++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไม! เด็กไทยไม่ชอบอ่านวรรณคดี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 สิงหาคม 2553 14:17 น.
ท่าม กลางการซื้อหาหนังสือต่างๆอย่างเพลิดเพลินของหนอนหนังสือน้อยใหญ่ภายในงาน เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 8 ที่จบลงไปแล้ว มีหนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ ที่ว่าเหตุใดวรรณคดีไทยจึงไม่ได้รับความสนใจจากเยาวชนเท่าที่ควร และในฐานะคนไทย เราควรทำอย่างไรให้วรรณคดีไทยไม่ถูกเก็บเข้ากรุอย่างไร้ประโยชน์ พร้อมปลุกให้คืนชีพกลับมาเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าเช่นในอดีต

“วินท์-พนิตา สมบูรณ์ศักดิกุล”นัก ศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวยอมรับว่าตนเองก็เป็นหนึ่งคนที่ไม่เคยซื้อหนังสือวรรณดคีไทยอ่าน แม้จะชอบอ่านหนังสือ แต่ก็จะเลือกซื้อจำพวกพ็อคเก็ตบุ๊คเรื่องที่ตนเองสนใจเท่านั้น เธอเสนอแนะว่าหากอยากให้วรรณคดีได้รับความสนใจควรจะปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอ และจัดพิมพ์เรื่องราวให้หลากหลายเพื่อดึงดูดควาามสนใจ

“เรื่อง นี้วินท์ว่ามันขึ้นอยู่กับการปลูกฝังนะค่ะ จริงๆรุ่นของพวกเราก็ยังอ่านกันอยู่ แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเพราะความน่าสนใจและการรับรู้เรื่องราวของวรรณคดี ของเรานั้น คุณครูภาษาไทยก็มีบทบาท ที่จะต้องนำเสนอวรรณคดีให้มีความสนุกน่าสนใจ อย่างวินท์เองยอมรับว่าเรียนวรรณคดีมาแบบทั้งสนุกและไม่สนุก ปะปนกันแต่รุ่นเราก็ยังไม่ได้มีสื่อเบี่ยงเบนความสนใจเท่าเด็กรุ่นนี้ หากเป็นน้องที่ต่ำกว่า20 ลงไป ตามความคิดวินท์น่าจะอ่านกันน้อยแล้ว คนชอบอ่านพวกเขาจะชอบไปติดหนังสือ แนววัยรุ่น สไตล์เกาหลี มันเลยค่อนข้างห่างไกลกับการมาลองอ่านวรรณคดี ที่มีรูปแบบแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงฉะนั้นควรส่งเสริมหนังสือตลาดวรรณคดีกัน ให้เป็นตลาดเชิงรุกทำให้น่าสนใจให้มากขึ้น รวมไปถึงการเรียนการสอนที่เราควรจะแนะนำวรรณคดีให้น้องๆรู้จักอย่างสนุกมาก ขึ้น”

ด้าน “นนทกร เตียวนุกุล” นัก ศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนุ่มรายนี้แสดงความคิดเห็นว่าการที่เยาวชนหมางเมินวรรณคดี ส่วนหนึ่งมาจากเยาวชนมักคิดว่าวรรณคดีคือหนังสือเรียน ที่อ่านในชั้นเรียนและใช้ประกอบการเรียนไม่ใช่หนังสืออ่านนอกเวลา

“ตอน เด็กๆเราเรียนวิชาภาษาไทยและก็ถูกจัดให้รู้จักกับหนังสือนอกเวลาเรื่องต่างๆ แต่ส่วนหนังสือวรรณคดีจะไปอยู่กับแบบเรียนวิชาภาษาไทยในชั้นปีต่างๆ ส่วนนี้ผมว่ามันก็เป็นมุมมองอย่างหนึ่งที่สร้างให้คิดว่าหนังสือวรรณคดีเป็น หนังสือเรียนไม่ใช่หนังสืออ่านเล่น ตรงนี้ผมอยากให้แก้ที่รูปแบบการสอนให้มีความสนุก ประทับใจ และรู้จักคุณค่าของวรรณคดี มากกว่าถูกบังคับเรียน”

