++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดลำดับความสำคัญ เป็นเรื่องสำคัญมาก


การจัดลำดับความสำคัญ เป็นเรื่องสำคัญมาก

การจัดลำดับความสำคัญ เป็นเรื่องสำคัญมาก แม้กระทั่งพระพุทธองค์ยังเน้นสอนเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ เพราะเป็นทางลัดตัดตรงไปยังที่หมาย
แม้กระทั่งทางสายกลาง ไม่เอียงซ้ายในกาม ไม่เอียงขวาในทางทรมานสุดโต่ง(กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค )
ที่สำคัญท่านบอกป้ายสำคัญไว้แปดป้ายบนทางสายกลางนี้ให้เดินไปตามทางเรียงลำดับป้าย เพราะมันสำคัญ
แต่ผู้คนมักมีเรื่องสำคัญมากมายในชีวิต ยกเว้น.......................เรื่องของมึง

เดินด้วยเท้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา ส่วนหนึ่งของ
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2.สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3.สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4.สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5.สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป
6.สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7.สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8.สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
มหาสารคามส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์
by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคามส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ ครือข่ายอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยมีภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน อาทิเช่นโรงพยาบาลมหาสารคาม สำนักพุทธศาสนาจังหวัด วัฒนธรรมอำเภอ หน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๖๐ คน นายแพทย์ไพบูลย์ อัศวธนบดี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม ในฐานะผู้จัดโครงการ กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์สภาพปัญหาสุขภาพของพระสงฆ์มีอัตราป่วยและเสี่ยงด้วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของประชาชนที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ตลอดจนการเข้าถึงระบบบริการของพระสงฆ์ดังกล่าวยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้เท่าที่ควร อันเนื่องมาจากพระภิกษุสามเณรที่อาพาตเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรวมกับผู้ป่วยซึ่งเป็นคฤหัสถ์ที่มารับบริการเป็นจำนวนมากทำให้ได้รับบริการที่ไม่สะดวกและล่าช้าถึงแม้ว่าโรงพยาบาลได้พัฒนาระบบบริการให้มีช่องทางด่วนสำหรับพระภิกษุสามเณร แต่ก็ยังไม่เหมาะสมและเอื้ออำนวยให้ได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็วเท่าที่ควร ฉะนั้นทางเครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลมหาสารคามร่วมกับสำนักสำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ขึ้น เพื่อระบบบริการสุขภาพพระสงฆ์จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบมีมาตรฐานและกลมกลืนกับการควบคุมป้องกันโรค เป็นการพัฒนาพื้นฐานในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อให้สุขภาพทางกายจิตและสังคมดี มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วย และจะไม่ป่วยซ้ำอีก ตลอดจนเกิดระบบบริการที่เข้าถึงง่ายสะดวก สำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยคาดหวังให้เกิดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ และระบบการบริการสำหรับพระภิกษุสงฆ์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่การดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น