ศาสตราจารย์ ดร.เดวิด เอฟ. ดิงเกส ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การนอนหลับและประสาทชีววิทยาทางระบบหายใจ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การงีบหลับช่วยพัฒนาสมอง และช่วยให้ความจำดีขึ้น เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้สมองจัดระเบียบข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาให้เป็นระบบ
นอกจากนี้ เมื่อสมองปลอดโปร่ง ร่างกายจึงกระปรี้กระเปร่า และอารมณ์ดีขึ้นตามมา เพิ่...มประสิทธิภาพการทำงานในช่วงบ่าย และลดความเครียดได้อีกด้วย
เพื่อการงีบหลับให้ได้ผลดี อย่ามองข้ามข้อปฏิบัติเหล่านี้
เลือกเวลา ช่วง 13.00 – 15.00 น. เป็นเวลาที่สอดคล้องกับวงจรการนอนของนาฬิกาชีวิต การงีบหลับในช่วงนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน
เลือกสถานที่เงียบสงบ มีความมืด และอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
ตั้งนาฬิกาปลุก ควรหลับสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาที เพราะหากงีบหลับนานเกินไปจะทำให้เข้าสู่ช่วงหลับลึก ซึ่งยิ่งทำให้เกิดอาการง่วง และอ่อนเพลียหลังจากตื่นนอน รวมถึงอาจทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืนได้
ลองงีบระหว่างวัน แล้วสังเกตถึงความปลอดโปร่งโล่งสบายของสมองหลังตื่นดูสิคะดู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น