นอกจากปัญหาชเด็กได้รับการสอนภาษาไทยที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้มีความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาไทยน้อย เมื่อเติบโตขึ้นจึงรู้สึกว่าวรรณคดีไทยใช้ภาษาที่อ่านยากหรืออ่านแล้วไม่ เข้าใจเนื้อหา ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ท่ามกลางอิทธิพลจากหนังสือยอดนิยมประเภทอื่นๆก็ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจของ เยาวชน ข้อมูลใหม่ ปัจจุบันยังพบอีกว่าภายในหลักสูตรยังมีสัดส่วนของการศึกษาวรรณคดีไทยน้อยลง ทั้งยังเลือกตัดตอนเนื้อหาเฉพาะบางส่วนให้นักเรียนอ่าน ทำให้เด็กมีความรู้ด้านวรรณคดีไทยน้อยลง ไม่เห็นคุณค่า

“อาจารย์สุกัลยา วงศ์ชมบุญ” รอง คณบดีฝ่ายบริหาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การเรียนการสอนที่มีการให้ความสำคัญวรรณคดีไทยน้อยลง มันส่งผลให้ซึมซับความเป็นไทยได้น้อยลงเนื่องจากในวรรณคดีจะมีการสอดแทรกแนว คิดต่างๆ เช่น ความเป็นกุลสตรีไทย วิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบไทย เพราะปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการศึกษาและผู้ปกครองที่ไม่ให้ความสำคัญกับ บวกกับเด็กก็ยังหลงค่านิยมในสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงและให้ความ สำคัญต่อความเป็นเลิศด้านวิชาการโดยเฉพาะวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ และอื่นๆ เพื่อใช้ในการศึกษาต่อ ในทางกลับกันวิชาภาษาไทยและความรู้ด้านวรรณคดีไทยกลับถูกละเลยความสำคัญ แม้แต่การศึกษาต่อในบางสาขาก็ไม่จำเป็นต้องใช้คะแนนจากวิชาดังกล่าว

“ เมื่อไม่มีใครสนใจภาษาไทยเพราะไม่เห็นถึงประโยชน์เราคงต้องถามว่ากลับไปที่ กระทรวงศึกษาธิการด้วยว่า ใส่ใจต่อปัญหาการอ่านวรรณคดีไทยในกลุ่มเยาวชนหรือไม่ ทั้งผู้เรียนด้านวรรณคดีไทยก็ยังมีจำนวนลดลง เพราะตลาดแรงงานที่ไม่สอดรับกับผู้ที่ศึกษาด้านดังกล่าว คือเมื่อจบการศึกษาแล้วกลับหางานทำได้ยาก จึงทำให้ละเลยวรรณคดีไทยที่ช่วยสร้างความดีงามภายในจิตใจ แต่เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น สังคมไม่ให้ความสำคัญขณะเดียวกันสังคมไม่ได้สร้างให้คนที่เชี่ยวชาญพูดและ เขียนภาษาไทยได้ดีกลายเป็นจุดเด่น รวมถึงพ่อแม่ซึ่งมีน้อยคนที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ความเป็นไทยจึงเริ่มเสื่อมถอยลง หากคนไทยไม่รักความเป็นไทยก็เท่ากับว่ามีส่วนทำให้สังคมเริ่มผุพังตั้งแต่ รากฐานเสียแล้ว”

อย่างไรก็ตาม อาจารย์สุกัลยา กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาว่า กระทรวงศึกษาธิการควรปรับให้โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาสอดแทรกการอ่าน วรรณคดีไทยให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น โดยคัดเลือกเรื่องที่อ่านให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กเพื่อเป็นการปลูกฝัง ความรู้ด้านภาษา วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ความเป็นไทย "ภาค รัฐต้องมีการยกระดับครูผู้สอนภาษาไทยให้มีใจรักที่จะสอนและให้ความรู้เรื่อง วรรณคดีไทยอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การสอนตามหน้าที่ ซึ่งทั้ง 2 แนวทางจะต้องเป็นการพัฒนาที่ควบคู่กันเพื่อมุ่งสู่การยกระดับความสำคัญของ วิชาภาษาไทย อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าการกลับมาใช้วิธีให้เด็กท่องจำบทกลอนหรือเนื้อหา วรรณคดีไทยเช่นในอดีต ถือเป็นการปลูกฝังให้เด็กเข้าใจความงดงามของภาษาและเนื้อหาของวรรณคดีไทยได้ ง่ายขึ้น รวมถึงการนำวรรณคดีไทยไปจัดสร้างเป็นภาพยนตร์หรือการ์ตูนก็สามารถช่วยให้ เด็กสนใจวรรณคดีไทยได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สอนนำไปต่อยอดสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียนได้"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น