++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การศึกษานานาชาติในไทยสดใส เตรียมตัวสู่ผู้นำภูมิภาค

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 ตุลาคม 2552 12:57 น.

การพัฒนาภาคบริการการศึกษานานาชาติของไทยใน ปัจจุบัน
เริ่มเห็นอนาคตที่สดใสจากผลของการรวมกลุ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของ
กลุ่มประชาชาติในภูมิภาคต่าง ๆ
และการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศจึงไม่แปลก หาในระยะเวลาอีกไม่นานนี้
ไทยจะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ

ดร.มัทนา สานติวัตร อธิบการดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า

"สถานการณ์
และการพัฒนาของการศึกษานานาชาติของไทยระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันได้มีการ
พัฒนาอย่างก้าวกระโดดและเติบโตต่อเนื่องตามกระแสโลกที่มีการพัฒนาด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้การเชื่อมโยงกับต่างประเทศง่ายขึ้น
ขณะเดียวกันการเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจ การค้า
การรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ เช่น อาเซียน สหภาพยุโรป และอื่น ๆ
ที่เริ่มจากความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจก็จะเชื่อมโยงต่อมาถึงด้านการศึกษา
ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนที่ของนักศึกษา
รวมทั้งส่งเสริมให้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
หรือให้เทียบโอนหน่วยกิตได้ ดังเช่นผลจากการประชุมจนมีข้อตกลง Bologna
Accord ในปี ค.ศ. 1999
ซึ่งเป็นความพยายามของกลุ่มประเทศยุโรปในการพัฒนาการศึกษาให้ได้มาตรฐานและ
เทียบโอนกันได้"
"ในวงการศึกษา ถือกันว่าผู้ที่จบการศึกษาไม่ใช่คนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
แต่เป็นพลเมืองของโลก จึงควรมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนสถานที่ศึกษา
เพื่อไปสัมผัส ไปเรียนรู้วิถีชีวิตของประเทศอื่น
ทำให้การศึกษานานาชาติเคลื่อนไหวและเฟื่องฟู

ใน กรณีของประเทศไทยที่มีการรวมกลุ่มกับประเทศสมาชิกอาเซียน
ก็มีเรื่องความร่วมมือด้านการศึกษาตามมาเช่นกัน
อีกทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ก็มีโครงการ University Mobility in Asia
Pacific หรือ UMAC
ที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ของนักศึกษาในลักษณะแบบเดียวกับ Bologna Accord
ซึ่ง UMAC เป็นเครือข่ายสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางด้านการศึกษานานาชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ที่อยู่ในภูมิภาค ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ.
ก็มีการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษา เช่น
มีตั๋วเครื่องบินให้พร้อมเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ
ซึ่งแต่เดิมเคยสนับสนุนเฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐ
แต่ปัจจุบันได้รวมถึงมหาวิทยาลัยนานาชาติด้วย"ดร.มัทนา กล่าว

จากทิศทางข้างต้นทำให้เห็นว่าการใช้ภาษาอังกฤษมีส่วนสำคัญมาก
จึงนำมาสู่การขยายตัวด้านการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
จะเห็นได้ว่ามีโรงเรียนนานาชาติเพิ่มมากขึ้นและ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ก็เพิ่มโครงการภาคภาษาอังกฤษ

รวมทั้งมีการจัดหลักสูตรเชื่อมโยง เรียนรู้แบบเจาะลึกมากขึ้น
ในด้านคุณภาพของการศึกษานานาชาติระดับอุดมศึกษาของไทยต้องถือว่าพัฒนาได้รวด
เร็วกว่าประเทศอื่นในภาคพื้นนี้
ยกเว้นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์
ฮ่องกง โดยหลักสูตรที่เป็นที่นิยมของนักศึกษาต่างชาติ
ส่วนใหญ่เป็นด้านการค้าการบริการระหว่างประเทศ ศิลปะ ภาษา
วรรณกรรมและวัฒนธรรม ส่วนนักศึกษาไทยก็นิยมเข้าเรียนด้านการค้า การบริการ
และนิเทศศาสตร์

ดร.มัทนา กล่าวอีกว่า
ในแต่ละมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนจะมีการเชื่อมโยงกับสถาบันอุดมศึกษา
ชั้นนำของโลกเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
และในทำนองเดียวกันสถาบันการศึกษาของต่างประเทศก็มีเครือข่ายในประเทศไทย
ทำให้การเชื่อมโยงกันในทุกบริบท
เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีนและ
สหรัฐฯ หรือมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีการเชื่อมโยงกับ Babson College
ของสหรัฐฯ ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการสร้างผู้ประกอบการ

" สำหรับการเข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษานานาชาติในไทย
ได้มีนักศึกษาจากยุโรปเข้ามาจำนวนมาก
เนื่องจากสหภาพยุโรปมีทุนที่สนับสนุนให้นักศึกษาไปเรียนในประเทศต่าง ๆ
ในส่วนของนักศึกษาจีนส่วนใหญ่นิยมไปประเทศอังกฤษมากอันดับหนึ่ง
รองลงมาคือสหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และประเทศในเอเชีย
ซึ่งมีเป้าหมายมาที่ประเทศไทย เพราะระยะทางไม่ไกล วัฒนธรรมคล้ายกัน
และประเทศไทยไม่มีข้อจำกัดด้านศาสนา
ยกเว้นในกรณีที่สถานการณ์การเมืองไทยไม่นิ่งเพียงเรื่องเดียวอาจที่อาจจะทำ
ให้นักศึกษาจีนไม่อยากมา"
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
ได้มีความพยายามดึงดูดกลุ่มนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งมีพลเมืองจำนวนมาก
เป้าหมายถัดไปคือสหภาพยุโรปที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์
ส่วนประเทศอินเดียแม้ว่ามีประชากรจำนวนมาก

" แต่ในช่วง 5-10
ปีนี้เชื่อว่านักศึกษาอินเดียจะยังคงไม่มาศึกษาในที่ประเทศไทยมากนัก
เพราะเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าไทยอยู่แล้ว
และยังมีความก้าวหน้าทางวิชาการที่โดดเด่น เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในบังกาลอร์ ซึ่งถือเป็นแหล่งที่คนชาติอื่นต้องการเข้าไปเรียนรู้"

ในส่วนของการประชาสัมพันธ์
สถาบันการศึกษานานาชาติของไทยมักจะสื่อสารผ่านเว็บไซต์ของตนเอง
ทั้งนี้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการส่งออก
และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ได้ร่วมมือกันดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการนำสถาบัน
อุดมศึกษาของไทยไปเปิดตัวในประเทศต่าง ๆ
และการจัดงานนิทรรศการการศึกษานานาชาติของไทยเป็นประจำทุกปี

โดย ในปีนี้จะจัดงาน Thailand International Education Exhibition
2009 : TIEE 2009 ขึ้นในระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2552 ณ
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้แนวคิด "Asia's Hub of
International Education"


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000118682

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น