++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มหาสารคาม เตือนประชาชนระวังโรคไข้เลือดออก


มหาสารคาม เตือนประชาชนระวังโรคไข้เลือดออก
by สำนักสารนิเทศ
โรงพยาบาลมหาสารคาม เตือนประชาชนระวังโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีโอกาสป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออกและไม่มีวัคซีนป้องกัน ซึ่งการรักษาจะได้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกเป็นแมลงจำพวกหนึ่งที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลายบ้านและ ยุงลายสวน ยุงลายเป็นยุงที่มีขนาดปานกลาง วงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วยระยะต่างๆ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ระยะตัวอ่อนหรือลูกน้ำ, ระยะดักแด้หรือตัวโม่ง, และ ระยะตัวเต็มวัยหรือตัวยุง โดยแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายอยู่ภายในบ้านและบริเวณรอบๆบ้าน เช่น โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ บ่อซีเมนต์เก็บน้ำในห้องน้ำ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าวกันมด แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าและเศษวัสดุต่างๆที่มีน้ำขัง เป็นต้น สำหรับการระบาดของโรคไข้เลือดออกในปีนี้จะรุนแรงขึ้น ในช่วงที่เกิดความแปรปรวนของอากาศ มีฝนตกแล้วทิ้งช่วงและมีอากาศร้อน จะส่งผลให้ยุงวางไข่ได้มาก และขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลระบาดวิทยา นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2555 รพ.มหาสารคาม ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดในเขตอำเภอเมืองรวม จำนวนทั้งสิ้น 90 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 59.64 ต่อประชากรแสนคน และไม่มีผู้เสียชีวิต โรงพยาบาลมหาสารคามขอความร่วมมือประชาชนทุกครัวเรือน สถานที่ราชการ และสถานศึกษาทุกแห่ง จะต้องทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน บริเวณบ้าน สถานที่ทำงานทุก 7 วัน กำจัดเศษวัสดุ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ที่สามารถขังน้ำได้ ขัดล้างภาชนะใส่น้ำทุก 7 วัน ปิดฝาภาชนะใส่น้ำดื่ม น้ำใช้ 2 ชั้น ปล่อยปลากินลูกน้ำ ใส่ทรายอะเบทเพื่อฆ่าลูกน้ำยุงลาย หรือใช้เกลือแกง น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก ซึ่งเป็นของคู่บ้านคู่ครัวอยู่แล้ว เอามาใช้ในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จานรองขาตู้กับข้าว ซึ่งอยากให้ประชาชนเข้าใจในหลักง่าย ๆ คือ การใช้หลักการ 4 ป คือ ปิดฝาภาชนะใส่น้ำ 2 ชั้น ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน สำหรับผู้ปกครองจะต้องดูแลบุตรหลานไม่ให้ยุงกัดในเวลากลางวัน เปิดพัดลม จุดยากันยุง และให้เด็กเล่นในที่ๆสว่าง ลมผ่าน ไม่มืด แต่หากบุตรหลานมีไข้สูง ซึม อ่อนเพลีย อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง และมีผิวหนังแดง ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง หากมีอาการผิดปกติรุนแรง สามารถใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาสารคามได้ โดยโทรศัพท์มาที่หมายเลยสายด่วน 1669. บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมงด้วยความปรารถนาดีโรงพยาบาลมหาสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น