสิ้น

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น