++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ชี้วัดคุณภาพเด็กไทย ผ่านติวเตอร์ "ต้าร์" ขวัญใจเด็กมหา'ลัย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 ตุลาคม 2552 10:54 น.
ทุกวันนี้คุณภาพ ของการเรียนและการศึกษาในมิติของเยาวชนไทยนั้น
หากจะลองพิสูจน์คำตอบจากความจริงที่พบเห็น
ก็คงยังจะไม่กระจ่างและชัดเจนพอนักที่จะให้ตัดสินว่า
เด็กไทยนั้นได้รับความรู้กันอย่างมีคุณภาพแล้วหรือยัง
เพราะสิ่งที่พบเห็นในวงการการศึกษานาทีนี้
นอกจากเด็กจะได้รับการศึกษาจากครูผู้สอนในรั้วโรงเรียนและรั้วมหาวิทยาลัย
แล้ว ส่วนใหญ่หลายคนก็ยังนิยมพึ่งพาบรรดาสถาบันติวเตอร์ที่ต่างก็ผุดกันออกมาตอบ
โจทย์การสอบสนามต่างๆกันอย่างมากมายอีกเช่นกัน

วันนี้ไลฟ์ออนแคมปัส ได้รับโอกาสดีที่จะได้นั่งพูดคุยกับ
ติวเตอร์ผุ้มากประสบการณ์ติวมาแล้วกว่า 10 ปี อย่าง" นายวัชราภรณ์ ปราณี"
ผู้อำนวยการโรงเรียนกลไกอัจฉริยะ หรือ อาจารย์ต้าร์ ที่โด่งดั่งมาจาก
www.julabright.comเว็บไซต์
ของเหล่าลูกพระเกี้ยวและน้องๆนักศึกษาที่รักการติวเตอร์อีกหลากหลายสถาบัน
ถึงคุณภาพของเด็กไทยที่พบเจอบนคลาสเรียนติวเตอร์มาอย่างมากมาย

สำหรับประสิทธิภาพของการเรียนรู้สำหรับเด็กๆกับการเรียนการสอนในห้อง
เรียน เริ่มต้นอาจารย์ต้าร์ก็พาเราไปแนะนำให้รู้จักกับตัวชี้วัด
ก่อนเลยว่า การจะมองเด็กว่าเขามีความเข้าใจในสิ่งที่เรียนมากน้อยแค่ไหน
และมีความสามารถคิดเป็นหรือคิดไม่เป็นอย่างไร
บางทีข้อสอบปรนัยก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดเสมอไป
แต่หากเป็นการทำข้อสอบแบบอัตนัยก็นับเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยวัดผลได้
ส่วนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูบริบทอื่นๆประกอบกันไปด้วยอย่างกว้างๆ

" เพราะบางครั้งการเลือกคำตอบก็อาจจะไม่สามารถวัดความรู้อะไรได้แต่อย่างใดแต่
หากเป็นข้อเขียนก็จะสามารถวัดความคิดได้โดยจะดูจากเหตุผลในการรองรับ
แต่ปัญหาก็คือ เด็กส่วนใหญชอบคิดว่าการเรียนเป็น "สูตรท่องจำ"อย่างเดียว
ปัญหาของการเรียนไปในระดับชั้นสูงๆจึงมักพบว่า
เด็กไม่สามารถคิดตอบได้อย่างคล่องตัว
หรือคำนวณไม่เข้าใจโดยอาจสังเกตุจากตอบเหมือนกันแต่ได้คะแนนไม่เท่ากันเพราะ
แต่ละคนอาจจะตอบเหมือนกันแต่ให้เหตุผลได้สมจริงมากกว่ากัน
จึงทำให้การพิจารณาแตกต่างกันออกไปเท่านั้นเอง"อาจารย์ต้าร์เฉลยข้อข้องใจพร้อมแนะว่าจุดนี้
ทุกคนจะต้องวางแผนในการคิด
การเขียนและไล่เรียงความรู้โดยรอบพร้อมจับมันมาขมวดทีละปม


"ความจริงแล้วควรจะวาง แผนในความคิดก่อนและการตอบ เราจะรู้ที่มา
สิ่งที่เป็นอยู่และความเป็นไป
อะไรที่เป็นรากของคำตอบเราจะต้องตอบให้ได้และเรียงลำดับให้ถูก
โดยข้อสอบประเภทข้อเขียนนั้น
ตัวอาจารย์เองส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้มองแค่สอบแต่ดูถึงลักษณะความคิดด้วย "

อาจารย์ ต้าอธิบายแนวทางการสอบข้อเขียนเปิดตัวก่อนที่จะเล่าว่าตนเองก็เคยฝึกคิดและ
เรียนรู้ในช่วงที่ยังศึกษาอยู่ในสาขาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบังระดับปริญญาตรี
ส่วนปริญญาโทก็ศึกษาวิศวกรรมเคมีในมหาวิทยาลัยเดียวกัน

