1.การแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุน ที่เป็นการพูดเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งผู้พูดอาจจะพิจารณาแล้วว่า ความคิดเห็นที่ตนสนับสนุนมีสาระและประโยชน์ต่อหน่วยงานและส่วนรวม หรือถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ จะต้องเป็นความคิดเห็นที่เป็นองค์ความรู้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่กำลังพูดกันอยู่ ทั้งในระหว่างบุคคลหรือในที่ประชุม
2.การแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้ง การพูดลักษณะดังกล่าวเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในกรณีที่มีความคิดไม่ตรงกัน และเสนอความคิดอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับผู้อื่น การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งดังกล่าว ข้อนี้ผู้พูดควรระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษาและการนำเสนอ ความขัดแย้งควรเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ อันจะก่อประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือสาธารณชน
3.การแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้วิจารณ์อาจจะแสดงความคิดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย และวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจารณ์จะต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่อคติต่อผู้พูดหรือสิ่งที่เห็น
4.การแสดงความคิดเห็นเพื่อนำเสนอความคิดใหม่ เป็นการพูดในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น และนำเสนอความคิดเห็นใหม่ของตนที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของผู้แสดงความคิดเห็น ควรมีดังนี้...
- จะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี
- การแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรมีหลักการแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งและเชิงวิจารณ์
- ใช้ภาษาสุภาพเหมาะสมกับโอกาส โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งและเชิงวิจารณ์ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้พูดและผู้ฟัง
- การแสดงความคิดเห็นใด ๆ ก็ตาม ควรแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
คอลัมน์ เรื่องเล่าซีอีโอ
ประชาชาติธุรกิจ, 23 พ.ค.2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น