โดยขณะที่เรียนตนก็ทำงานฝึกสอนน้องๆไปด้วยอย่างตลอด
โดยตนเองมีความรู้ถนัด อาทิ เคมี ชีวะ คณิต ฟิสิกส์
และมีความถนัดเคยเป็นนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุด 15
คนแรกของประเทศของวิชาชีววิทยา
จากนักเรียนที่สอบทั่วประเทศมากกว่าสี่หมื่นคนอีกทั้งยังเคยได้เป็นตัวแทน
นักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศอังกฤษ นิวซีแลนด์
พร้อมทำงานวิจัยโดยมีความเชี่ยวชาญด้าน Oganic Chemistryc
และทำงานเป็นวิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตแต่ทั้งนี้ด้วยรักที่จะเป็นครู
มากกว่าสิ่งอื่นใด ขณะนี้อาจารย์จึงมาเปิดโรงเรียนกลไกอัจฉริยะ หรือ
(Mechanics of Genius Tutorial School:MGT)

" นอกจากจะสอนให้เขาคิดกันเป็นแล้ว
เราก็ต้องเข้ากับเด็กให้ได้ด้วย อย่าง
นักเรียนบางคนก็เรียกว่าก็มีที่เรียกผมว่าพี่ต้าร์
และเราก็เรียนไปแบบพี่สอนน้องเพื่อแสดงความเข้าใจเขาว่าเขาอยากจะเรียนแบบ
เป็นกันเอง ซึ่งนอกเหนือจากสิ่งนี้ผมก็จะเน้นให้เรียนกันแบบถูกทางและมีวิธีเทคนิคการจำ
ที่ใช้ประโยชน์ได้

ตรงนี้โชคดีอยู่อย่างคือ
ด้วยความที่เราเป็นนักกิจกรรมมาก่อนจึงมีความเข้าใจดีกับความเป็นวัยรุ่น
เช่น สิ่งที่เราสอนเราก็เข้าใจอยู่ว่ามันน่าเบื่อ
เราจึงจำเป็นต้องเอามาทำให้มันสนุกให้ได้ อย่าง ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
สอบภาษาอังกฤษระดับปริญญาโท หรือวิชาเรียนต่างๆ
ก็มีความรู้สึกว่าควรจะมีวิธีคิดในการเรียนบวกให้เขาไปด้วย
ไม่ใช่อยู่กันแบบในสภาพสอนพิเศษอย่างเดียวป้อนอย่างเดียวโดยที่ไม่รู้ว่า
เด็กรับได้แค่ไหน ขาดตรงไหน"
อาจารย์พูดอย่างเข้าอกเข้าใจด้วยเคยสัมผัสกับน้องๆที่เข้ามาเรียนพิเศษและเคยเรียนรู้การสอนพิเศษจากสถาบันต่างๆมาก่อนจนเผยต่ออีกว่า

การเรียนการสอนของโรงเรียนติวเตอร์ที่มีอยู่กลาดเกลื่อนในปัจจุบัน
นั้นแม้ทุกที่จะดำเนินการสอนกันไปอย่างไม่มีปัญหาใดๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่นับเป็นหน้าที่ของโรงเรียนติวเตอร์ที่พึงควรปฎิบัติเสมอและ
ดูเหมือนว่าหลายที่ยังขาด
การดูแลระดับความรู้ของเด็กที่มาจากต่างทิศต่างถิ่นให้ละเอียด

อาจารย์กล่าวต่ออีกว่าผู้สอนเองควรจะต้องมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น
ฉะนั้นแน่นอนล่ะว่า ในมุมของอาจารย์ต้าร์คนนี้
ห้องเรียนขนาดสี่เหลื่ยมเล็กๆแคบๆ
จึงจะต้องเปรียบเสมือนเครื่องปรับจูนให้เหล่าอนาคตของชาติเกิดความเท่าเทียม
ทางการศึกษาและบ่มเพาะทางความคิดให้ได้

" การเน้น
ความยากง่ายแต่ละวิชาของแต่ละมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมันไม่เหมือนกันสักที
เดียว โรงเรียนที่อ่อนวิชาหลักเด็กจะเสียเปรียบจุดนี้เราก็จะมีการสอบวัดระดับกัน
ก่อนและจะเปิดโอกาสในห้องเรียนให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดความเรียนรู้ซึ่งกัน
และกันและเรียนกันอย่างเป็นระบบ
เพราะมันจะสามารถชี้ชัดว่าการป้อนอย่างเดียวใช่ว่าจะเป็นผลต่อสู้ให้เกิดการ
เรียนรู้และฝึกฝนโดยเทคนิค ที่เรียกว่า "สการ์เล็ต"
จำเพียงประโยคสั้นๆแต่ทำโจทย์ได้มากกว่า 1000
ข้อคือเทคนิคในการช่วยจำวิธีการตีโจทย์ยากๆออกมาให้เป็นคำตอบ"อาจารย์ต้าอธิบาย
พร้อมขยายความอีกเพิ่มเติมว่า
เทคนิคดังกล่าวเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทุกๆการเรียนรู้โดย
มากจะเหมาะกับวิชาแนวทางชีวะเคมี

แต่อย่างไรก็ตามวิชาอื่นก็สามารถใช้ได้
เพราะมันเป็นสูตรวิธีการจำการค้นหาคำตอบต่างๆโดย
สการ์เล็ตนี้จะใช้ได้ผลดีหรือไม่ดีอย่างไร จุดนี้อาจารย์รับรองว่า
คนที่มีความรู้รอบ
และมีสมาธิจะสามารถใช้เทคนิคดังกล่าวได้สมใจและมีประสิทธิภาพมาก
อาจารย์ต้าร์สรุป

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000118490

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น